Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
30 ก.ย. 2023 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
"เห็ดเผาะสิรินธร" เห็ดที่ถูกค้นพบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ปลายฝนต้นหนาว ฤดูกาลแห่งการเยี่ยมชมธรรมชาติป่าภูเขียว หลายคนคงรู้จักเห็ดเผาะเพราะเมื่อช่วงที่ผ่านมาเป็นฤดูกาลของเห็ดเผาะแสนอร่อย แต่เห็ดเผาะก็มีชนิดที่แตกต่างกันออกไปอีก มีทั้งกินได้และกินไม่ได้ วันนี้แอดรวงจึงขอนำเสนอเห็ดเผาะสุดลิมิเต็ดให้ได้ชมกัน
เห็ดเผาะสิรินธร (𝘼𝙨𝙩𝙧𝙖𝙚𝙪𝙨 𝙨𝙞𝙧𝙞𝙣𝙙𝙧𝙤𝙧𝙣𝙞𝙖𝙚)
เห็ดเผาะสิรินธร มีลักษณะคล้ายเห็ดเผาะทั่วไป สามารถนำมาบริโภคได้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าเห็ดเผาะทั่วไปถึง 2-3 เท่า ขนาดของดอกเห็ดบางดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5.5 เซนติเมตร เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแตกออกเป็นแฉกรูปดาว
ถูกค้นพบกระจายอยู่บนพื้นดินในป่าภูเขียว ซึ่งเป็นกลุ่มในป่าธรรมชาติร่วมกับไม้วงศ์ยาง ในระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดขนาดใหญ่ในช่วงเดือน กรกฎาคม - กันยายน ปี พ.ศ. 2555
จากผลการศึกษาและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม ฯ ทำให้ยืนยันได้ว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดชนิดใหม่ ซึ่งพบครั้งแรกของโลกในประเทศไทย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้กับเห็ดชนิดใหม่นี้ว่า “เห็ดเผาะสิรินธร”
ในปัจจุบันพบเห็ดเผาะสิรินธรได้เพียง 2 แห่งในประเทศไทย คือ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และ ป่าชุมชนใกล้โรงเรียนประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูล : รองศาสตราจารย์ ดร.เชิดชัย โพธิ์ศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ภาพ : นายวิศรุต ธรรมสรางกูร เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและจัดการทรัพยากร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
#เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว #ชัยภูมิ #เห็ดเผาะสิรินธร #กรมอุทยานแห่งชาติ
ท่องเที่ยว
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
1 บันทึก
6
3
1
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย