7 ต.ค. 2023 เวลา 01:43 • ปรัชญา
ผมมี "หลุนอี่ว์" อยู่เล่มนึง เสียดายจดจำเนื้อความในนั้นไม่ได้เลยซักอย่างเดียว ความจริงขงจื้อเป็นนักปราชญ์ผู้อาภัพอยู่นะครับ ในความเห็นผม
อ้อ มีอยู่ตอนนึงที่ผมจำได้คือตอนที่ขงจื้อจะข้ามสะพาน แต่ไม่รู้ว่าทางข้ามอยู่ตรงไหน จึงให้ลูกศิษย์ไปถามชาวนาดูแล้วชาวนาตอบว่า "เป็นถึงขงจื้อกลับไม่รู้ทางข้าม" ดูเหมือนจะมีเพียงเรื่องนี้เองที่ผมจำได้จากคำภีร์เล่มนั้น
1
ที่อ้างถึงหลุนอี่ว์ เป็นเพราะผมไม่ได้อยู่ใกล้ชิดวัฒนธรรมขงจื้อพอที่จะซึมซับเอาภูมิปัญญาเหล่านั้นมาไว้ในตนได้ ดังนั้นจริงทีเดียว ผมจึงเข้าใจถ่อยคำนี้ ในแง่ลบไม่น้อยเลยทีเดียว คือ
"สตรี" ย่อมเป็นสตรีเหมือนๆ กันหมด แม้แบ่งชั้นวรรณะอย่างไรๆ สตรีก็ยังดูต่อยต่ำกว่าบุรุษ และดูจะมีตำแหน่งแห่งที่ที่หรือหน้าที่ที่ชัดเจนแน่นอนในสังคม คือเพื่อปรนปรือความกำหนัดแห่งชาย และเพื่อกำเนิดบุตร(เพื่อสืบสายสกุลให้ชายอีกนั่นแหละ) ดังนั้นสตรีในที่นี้จึงดูต่ำต้อยมาก เธอเป็นเพียง "วัตถุ" ให้กับชายเพียงเท่านั้นเอง
ส่วน "คนถ่อย" นั้น ในที่นี้คือ "คนถ่อยชาย" ไม่ใช่คนถ่อยหญิงอย่างเด็ดขาด เพราะหญิงนั้นย่อมไม่ใช่คนถ่อย แต่เป็นหญิง ซึ่งดูจะต่ำต้อยกว่าคนถ่อยเสียอีก เพราะ "คนถ่อย" นั้นยังอาจพอกลับตัวกลับใจได้ หรือแม้เมื่อได้รับการศึกษาที่ดี จาก "คนถ่อย" ก็อาจกลับกลายเป็น "วิญญูชน"
ดังนั้น "มีแค่สตรีและคนถ่อยที่เข้าด้วยได้ยาก" จึงเป็นคำที่ชายพูด(สั่งสอน)กับชายเพียงเท่านั้นอีก คือชายผู้เป็นวิญญูชนแล้ว กล่าวกับชายผู้เป็นหรือจะเป็นวิญญูชนด้วยกันว่ามิพึงสนทนาด้วยคนถ่อย เพราะนั่นไม่ต่างอะไรกับสนทนาด้วยสตรี ขอบเขตทางปัญญาดูจะจำกัดอยู่ในวงที่แคบจริงๆ ในกรณีนี้ เป็นคนถ่อย ก็มีปัญญาไม่ได้ เป็นสตรียิ่งมีปัญญาไม่ได้อีก
จะว่าไปแล้ว ว่าที่จริง ผมก็มิใช่คนถ่อยคนหนึ่งหรอกหรือ?
1
โฆษณา