2 ต.ค. 2023 เวลา 00:59 • ความคิดเห็น
ผมคิดว่าในเรื่องความเชื่อนั้น ในสนามของสังคม เราไม่มี "สิทธิ์" ตัดสินใครหรือว่าความเชื่อใดว่าไร้เหตุ เพราะทุกๆ ความเชื้อ มันก็ไร้เหตุผลด้วยกันทั้งนั้นนั่นแหละ ไม่มี "เหตุผล" อยู่ในตัว "ความเชื่อ" เลยแม้แต่นิดเดียว
1
ยิ่งไปกว่านั้น เรายิ่งไม่มีสิทธิ์บังคับใครให้เปลี่ยนความเชื่อของตัวเองแล้วหันมายอมรับเพียงความเชื่อที่ตัวเรานับถือศรัทธาและเห้นว่า "ไม่มืดบอด" ด้วย แต่เราอาจชักชวน เชื้อเชิญ บอกกล่าวสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นประโยชน์ในความเชื่อของเราให้ใครๆ ก็ตาม เพื่อที่หากเขาจะเปลี่ยนใจของเขาเองมายอมรับความเชื่อแบบเราบ้าง ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ควรทำ และคือขอบเขตที่มากที่สุดที่สามารถทำได้ ภายใต้สังคมการเมืองแบบ "รัฐฆราวาส"
ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมืองก็เช่นเดียวกัน (แต่อาจเพิ่มขึ้นมาหน่อยตรงที่มันมี "อำนาจบังคับ" เข้ามาเกี่ยวข้อง) ในแง่ของปัจเจกบุคคลแบบที่เราเป็นนี้ เราก็ยังไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่จะไปบังคับใครให้เชื่อถือหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบที่เรามี หรือในแบบที่เราเห็นว่าดี
แต่แน่นอน เราย่อมมีสิทธิ์ บอกกล่าว เชื้อเชิญ เผยแพร่ ลัทธิและอุมการณ์ทางการเมืองที่เรามี โดยที่ใครๆ ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะมาปิดปากเราหรือจับเราเข้าคุก หรือยัดข้อหาล้มล้างการปกครองให้เราด้วย เพราะนี่คือสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น ในการพูด ในการแสดงออก สิทธิ์ที่เราได้มาโดยชอบธรรมพร้อมๆ กับความเป็นมนุษย์ไม่ว่ารัฐจะรับรองหรือไม่รับรองมันก็ตาม
แต่ก็แน่นอนอีกแหละว่า หากไม่ใช่รัฐที่เป็น "เสรีประชาธิปไตย" ที่ไม่รับรองสิทธิ์เหล่านี้ รัฐย่อมมี "สิทธิ์" ที่จะพร่าผลาญเราด้วยประการใดๆ ก็ตามหากสิ่งที่เราทำนั้น รัฐไม่รับรองคุ้มครอง (และนี้คือเหตุผลเพียงประการเดียวที่ผมชอบระบอบประชาธิปไตย ผมสามารถ "แสดงออก" ซึ่งความคิดความเชื่อความเห็นของผมอย่างไรๆ ก็ได้ โดยที่เพื่อนบ้านจะไม่ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหน้าที่ของพลเมืองดีเพื่อมาจัดการกับความคิดเห็นของผม ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับรัฐไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง)
1
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าพวกเราละเลยในเรื่องนี้ก็คือ "การปฎิบัติ" มนุษย์มีสัญชาติญาณในการลอกเลียนแบบได้อย่างน่าพิศวง แต่เราจะลอกเลียนแบบก็เฉพาะสิ่งที่เราเห็นว่าสิ่งนั้น "ดี" กับเรา ฉะนั้นแล้วหากใครก็ตามต้องการให้เพื่อนบ้านผู้หลงผิดในลัทธิความเชื่อตา่งๆ ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ประการที่สำคัญที่สุด มากกว่าการชักชวนและกล่าวสอน ก็คือการแสดงให้เห็นว่า เมื่อปฎิบัติตามความเชื่อนั้นๆ แล้วจะได้รับผลดีขึ้นอย่างไร และหากเราเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีจริง น่าปรารถนา เดี๋ยวเราก็จะทำตามเอง
โฆษณา