9 ต.ค. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ปี 2567 จะเป็นปีวิกฤติ ของบริษัทเอกชน ที่มีหนี้สูง

เพราะ ปี 2567 จะเป็นปีที่บริษัทเอกชน กู้เงินแล้ว เสียดอกเบี้ยแพงขึ้น เราเริ่มจะเห็นแล้วว่า ปีนี้ดอกเบี้ยเงินกู้เริ่มแพงขึ้นกว่าปีที่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ในปีหน้า บริษัทเอกชนที่มีหนี้มาก อาจเสียดอกเบี้ยแพงกว่าปีนี้อีก
2
ที่มาของเรื่องนี้มีต้นเหตุมาจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งมาจากหลายปัจจัย
ทั้งดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกาที่สูงขึ้น และนโยบายของรัฐบาลไทยเองที่กดดัน ทำให้อัตราดอกเบี้ยสำหรับบริษัทเอกชนสูงขึ้น เรื่องนี้มีรายละเอียดเป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ตามทฤษฎีทางการเงิน พันธบัตรรัฐบาล ถือว่าไม่มีความเสี่ยง (Risk Free) ในเรื่องการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและเงินต้น
ดังนั้น ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล จะเป็นฐานดอกเบี้ยการกู้ยืมของหุ้นกู้บริษัทเอกชน ที่นักลงทุนจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากกว่า
2
อธิบายเป็น สมการง่าย ๆ ก็คือ
ดอกเบี้ยของหุ้นกู้บริษัทเอกชน = ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล + พรีเมียม (Credit Spread)
1
โดยความพรีเมียมตรงนี้ ก็จะขึ้นอยู่กับเครดิตเรตติงของหุ้นกู้บริษัทเอกชน
จากเรตติง AAA สูงที่สุด เสี่ยงน้อย บวกน้อย ไล่ไปจนถึงเรตติง BBB- เสี่ยงมาก ก็จะมีพรีเมียมมากที่สุด
1
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็คือ
หุ้นกู้เรตติง AAA อายุต่ำกว่า 3 ปี
เฉลี่ยแล้วจะบวกเพิ่ม 0.44%
หุ้นกู้เรตติง BBB- อายุต่ำกว่า 3 ปี
เฉลี่ยแล้วจะบวกเพิ่ม 3.27%..
ส่วนบริษัทเอกชนที่ไม่ได้ออกหุ้นกู้ แต่เป็นการกู้ยืมเงินตรงกับธนาคาร ก็จะเสียดอกเบี้ยล้อตามกันกับเครดิตเรตติง และอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเช่นเดียวกัน
สรุปก็คือ พอดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น บริษัทเอกชนทุกราย ก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่จะกู้ยืมสูงขึ้นตามไปด้วย
คำถามต่อไปก็คือ แล้วทำไมพันธบัตรรัฐบาลไทยถึงมีแนวโน้มที่จะมีดอกเบี้ยสูงขึ้น ?
คำตอบก็คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาด จะขึ้นอยู่กับความคาดหวังของตลาด
1
ในปีหน้ารัฐบาลมีโครงการที่จะกู้เงิน 560,000 ล้านบาท คิดเป็นราว 3% ของ GDP ประเทศไทย
 
โดยในช่วงที่ผ่านมา ตลาดเริ่มคาดการณ์ไปแล้วว่า รัฐบาลต้องการเม็ดเงินจำนวนมาก และเร่งด่วน
2
หากเรามาดู ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทย อายุ 10 ปี ช่วงที่ผ่านมา
- วันที่ 1 กันยายน 2566
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี อยู่ที่ 2.79%
- วันที่ 3 ตุลาคม 2566
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี อยู่ที่ 3.23%
ปีที่แล้ว ตลาดตราสารหนี้ไทย มีมูลค่าคงค้าง 15,800,000 ล้านบาท แบ่งได้เป็น
- พันธบัตรรัฐบาล 7,800,000 ล้านบาท
- หุ้นกู้บริษัทเอกชน 4,500,000 ล้านบาท
- อื่น ๆ 3,500,000 ล้านบาท
จะเห็นว่า รัฐบาลไทยเป็นลูกหนี้รายใหญ่ที่สุด
โดยคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่ง ของตลาดตราสารหนี้ทั้งหมด
แล้วเรื่องดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อบริษัท ในมุมไหนบ้าง ?
- บริษัทที่มีหนี้สูงอยู่แล้ว ที่ต้องการจะออกหุ้นกู้ชุดใหม่ เพื่อมาจ่ายหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดชำระ (Roll Over) ก็อาจต้องมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
- ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นนั้น ยังทำให้บริษัทต้องหาโครงการลงทุนที่มีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ก็อาจต้องมีการลงทุนที่เสี่ยงมากขึ้นตามไปด้วย
1
- หรือบางบริษัท ต้องลดการลงทุน หรือต้องชะลอการลงทุนออกไปก่อน เพราะผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
นอกจากนี้ การที่รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในตลาดตราสารหนี้ โดยการออกกู้เงินจำนวนมาก
ก็เท่ากับว่ารัฐบาลจะเข้ามาแย่งเม็ดเงิน จากหุ้นกู้ภาคบริษัทเอกชน ทำให้บริษัทที่ออกหุ้นกู้ใหม่ อาจขายได้ไม่หมด
พอขายไม่หมด บริษัทเอกชนก็อาจจะติดขัด ขาดสภาพคล่อง ท้ายที่สุดก็จะส่งผลกระทบย้อนกลับไปที่เศรษฐกิจ
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ น่าจะสรุปได้ว่า ปีหน้าอาจจะเป็นปีวิกฤติของบริษัทเอกชน ที่มีหนี้สูงเลยทีเดียว..
โฆษณา