Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
... ธรรมะ..ดา
•
ติดตาม
2 ต.ค. 2023 เวลา 16:42 • หนังสือ
ความรักท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ ๒
"หากวันใดคิดถึงผมให้ทำขนมโมจิ ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ผมจะกลับมาหาคุณอีกครั้งถ้าจะทำขายก็ทำได้นะ...."
สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มต้นตอนที่กองทัพญี่ปุ่นได้มาตั้งฐานทัพในจังหวัดนครนายก ซึ่งชาวบ้านในบริเวณนั้น ได้นำสินค้าต่างๆ มาค้าขายกับทหารญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว (ปัจจุบันคือพื้นที่ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและบริเวณใกล้เคียง)
นางพันนา ศรีอร่าม สาวชาวบ้านหน้าตาจิ้มลิ้มวัย ๑๘ ปี ทำการค้าขายขนมในค่ายทหารกับญาติ ๆ เช่น ขนมไข่เหี้ย กล้วยทอด ซาลาเปาทอด
ขายจนได้รู้จัก กับนายทหารหนุ่มชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหมอชื่อ " ซาโต้ " ดั่งต้องมนต์แห่งรัก เค้าและเธอเกิดมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน คบหาดูใจกันอย่างห่างๆ เนื่องจากในยามสงครามนั้นญี่ปุ่น ไม่ค่อยเป็นที่ชอบพอของชาวบ้านร้านตลาดเสียเท่าไหร่นัก ห้วงเวลาแห่งรักนั้นช่างสั้นเหลือเกินไม่นานนัก "ซาโต้" ก็ต้องโยกย้ายไปที่อื่น .
แต่ก่อนจากไปนั้น เค้าได้สอนการทำขนมโมจิให้กับนางพันนาและบอกกับเธอว่า......
" ขนมนี้จะเป็นตัวแทนความรักของซาโต้ และเป็นตัวแทนของประเทศเขา ถ้าวันใดที่เขาไม่อยู่และนางพันนาคิดถึงซาโต้ ก็ให้ทำขนมนี้ ซาโต้จะกลับมา......."
เมื่อซาโต้ได้สอนนางพันนาทำเป็นแล้ว เค้าได้บรรจงหยิบขนมที่คนรักทำ เค้าหลับตากัดขนมโมจิพอดีคำ..... เค้ายิ้มและบอกกับหญิงสาวว่า รู้ไหมพันนา .......
" คุณทำขนมโมจิญี่ปุ่นได้อร่อยที่สุดในโลกเลย" คุณจำไว้นะหากวันใดคิดถึงผม ให้ทำขนมโมจิ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ซาโต้คนนี้ จะกลับมาหาคุณอีกครั้ง ถ้าจะทำขายก็ทำได้นะ คุณจะได้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง "
สิ้นประโยคนี้ชาโตได้เดินจากไป มันเหมือนเป็นการร่ำลาครั้งสุดท้ายและเป็นดั่งคำมั่นผ่านขนมโมจิว่า "เค้ารักนางพันเพียงใด" แต่ด้วยหน้าที่ต้องมาก่อนหัวใจเสมอ ชาโตยิ้มให้นางพันด้วยสายตาที่พล่ามัวเพราะน้ำตาของลูกผู้ชายเอ่อล้นที่ดวงตาทั้งสองข้าง
ชายชาติทหารบาดเจ็บจากการรบยังมิเสียน้ำตา แต่ต้องปวดใจดั่งตายทั้งเป็นเมื่อต้องพรากจากคนรัก.....ชาโต้รีบหันหลังเดินจากไป..
นางพันนาได้แต่ยืนมองชายคนรักค่อยๆเดินหายไปลับสายตาโดยมิได้พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ด้วยวัฒนธรรมและประเพณีของไทย ที่เป็นเหมือนกรงขังคอยครอบและจองจำความรู้สึกของนางพันนา และคงเป็นเช่นเดียวกันกับชาโตที่
"ประเทศชาติต้องมาก่อนความรัก"
น้ำตาที่ไหลนองจากดวงตาสองข้าง พร้อมสองมือที่ปิดปาก เพื่อป้องกันบาดแผลจากหัวใจที่เปล่งออกมาเป็นเสียงกรีดร้องสะอึกสะอื้นไว้เหมือนกับว่าการเสียใจในครานี้เป็นเรื่องที่ผิด ชาวบ้านจะติฉินนินทาเอาได้.....คงไม่ต้องถามว่าหัวใจนางพันนาจะเจ็บปวดร้าวเพียงใดลองนึกดูว่าหากเราโดนเข็มนับพันทิ่มแทงที่หัวใจจะรู้สึกเช่นไรนั้น คงยังไม่ได้ครึ่งที่นางพันนารู้สึก.....
