29 ก.ย. 2023 เวลา 09:25 • ศิลปะ & ออกแบบ

15 สิ่งในการทำงานเรซิ่นที่ DIY มือใหม่ต้องรู้

งานเรซิ่น เป็นงานที่มีความยืดหยุ่น และใช้วัสดุทำงานได้หลากหลายประเภท และสนุกมาก แต่สำหรับผู้เริ่มต้นอาจดูน่ากลัว หรือทำยากเกินไป เพราะทุกการเริ่มต้นมักจะยากเสมอ ซึ่งนี่คือคำแนะนำทีละขั้นตอน เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นทำงานเรซิ่นได้ง่ายขึ้น
เมื่อคุณมีวัสดุเรซิ่นที่ต้องทำเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว คุณสามารถเริ่มกระบวนการผสมเรซิ่น และสารทำให้แข็ง (หากคุณใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น แต่ถ้าใช้อีพ็อกซี่เรซิ่น ให้ข้ามวัสดุเรซิ่นชิ้นนี้ไป) หลังจากนั้น ทำการผสมอัตราส่วนตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่มอบมาให้ตามแต่ละสูตรของแต่ละยี่ห้อ แต่ทุกคนไม่ต้องกังวล เรามีขั้นตอนการทำงานเรซิ่นแบบละเอียด เพื่อให้งานเรซิ่นของเราสมบูรณ์แบบ มาดูกันเถอะ
1. อุปกรณ์และวัสดุที่ต้องใช้
  • เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่น)
  • สารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)
  • ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น
  • อะซิโตน เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หกหรือหยด
  • ถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมี
  • สีผสมเรซิ่น กากเพชร หรือสารเติมแต่งอื่นๆ
  • แม่พิมพ์หรือ แบบสำหรับเทเรซิ่นลงไป
  • อุปกรณ์เสริมสำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น (เมื่อต้องการให้งานสมบูรณ์แบบที่สุด)
2. ทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิตในการผสมเรซิ่นกับสารทำให้แข็ง(เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)
ทำไมถึงต้องทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิต เนื่องจากอัตราส่วนผสมจะแตกต่างกันไปของแต่ละผู้ผลิต และยังแตกต่างกันไปตามประเภทของเรซิ่นที่เรานำมาใช้ทำงานในประเภทนั้นๆอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรซิ่นของคุณแข็งตัวได้อย่างสมบูรณ์แบบตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ และจะไม่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในชิ้นงานนั้นๆอีกด้วย
3. จัดเตรียมพื้นที่ทำงาน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อให้คุณมองเห็นฟองอากาศหรือความไม่สมบูรณ์ในเรซิ่น
***ที่สำคัญ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันตัวตอนทำงานเรซิ่นด้วยนะ เช่น สวมถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมีเรซิ่น และหน้ากากกันสารเคมีของ 3M เพื่อป้องกันการสูดดมสารเคมีในระยะยาว ซึ่งอาจจะมีผลเสียในระยะยาวก็ได้นะ
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด
กระดาษเช็ดมือ ที่ขูด และน้ำยาทำความสะอาดไว้ใกล้ๆ เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสารเคมีที่อาจจะเลอะเทอะได้
5. เตรียมพื้นผิวชิ้นงาน
การเตรียมพื้นผิวที่คุณจะทำงานนั้น เช่น เช็ด และทำความสะอาดให้มั่นใจว่า ชิ้นงานนั้นไม่มีน้ำ น้ำมันเคลือบบนชิ้นงานอยู่ หรือใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวชิ้นงานให้เรียบเนียน กรณีที่ผิวของชิ้นงานขรุขระ
6. ชั่งตวงเรซิ่นตามปริมาณที่ถูกต้อง
ชั่งตวงเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ในปริมาณที่ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ โดยการใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น
7. เตรียมนาฬิกาจับเวลา
