1 ต.ค. 2023 เวลา 13:16 • ความคิดเห็น
แสง คือแสงเฉพาะที่เรามองเห็นได้สินะ เพราะได้ยินมาว่าหลุมดำไม่ได้ดูดกลืนทุกอย่าง มันปล่อยความร้อนออกมา (อาจจะในรูปของคลื่น หรืออะไรผมก็ไม่รู้เหมือนกัน)
2
ถ้าเอาเฉพาะแสงที่เราเห็นล่ะก็ ผมไม่รู้! 🤪
1
แต่ว่า มามโนเล่นกันดีกว่า เอาล่ะ เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับแสง 1) มันเร็วที่สุดเท่าที่เรารู้จัก ("เคยได้ยินมา" จะถูกกว่า) 2) มันเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทางจากจุดกำเนิดของมัน (หากไม่มีการบังคับให้มันหักเหไปเฉพาะทางหนึ่งทางใด เช่น ไฟฉาย) 3) สถานะมันจะเป็นอะไรก็ตาม แต่มันมีคุณสมบัติบางอย่างที่เหมือนๆ กันกับคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำเวลาที่เราโยนหินลงน้ำ 4) ว่ากันว่าอีกว่ามันโค้งงอได้ตามพื้นที่ที่ถูกโค้งงอด้วยผลของมวล
3
แล้วหลุมดำคืออะไรล่ะ คืออะไรก็ไม่รู้ แต่ว่ากันว่ามีมวลมหาศาล จึงทำให้มันมีอานุภาพที่จะทำให้อะไรที่อยู่ใกล้มันตกลงไปหามันแล้วกลับออกมาไม่ได้ (เหมือนๆ กับอุกาบาตที่ตกลงมาสู่โลกก็ออกไปจากโลกเองไม่ได้เช่นกัน)
3
แล้วแสงล่ะ? แสงส่องไปได้ทุกที่นี่นา หากแสงเหมือนอุกาบาต คำตอบก็ง่ายมาก เพราะมันไม่มีแรงพอ หรือสู้แรงที่ดึงมันเข้ามาได้มันจึงไม่หลุดไปจากโลก หากแสงเหมือนอุกาบาต การที่มันตกลงไปในหลุมดำแล้วไม่สามารถส่องกลับขึ้นมาภายนอกได้ก็ต้องหมายความว่าหลุมดำมีแรงหรืออะไรก็ตามที่มากกว่าแรงของแสงโดยธรรมชาติที่ทำให้มันเคลื่อนออกไป แล้วอันนั้นแหละที่ดึงมันไว้ไม่ให้มันส่องออกมา
2
แต่อะไรที่ทำให้เราเชื่อว่าแสงไม่สามารถหลุดออกมาจากหลุมดำได้? ง่ายมาก เพราะพวกนักวิทยาศาสตร์มองไม่เห็นแสงของมัน ไม่เหมือนกับของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นแสงที่ส่องออกมาจากมัน (แต่หลายๆ อย่างที่เรามองไม่เห็นแสงของมันเราก็ไม่ได้คิดว่าแสงตกลงไปหามันแล้วกระเด้งออกมาไม่ได้เสียทั้งหมด) แต่ว่า เป็นไปได้มั้ยที่แสงจะไม่ได้ตกลงไปในหลุมดำอยู่แล้วตั้งแต่แรก? (ดังนั้นจึงทำให้มันไม่มีแสงอยู่แล้วตั้งแต่แรกเลยทีเดียว)
2
มาลองคิดเล่นๆ กันใหม่ แสงก็เหมือนกันกับคลื่นของผิวน้ำ แล้วเราก็ให้ "พื้นที่" นั่นเองเป็นตัวกลางของมัน (เป็นน้ำ) แล้วหลุมดำเจ้ากรรมนี่ก็เหมือนๆ กับน้ำวน หรือรูน้ำดูด (แต่ว่าจินตนาการให้มันเป็นสามมิติ) คลื่นน้ำมีความเร็วคงที่เสมอ ไม่ว่าหินที่เราโยนลงไปจะก้อนใหญ่เพียงใด แสงก็เหมือนกัน หมายความว่า แรงที่พลักให้มันเคลื่อนไปข้างหน้านั้น จะมากจะน้อยแค่ไหนก็ทำให้มันเร็วเท่าเดิม ต่างกันแค่มันลูกเล็กหรือใหญ่ขึ้น (ในกรณีของคลื่นน้ำ)
2
ในกรณีทั่วๆ ไปก็เหมือนกับผิวน้ำที่ราบเรียบ (น้ำที่ไหลลึกๆ ผิวก็ราบเรียบ เวลาโยนหินก้อนเล็กๆ ลงไป ก็จะเกิดวงคลื่นแบบเดียวกันกับผิวของน้ำนิ่ง เพียงแต่หากเราอยู่บนบก หรืออยู่นอกการไหลนั้นเราจะเห็นทิศทางการไหลของเจ้าวงคลื่นนั้นไปตามทิศทางการไหลของน้ำ
2
ในกรณีที่เป็นหลุมดำล่ะ ก็คงเหมือนเวลาที่เกิดน้ำวน ถึงเราจะทำให้เกิดคลื้นที่แรงแค่ไหน หวังว่าจะทำให้มันพัดข้ามน้ำวนไปฝั่งโน้น มันก็ยังถูกน้ำวนดูดลงไปหมดอยู่ดี ยิ่งไปกว่านั้น ถึงเราจะทำให้เกิดคลื่นน้ำขอบๆ น้ำวนมันก็ยังถูกดูดลงไปอยู่ดีอีก
2
แต่การเปรียบแบบนี้ก็ดูไม่เข้าท่าซักเท่าไหร่ เพราะมันจะเหมือนกันกับว่าอวกาศทั้งอวกาศกำลังค่อยๆ ไหลลงไปสู่หลุมดำ 😑 สรุปก็ไม่รู้แหละนะ 😌
3
แต่ก็สนุกดีเหมือนกัน 😊
โฆษณา