28 ก.ย. 2023 เวลา 02:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หนึ่งในอาชีพที่มีเงินเดือนมากที่สุดในโลก

ผมมีความคิดบ่อยครั้งว่า เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีผู้บริหารกองทุนอย่างปีเตอร์ ลินซ์ หรือหลาย ๆ ท่านที่เป็นปรมาจารย์เสียที เพราะพวกเราอาจจะไม่รู้ว่านี่คือหนึ่งในอาชีพที่มีเงินเดือนมากที่สุดในโลก
1
ผู้จัดการกองทุนคนแรก ๆ ที่สร้างชื่อและมั่งคั่งระดับโลกนั้น อันที่จริงก็หาใช่ใครอื่นไกล คือปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ของเรานี่เอง
1
วอร์เรนใช้เวลาช่วง 20 ปีแรกในการตั้งกองทุนบริหารหุ้น Buffutt & Partnership และได้รับส่วนแบ่ง ตามผลตอบแทนที่ได้ คิดผลตอบแทนส่วนแบ่งกำไร 25% (จากส่วนที่เกิน 6% หรือ Hurdle Fee rate)
จากจุดเริ่มต้น 100,000 เหรียญ
จนในที่สุด ผมเข้าใจว่าผลตอบแทนรวมถึงเงินต้นบัฟเฟตต์บางส่วนในก้อนนั้น กลายเป็นมูลค่า 100 ล้านเหรียญ (เป็นส่วนของบัฟเฟตต์ 25 ล้านเหรียญ) และบัฟเฟตต์ปิดกองนี้ลงในช่วงปี 70s และนำเงินมาสร้างอาณาจักร Berkshire Hathaway ในเวลาต่อมา
แน่นอนว่าใครเอาเงินที่ลงกับบัฟเฟตต์ต่อ จากเศรษฐีก็กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีเช่นเดียวกัน
ถ้าคำนวณหยาบ ๆ แปลว่าบัฟเฟตต์ได้เงินเดือนจากการเป็นผู้จัดการกองทุน ราว ๆ 1 ล้านเหรียญต่อปี ตีเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันราว ๆ 10 กว่าล้านเหรียญต่อปี (350 ล้านบาท) ไม่ขี้เหร่ไม่แพ้ CEO บริษัทไหน สำหรับเด็กหนุ่มอายุ 30 และบริหารพอร์ตหุ้นเริ่มต้นที่มูลค่า 100,000 เหรียญเท่านั้น
2
ถ้าตัดมาที่ประเทศไทย สมมุติผู้จัดการกองทุนสามารถสร้างกองทุนมีขนาด 10,000 ล้านบาท ได้ผลตอบแทน 15% ต่อปี ก็คิดเป็นเงิน 1,500 ล้านบาท กองทุนก็เก็บส่วนแบ่งกำไร 20% บน Hurdle 6%(หักค่าใช้จ่ายกอง) ผู้จัดการกองทุนก็จะได้รับส่วนแบ่ง = 1500 ล้าน * (20-6)% = 210 ล้าน หรือราว ๆ 20 ล้านบาทต่อเดือน
ยิ่งขนาดกองทุนใหญ่ ผลตอบแทนยิ่งได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ผมคิดว่าไม่ขี้เหร่เลย และดูเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก ๆ ด้วยซ้ำ
ที่ผ่านมากลไกนี้ยังไม่เกิดขึ้น สาเหตุผมคิดว่า
1
1. เม็ดเงินในตลาดทุนไทยโดยเฉพาะกองทุนรวมในอดีตยังไม่มาก ส่วนมากมักจะมุ่งเน้นแต่เรื่องหักภาษี
2. ในอนาคตเม็ดเงินลงทุนจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปลายทางของนักธุรกิจคือการเอาเงินมาลงทุนเสมอ ถ้าไม่สามารถหาโอกาสลงทุนได้ในธุรกิจเดิม แน่นอนสุดปลายทางของเงินลงทุน คือตลาดหุ้น
2
3. ถ้านักธุรกิจมาลงทุนเอง ก็จะเหนื่อยและเสียเวลามาก เพราะหลายท่านก็กรากกรำทำธุรกิจมานานมากแล้ว และดังนั้นการฝากกองทุนที่ "เก่ง" ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การมาศึกษาหุ้นด้วยตัวเอง
2
4. แต่ฝั่งบลจ. ก็ยังไม่อยาก Disrupt ตัวเอง เพราะการเก็บค่า fee เป็น mutual fund นั้นปลอดภัยกว่ามาก คือได้ 2% แน่ ๆ และผลตอบแทนปีไหนไม่ดี จะไม่ได้ตกเป็นเป้า เพราะพอร์ตหุ้นมักจะเลือกหุ้นที่ปลอดภัย และมีความคล้ายคลึงกัน แต่ในที่สุด ผมคิดว่าจะมีคนคิดต่างเกิดขึ้น
2
5. การขาดแคลนคน นักลงทุนวีไอที่ประสบความสำเร็จในชุดแรก มักจะมีอิสรภาพทางเงินแล้ว การที่จะกลับไปทำงานเป็นผู้จัดการกองทุนนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก และน่าจะตกสเป็กเรื่องอายุ
4. สเป็คผู้จัดการกองทุนที่เก่ง น่าจะต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์หุ้นตั้งแต่เรียน เพื่อจะได้เก่งในอายุประมาณ 30 ปี ซึ่งไฟจะแรงที่สุด และสามารถทำงานหนักแบบปีเตอร์ ลินซ์ 10 ปี จนอายุ 40 ปี
และถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง ผมคิดว่าผลตอบแทนจากการทำงาน 10 ปีนั้น น่าจะพันล้านบาทได้ทีเดียว
1
นี่เป็นหนึ่งในความฝันที่ผมอยากจะเห็น ถ้าได้เห็นเด็กรุ่นใหม่ที่บ้านไม่มีฐานะ แต่สามารถมาเปลี่ยนชีวิตได้จากการเป็นผู้จัดการกองทุน รวมไปถึงยังได้ไปสร้างความมั่งคั่งให้ผู้อื่นได้ ถึงเวลานั้น ผมคงจะมีความสุขมากทีเดียว
6
และถ้ามองต่อไปอีก มันจะเป็นก้าวเล็ก ๆ ในก้าวใหญ่ ๆ ที่ประเทศไทย อาจจะมีกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยช่วยให้ประเทศก้าวออกจากกับดักชนชั้นกลางก็เป็นได้ครับ
2
โฆษณา