หลังจากชาโตจากไปนางพันนาก็ยังคงทำอาชีพหาบของขายและหนึ่งในนั้นคือ ขนมญี่ปุ่นโมจิให้กับกองทัพทหารญี่ปุ่นต่อไป ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นจึงกลับประเทศ ...ไร้วี่แววของซาโต้..
นางพันนายังคงทำขนมโมจิขายให้กับผู้คนในจังหวัดนครนายกเลี้ยงชีพต่อไป จนวันหนึ่งทหารไทยบอกกับนางพันนาว่า ขนมที่ทำขายอยู่ ห้ามกิน ห้ามทำ ห้ามขาย เพราะเป็นขนมของญี่ปุ่น ขนมนี้มันคือ
"ขนมกบฏ"
นางพันนาจึงไม่ได้ทำขนมโมจินี้ขาย แต่ทุก ๆ ครั้งที่คิดถึงซาโต้ นางพันนาก็จะ "แอบทำขนมโมจิ" เพื่อทดแทนความคิดถึงหนุ่มญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รักและทุกๆครั้งที่นางพันนา ทำขนมโมจินี้ จะตั้งจิตอธิษฐาน สวดมนต์ภาวนา ให้ซาโต้กลับมากินขนมของตัวเอง....วันแล้ว...วันเล่า....จากวัน...เป็นเดือน....จากเดือน....เป็นปี......สองปี....สามปี....สิบปี....
นางพันนาจะลุกขึ้นมาทำขนมโมจิอยู่เสมอ .... แต่ซาโต้ก็ไม่มาชิมขนมของเธอ ไม่มีข่าวจากชาโต้แต่อย่างไร ไม่มีใครรู้ว่าเค้ายังมีชีวิตอยู่หรือสิ้นลมหายใจไปแล้ว สิ่งที่เจ็บปวดกว่าการบอกลาคือ การพยายามที่จะลืมใครสักคนไปทั้งชีวิต แต่.....มันช่างยากเหลือเกิน
วันเวลาผ่านไปเนิ่นนาน จนเรื่องนี้ได้ลางเลือนไปจากความทรงจำของทุกคนหมดแล้ว คงมีแต่นางพันนาที่ไม่มีวันลืม เพราะเธอก็ยังทำขนมโมจิอยู่บ่อยครั้ง ......
จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงทราบประวัติเรื่องขนมโมจินี้ จึงให้ทหารคนสนิทไปสืบหาที่มาขนมโมจิสูตรดังกล่าว ซึ่งได้ไปหาอยู่หลายที่และนำมาให้เสวย แต่สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสว่าไม่ใช่ขนมโมจิสูตรที่ตามหา ต่อมาอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ได้ประชาสัมพันธ์และสืบหา
จนได้ทราบจากนายมานพ ศรีอร่าม ข้าราชการพัฒนาชุมชนว่าผู้ที่ทำขนมโมจิดังกล่าวคือมารดาของตัวเอง ซึ่งในขณะนั้นมีอายุมากแล้ว แต่ความทรงจำยังดีสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ
ในอดีตได้เป็นอย่างดี พร้อมได้สอนให้บุตรและสะใภ้ได้ทำขนมดังกล่าว ถวายสมเด็จพระเทพฯรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ
"ยายพันนารอคอยวันนี้มานานแสนนานวันที่ขนมโมจิของแกได้ถูกเผยแพร่อีกครั้ง เหมือนได้บอกกับซาโต้ว่ายังมีสาวบ้านนาคนนี้รออยู่เสมอ"
ปัจจุบันยายพันนาได้จากโลกนี้ไปแล้ว โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ และปัจจุบันขนมโมจิสูตรดังกล่าวได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อมและมีไส้ให้เลือกหลายชนิด
เอกลักษณ์ของขนมโมจิสูตรสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะมีความพิเศษแตกต่างจากขนมโมจิที่วางขายในจังหวัดอื่น เนื่องจากขนมโมจิสูตรนครนายกทำจากแป้งข้าวเหนียวและนำไปต้ม จะมีความเป็นเอกลักษณ์ คงความสดอร่อย นุ่มและกลมกล่อม รวมทั้งมีไส้ที่หลากหลาย รสชาติใกล้เคียงกับขนมโมจิสูตรดั้งเดิม (ประเทศญี่ปุ่น)
Cr. บางส่วน บางตอนของพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2
🛟 ขอขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกคน ที่แวะเวียนมาให้กำลังใจกัน 🛟ไม่ว่าจะกดแชร์ 🛟กดไลค์ หรือ 🛟Comment 🛟ด้วยความสุขที่แบ่งปันกันค่ะ🛟
♥ by:..ธรรมะ...ดา ♥
1 บันทึก
8
10
6
1
8
10
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย