สะพาน​เขียว ลุมพินี-ส​วนเบญจกิติ

คราวที่แล้วเราพูดถึงสวนป่าส​วนเบญจกิติมาแล้ว ขอมาพูดถึงสะพานเขียวที่เชื่อมสวนป่าส​วนเบญจกิติกันบ้าง เราเป็นคนหนึ่งผ่านสะพาน​เขียวบ่อยมากตั้งแต่ยังไม่ดังเลย เรามักใช้ข้ามไปวิ่งที่สวนลุม ตอนนั้นสภาพยังดูน่ากลัวอยู่เลย พอล่าสุดไปครั้งนี้ได้มีโอกาสเดินไปสุดทาง แต่ก่อนเดินแค่ไม่ถึงกลางทางของฝั่งวิทยุก็กลับล่ะ เพราะมีผู้ใหญ่บอกว่าอันตราย สมัยก่อนช่วงเย็นส่วนใหญ่จะเห็นต่างชาติมาออกกำลังกาย แต่ไปคราวนี้มีหลากหลายวัยมากขึ้น มีวัยรุ่นมาถ่ายรูป เช็คอิน ส่วนชาวต่างชาติยังเห็นอยู่เหมือนเดิม
มาว่ากันเลยในส่วนที่ไปที่มากันดีกว่า เป็นโครงการสกายวอล์กแห่งแรกๆ ของกรุงเทพฯ โดยเป็นเส้นทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานลอยฟ้า เชื่อมต่อระหว่างสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติ โดยเชื่อมต่อจากประตูสวนลุมพินี ทางออก สน.ลุมพินี และไปสิ้นสุดบริเวณด้านหลังโรงงานยาสูบ ระยะทาง 1,300 เมตร ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2543
ตัดตรงผ่านพื้นที่ที่มีความซับซ้อนในเชิงมิติทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งจากบริเวณใจกลางแหล่งสำนักงานและพาณิชยกรรมที่เต็มไปด้วยกลุ่มนักธุรกิจและคนทำงาน และย่านที่อยู่อาศัยหลากหลายระดับตั้งแต่บริเวณซอยร่วมฤดี สู่ย่านชุมชนร่วมฤดี หลังโบสถ์มหาไถ่ ในละแวกใกล้เคียงกับมัสยิดอินโดนีเซีย ตัดผ่านข้ามทางด่วนเฉลิมมหานครแล้วเริ่มเข้าสู่บรรยากาศแห่งความสงบของธรรมชาติอีกครั้งบริเวณด้านหลังของโรงงานยาสูบ สรุปคือมีความหลายหลายทางสังคม มีทั้งเขตเมือง และโซนสีเขียว
มีการใช้งานอย่างพลุกพล่านเพียงช่วงเวลาเช้าตรู่และยามเย็น แต่แทบไร้การใช้งานในช่วงกลางวัน เนื่องจากไม่มีร่มเงากันแดดกันฝน ร้อนมากเลยที่เดียวในยามกลางวัน ต่อมาในปี 2563 สำนักการโยธา กทม. ได้รับอนุมัติจัดสรรงบปี 2562 เป็นเงิน 39 ล้านบาทเพื่อมาปรับปรุงสะพานเขียว โดยปรับปรุงให้มีความร่มรื่น มีความน่าปลอดภัย น่าเดิน สวยงาม และสะดวกขึ้น
ล่าสุดสำนักการโยธาจะของบประมาณปี 2564 จำนวน 260 ล้านบาท ปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางจักรยานเชื่อมระหว่างสวนลุมพินี-สวนเบญจกิติ เพิ่มเติมอีก 300 เมตร รวมเป็นระยะทาง 1.6 กม. คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 โดย กทม.ร่วมมือกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง Urban Design and Development Center (UddC-CEUS) มาช่วยออกแบบ ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เพิ่งให้ความเห็นชอบดำเนินโครงการดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา
และสุดท้ายส่วนหนึ่งของสะพานเขียวให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการเรียนรู้แห่งใหม่ของเมือง โดยออกแบบสะพานเขียวโซนคลองไผ่สิงโตใกล้สวนเบญจกิติและโรงงานยาสูบให้เป็นสวนลอยน้ำแห่งการเรียนรู้ ที่อุดมไปด้วยพืชที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสีย พร้อมจัดวางทางเดินลอยน้ำที่ยืดหยุ่นไปตามระดับน้ำขึ้นลงไม่สม่ำเสมอ เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ของเมืองเรื่องการบำบัดน้ำเสีย และเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมต่อของระบบนิเวศเมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ
บริเวณข้ามทางด่วน
สะพานเขียวในส่วนฝั่งส​วนเบญจกิติ
มัสยิดอินโดนิเซียของชาวมุสลิม
ยามเย็นของสะพานเขียวฝั่่งลุมพินี
ยามเย็นของสะพานเขียวฝั่่งลุมพินี
อ้างอิง
โฆษณา