Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mr.BlackCatz. Academy
•
ติดตาม
6 ต.ค. 2023 เวลา 02:31 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การขนส่งสารเข้าออกเซลล์ 2 โดยใช้ถุงเวสสิเคิล | Biology with JRItsme.
⌚เวลาที่ใช้ในการอ่าน 4 นาที
กอลจิบอดี้เป็นหนึ่งในออร์แกนเนลที่สามารถสร้างถุงเวสสิเคิลได้ ที่มา: https://www.britannica.com/science/Golgi-apparatus
นอกจากที่สารจะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แล้ว เซลล์อาจเลือกใช้การสร้างถุงเวสสิเคิลแทน หากคุ้น ๆ ในเรื่องอาณาจักรเซลล์จะมีบางออร์แกนเนลที่สามารถสร้างถุงเวสสิเคิลเพื่อขนส่งสารให้ออร์แกนเนลอื่นได้ เช่น ร่างแหเอ็นโตพลาสมิก กอลจิบอดี้ ซึ่งตัวเซลล์เองก็ทำแบบนั้นได้เช่นกัน
การใช้ถุงเวสสิเคิลทางขาเข้า [Endocytosis] และขาออก [Exocytosis] ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกนเนล ที่มา: http://digfir-published.macmillanusa.com/pol2e/pol2e_ch05_5.html
ถุงเวสสิเคิลที่มาจากออร์แกเนลและตัวเซลล์เอง เกิดมาจากเยื่อหุ้มฟอสโฟลิพิดสองชั้นม้วนพับกันเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นทรงกลม ท้ายที่สุดเยื่อหุ้มนั้นจะเชื่อมติดกันทำให้ทรงกลมหลุดออก กรณีที่จะนำถุงเวสสิเคิลเข้ามา ก็ทำในลักษณะเช่นเดิมแต่ย้อนกลับมา โดยถุงจะเข้าเชื่อมติดเยื่อหุ้มแล้วคลายออกจยเป็นทรงแบน แนบกับเยื่อหุ้มเดิม นอกจากที่ถุงเวสสิเคิลจะใช้ในการขนส่งแล้ว ยังใช้ในการสร้างเยื่อหุ้มใหม่เข้ามาแทรกเยื่อเก่าในลักษณะนี้อีกด้วย
เวสสิเคิลที่ถูกขนส่งโดยรถไฟไคเนซินบนรางไมโครทูบูลภายในเซลล์ ที่มา: https://www.researchgate.net/figure/Fig-14-A-kinesin-molecule-as-it-carries-a-vesicle-during-its-walk-along-a_fig13_228362864
ถุงเวสสิเคิลภายในเซลล์จะไม่ได้ล่องลอยอย่างอิสระภายในไซโตซอลอย่างที่เราเข้าใจกัน มันเคลื่อนโดยใช้ไมโครทูบูลเป็นรางรถไฟ และมีโปรตีนเข้ามาเกาะซึ่งเป็นโปรตีนเคลื่อนที่ [Motive protein] (ในที่นี้ชื่อไคเนซิน [Kinesin]) เปรียบเสมือนรถไฟส่งสินค้า มาเกาะระหว่างเวสสิเคิลกับรางไมโครทูบูล และพาเคลื่อนที่ไปยังออร์แกนเนลเป้าหมาย ซึ่งต้องใช้พลังงาน ATP (ตัวถุงเวสสิเคิลเองไม่ได้ใช้พลังงาน แต่โปรตีนเคลื่อนจะใช้แทน จึงอาจเห็นบางตำราบอกว่า การใช้ถุงเวสสิเคิลเป็นการใช้พลังงาน)
การใช้ถุงเวสสิเคิลทางขาเข้า [Endocytosis] และขาออก [Exocytosis] ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกนเนล ที่มา: https://k12.libretexts.org/Bookshelves/Science_and_Technology/Biology/02%3A_Cell_Biology/2.07%3A_Exocytosis_and_Endocytosis
การขนส่งสารเข้าออกเซลล์โดยใช้ถุงเวสสิเคิล มีทั้งหมด 2 ทางคือ ขานำสารออกหนือเอกโซไซโตซิส [Exocytosis] ตามชื่อเลยคือการสร้างถุงเพื่อปล่อยสารออกมาข้างนอก และขานำสารเข้าหรือเอ็นโดไซโตซิส [Endocytosis] เซลล์จะสร้างถุงเวสสิเคิลเพื่อนำสารเข้ามา
เอ็นโดไซโตซิสแบ่งได้เป็น นำของแข็งเข้าหรือไฟโฟไซโตซิส นำของเหลวเข้าหรือพิโนไซโตซิส และอาศัยตัวรับ ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Endocytosis#
เอ็นโดไซโตซิส สามารถแยกออกได้เป็น การนำของเหลวเข้าหรือพิโนไซโตซิส [Pinocytosis] การนำของแข็งเข้า (การจับกินเซลล์อื่น การกินอาหาร สารอาหารต่าง ๆ) หรือฟาโกไซโตซิส [Phagocytosis] และการอาศัยตัวรับหรือใช้รีเซ็ปเตอร์ [Receptor-mediated endocytosis]
ในตอนต่อไป เราจะย้อนกลับมาลงลึกเรื่องการออสโมซิสของเซลล์กัน เพราะเป็นการขนส่งที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง และค่อนข้างส่งผลกระทบต่อเซลล์เป็นอย่างมาก อย่าลืมติดตามเพจ Mr.BlackCatz. Academy ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจ เพื่อไม่พลาดเนื้อหาชีววิทยาฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่ายนะครับ
ความรู้
ความรู้รอบตัว
วิทยาศาสตร์
2 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Biology with JRItsme.
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย