1 ต.ค. 2023 เวลา 14:56 • ปรัชญา
นครปฐม

จิตบำบัด

สติ ความแตกต่างระหว่างสติในจิตวิทยาตะวันตกกับสติในพุทธศาสนา โน้ตจากไลฟ์อ.หมอเวช
อ.หมอเวช จิตแพทย์ที่มีชื่อจริงว่า ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล
ป้าติดตามคลิปเพราะมีพี่แนะนำให้ฟัง ลองฟังข้อคิดและแนวทางการดูแลจิตใจ และฟังเรื่องราวเกี่ยวกับจิตบำบัด มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวช ไม่ว่าจะเป็น
โรคซึมเศร้า วิตกกังวล พารานอยด์ แพนิก หรือจิตเภท
อ.ไลฟ์ทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 20.00น.
หัวข้อวันนี้ : ความแตกต่างระหว่างสติในจิตวิทยาตะวันตกกับสติในพุทธศาสนา
อ.บอกว่า"สติ" เราอาจชินกับ สติแบบหนึ่งคือจิตวิญญาณ ในแบบคำสอนของท่านอาจารย์ติช นัท ฮันห์ นักบวชนิกายเซนชาวเวียดนาม ซึ่งพูด/สอนสติในแบบจิตวิญญาณและการดำรงสติตื่นรู้
ส่วนทางพุทธศาสนา อ. หมอเวช พูดถึง สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งหมายถึง ที่ตั้งของสติ
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง(ศัพท์พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม)
ซึ่งก็คือ ฐานกายของสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งถ้าเล่าแบบง่ายๆ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
หรือที่มักได้ยินว่า กายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม ...ทุกสิ่งนั้นเกิดมาและเสื่อมไป
สติ ในทางพุทธ
สติ จะหมายถึงการพาให้คนที่เจริญสติ ไปให้ถึงการรู้ถึง การพิจารณาในกาย ในสังสารวัฎอันเป็นสัจธรรมของชีวิต
แล้วอ.จึงเล่าถึงหนังสือที่เกี่ยวกับ สติปัฏฐาน ๔ ที่มีอยู่ในบ้านเล่มหนึ่ง คือ
"พลังแห่งสติ" The power of mindfulness
หนังสือนี้เขียนโดย พระญาณโปนิกมหาเถระ ค.ศ. 1901 หรือปีพศ. 2552
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโกมลคีมทอง อ. เล่าเพิ่มว่า พระญาณโปนิกมหาเถระ คือชาวเยอรมัน ไปบวชที่ศรีลังกา แต่เขียนหนังสือไว้เพื่อให้ชาวตะวันตกอ่าน มีผู้แปลเป็นไทย คือ คุณทัศนีย์ หงศ์ลดารมภ์
รายละเอียดของหนังสือเล่มนี้(พอสังเขป)
สติ ตามหนังสือเล่มนี้ หรือคือสติในพุทธศาสนานั้น หมายถึงว่า การมีสติ คือ รับรู้เรื่องสภาวะเหตุการณ์ตามที่กำลังเป็นจริง โดยไม่เอาเข้ามาเป็นทุกข์ สุข หรือ ขยะ เข้ามาไว้ในตัว
ให้รับรู้ รู้จัก มันมาก็รู้และแปลไว้ว่ามา แต่ไม่ทั้งที่ จะไปไขว่คว้าเข้ามา หรือผลักไสออกไป ตรงนี้ป้าจำได้ว่า พระไพศาล วิสาโล ก็แสดงธรรมไว้ว่า ไม่ผลักไสทุกข์ ไม่ไขว่คว้าสุข ประมาณนี้)
ตลอดเวลาถ้าเรา "มีสติ" รับรู้ สังเกตุ แต่ไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวายกับมัน แค่เราจดจ่อกับ "สติ" ฝึกกำหนดรู้ และจัดระเบียบ ทำให้เป็น "การรับรู้" ไม่มีปฎิกริยา เท่ากับว่า เรามี"สติ" และ การรับรู้ของเราจะเสมือนว่าเรา"มีพลัง" นั่นเอง
(เพราะเรารู้ แต่เราไม่ให้อะไรมามีอิทธิพลเหนือเรา-ป้าแปลความสำหรับตัวเอง)
👉ทำแค่นี้เท่านั้น ทำให้เป็น รับรู้ มองเห็นความคิดของตัวเอง แต่ทันใดนั้น เราก็รับรู้ ไม่ต้องทำอะไรกับความคิดของเราเอง(เป็นการสำรวมอายตนะ) ความคิด ความทุกข์ของความคิดที่เกิดขึ้น ก็จะปรากฎชัด
และ
- ความทุกข์ทั้งปวง(ที่เกิดจากความคิดเราเอง) จะสร่างพลัง สลายไปเอง
- ความเนิบช้า ไม่รีบกระโจนเข้าไปในสิ่งที่วิ่งมา "ปะทะ" เราจะรับรู้ใน "ธรรม"(ธรรมชาติ)
- เมื่อมีความหยุดนิ่ง มีความตระหนักรู้ ไม่มีปฎิกริยา
- มองทุกสิ่งที่เป็นอย่างที่เป็น เราจะเห็นความเป็นจริง อย่างที่เป็นจริง
ในที่สุดกระทั่ง นิพพาน ก็จะเป็นจริง..