เพื่อที่จะจับเวลา ติดตามการทำงานของเรซิ่น เนื่องจากเรซิ่นจะมีระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างจำกัด เช่น โพลีเอสเตอร์เรซิ่น จะแห้งไว หรือช้า ขึ้นอยู่กับการผสมโคบอลต์ และตัวเร่งแข็ง หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น จะมีระยะเวลาที่ตรงตัว 20-30นาทีเซ็ตตัว ดังนั้น การจับเวลาเพื่อติดตามการทำงานเรซิ่น เป็นขั้นตอนที่ไม่ควรพลาด หากพลาด คุณจะเสียทั้งเวลาในการทำงานใหม่ และเสียทั้งเงินที่เรซิ่นทำการแข็งตัวก่อนที่จะทำงานเสร็จสมบูรณ์
8. การผสมเรซิ่นให้เข้ากัน
ผสมเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ให้เข้ากัน ใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่นแยกต่างหากสำหรับแต่ละส่วนประกอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน (กรณีที่ทำชิ้นงานที่มีหลากหลายสี)
**อย่าลืมขูดด้านข้าง และก้นถ้วยผสมเรซิ่น เพื่อให้แน่ใจว่า เรซิ่นและสารทำให้แข็งทั้งหมดผสมกันได้ทั่ว หากต้องการเพิ่มสี หรือพื้นผิวให้กับเรซิ่น สามารถผสมได้ในขั้นตอนนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น ผสมสีเรซิ่น ผสมกากเพชร ผสมกับสารเสริมแรงเรซิ่น เช่น ผงทัลคัม ผงเบา ผงแคลเซียม
9. ในกรณีใช้แม่พิมพ์ (โมลด์)
กรณีที่คุณใช้แม่พิมพ์ หรือโมลด์ แนะนำให้ใช้สารช่วยคลายตัว เช่น ซิลิโคนออยล์ สเปรย์ซิลิโคน BOSNY หรือ วาสลีนทาแบบ กันติดแม่พิมพ์ยางซิลิโคน ไม่ทำให้ชิ้นงานเป็นรอยและขุ่นมัว ทำให้ถอดแบบออกจากแม่พิมพ์ยางซิลิโคนง่ายขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เรซิ่นเกาะติด
10. เทคนิคการเทเรซิ่นที่ผสมแล้วลงในแบบ
ทำการเทเรซิ่นที่ผสมกันจนทั่วแล้ว ลงไปในแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือจะใช้เคลือบพื้นผิว โดยการใช้ไม้พาย หรือแปรง1” เพื่อเกลี่ยเรซิ่นหากจำเป็น (ซึ่งสามารถใช้ไล่ฟองอากาศได้นะ หากทำการเคลือบพื้นผิว)
11. กำจัดฟองอากาศในเนื้อเรซิ่น
เป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือการ กำจัดฟองอากาศเรซิ่น ที่อาจจะเกิดขึ้นบนพื้นผิวของเรซิ่นเรา ไม่ว่าจะเกิดจากการที่เราคนเรซิ่นในขั้นตอนที่ 6 แรงเกินไป โดยการใช้ ปืนไล่ฟองอากาศ บนผิวอีพ็อกซี่เรซิ่น
12. ปล่อยให้เรซิ่นแข็งตัวสมบูรณ์
หลังจากไล่ฟองอากาศในเรซิ่นเรียบร้อย ให้ทำการรอให้เรซิ่นแข็งตัวตามระยะเวลาที่แนะนำ โดยปกติคือ 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะทำออกจากแม่พิมพ์ หรือแบบบล็อก ที่เราทำงาน
13. การถอดเรซิ่นออกจากแม่พิมพ์
เมื่อเรซิ่นแข็งตัวสมบูรณ์แล้ว ให้นำออกมาจากแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือพื้นผิวที่ทำการเคลือบในกรณีที่ทำการเคลือบพื้นผิว อย่างระมัดระวัง
14. ใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวของเรซิ่นให้เรียบเนียน
ในกรณีที่เป็น "โพลิเอสเตอร์เรซิ่น" การขัดชิ้นงานต้องใช้กระดาษทรายตั้งแต่เบอร์หยาบไปถึงละเอียด แต่ในกรณีที่ใช้ "อีพ็อกซี่เรซิ่น" สามารถข้ามขัดตอนนี้ได้เลย เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่น เมื่อแข็งตัวแบบสมบูรณ์แล้ว ผิวงานจะไม่เหนอะเหมือนกับโพลีเอสเตอร์เรซิ่น
15. ขัดเงาพื้นผิวชิ้นงานเรซิ่นด้วยครีมขัดเงา
หากทุกคนต้องการให้เรซิ่นมีความเงา สวยงามขึ้น เราแนะนำให้ใช้ครีมขัดเงาเพื่อให้มีความเงาเพิ่มขึ้น (แต่หากไม่ต้องการให้เงา ทุกคนอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย)
คำแนะนำ:
โปรดจำไว้ว่า การทำงานกับเรซิ่นมีความซับซ้อนหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน ดังนั้นคุณต้องมีพื้นที่ทำงานที่สะอาด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ เรซิ่นอาจเป็นอันตรายได้หากกลืนกิน หรือหายใจเข้าไป ดังนั้นต้องมีความระวังในการใช้เคมีและการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
โฆษณา