..
ในช่วงท้าย อ.หมอเวชสรุปว่า "สติ" ตามนิยามของนักจิตวิทยาและนักปราชญ์ตะวันตกนั้น ตามความคิดของอ.หมอเวช คิดว่าเป็นประโยชน์ เป็นสิงดี เป็นสิ่งจำเป็นต่อมวลมนุษย์เพื่อจรรโลงโลก และคิดว่าเป็น ”สิ่งดี”
สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับ สติ ข้อคิดและหนังสือทางแบบตะวันตก
แต่เมื่อได้อ่านหนังสือได้ศึกษาธรรมตามแบบพุทธศาสนา และได้บวช*(เดี๋ยวโน้ตเพิ่มท้ายบทความค่ะ ตรงนี้ไฮไลท์เลย-ป้าพา) อ.หมอเวชพูดว่า ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน ได้บวช ได้เรียนรู้ในศาสนาพุทธ เกิดความซาบซึ่งในรสพระธรรม จึงขอเชิญชวนพุทธชน ลองให้โอกาสตนเองในการศึกษาพุทธธรรม และฝึกปฎิบัติด้วย
อาจเริ่มด้วย "การฝึกจิต" ตามขั้นตอนง่าย ๆ (ข้างบน) จนกว่าเข้าใจ เคยชิน มีอะไรกระทบก็จะรู้ตัว และทำแบบเดิม(ตระหนักรู้ ไม่มีปฎิกริยา) ได้เอง
ขอคัดลอกมาไว้ตรงนี้อีกครั้ง
เมื่อมีความหยุดนิ่ง
มีความตระหนักรู้
ไม่มีปฎิกริยา
มองสิ่งที่เป็นอย่างที่เป็น
เราจะเห็นความเป็นจริงอย่างที่เป็นจริง
ในที่สุดกระทั่ง
..นิพพาน
หนังสือ "พลังแห่งสติ" พระญาณโปนิกมหาเถระ
อ.หมอเวชจึงสรุปในตอนท้ายว่า
"ความแตกต่างระหว่างสติในจิตวิทยาตะวันตก" กับ "สติในพุทธศาสนา"
คือ สติในพุทธศาสนา กว้างกว่า ลึกซึ้งกว่า
(เข้าใจได้ คือ ธรรม..ธรรมชาติมั้ยคะ-ป้าขอมาถามท่านผู้อ่านหน่อยค่ะ)
หมอประเวช ค่ะ
เกี่ยวกับหนังสือ พลังแห่งสติ ป้าไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ ฟังไลฟ์ครั้งนี้ของอาจารย์หมอประเวช #ยูทิวป์ ปลดล็อคกับหมอเวชแล้ว คิดว่าต้องไปหามาอ่านค่ะ
จึงนำมาโน้ตฝากไว้ให้เพื่อน ๆ และคุณผู้อ่านที่สนใจด้วยค่ะ
อ้างอิง
กาย
ชวนอ่านหนังสือ พลังแห่งสติ โดยพระไพศาล วิสาโล
หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์
เรื่องที่ ๑๔ : ท่านโกเอ็นก้า วิปัสสนาจารย์
(ป้ายังไม่ได้โน้ตถึงท่านโกเอนก้า ขอแปะก่อน เชิญท่านผู้รู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ)
*ปล. โน้ต​เรื่องการเห็นหนอนชอนไชร่างของผู้เสียชีวิตและพาเนื้อลงผืนดิน ของอ.หมอเวช ป้าฟังแล้วอยากฟังอีกแล้วมาเล่าสู่กันอีกหัวข้อดีกว่านะคะ
ขอบคุณค่ะ
ป้าพา
ปล. อีกครั้ง
บทความนี้ขอโน้ตไว้ก่อน
เรื่องนี้เป็นเรื่องลึกซึ้งคงต้องมาพูดคุยกันอีกอาทิตย์หน้าพบกันเมื่อมีโอกาสค่ะ
ปล.ของปล.
ฟังต้นฉบับที่นี่ค่ะ
ขอบคุณนะคะ
ปล. สุดท้ายจริงๆ
ขอขอบคุณภาพปกจากนางแบบในนี้เอง
คุณหมอหนอนน้อยซ์
ลิ้งค์นี้ ค่ะ
#โรคซึมเศร้า #วิตกกังวล #พารานอยด์ #แพนิก #จิตเภท #ปลดล็อคกับหมอเวช
โฆษณา