11 ต.ค. 2023 เวลา 12:28 • สุขภาพ

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับยาละลายลิ่มเลือด: Warfarin

ยาวาร์ฟาริน(Warfarin) จัดเป็นยาละลายลิ่มเลือดชนิดรับประทาน(Oral Anticoagulation:OAC) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในไทย เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีและมีต้นทุนที่ไม่แพง แต่ในทางกลับกัน ยาดังกล่าวเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูงและเกิดอันตรกิริยากับยาหลายชนิด ทำให้ผู้ป่วยที่ใช้ยาดังกล่าวจำเป็นต้องมีข้อควรทราบและควรระวังหลายประการ วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับยาวาร์ฟารินกันครับ
1. วาร์ฟาริน เป็นยาที่มักให้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม โรคลิ้นหัวใจรั่ว/ตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดในปอด
2. วาร์ฟารินสามารถผ่านทางรกได้ และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ไม่ผ่านเข้านำ้ไขสันหลัง และไม่ออกทางน้ำนม
3. ช่วงการรักษาของยาวาร์ฟารินประเมินจากระดับ INR
ค่า INR คนปกติ 0.9-1.1
ค่า INR ของคนรับประทานยา 2.0-3.0
ค่า INR ของคนรับประทานยา แต่มีความเสี่ยงสูงหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 2.5-3.5
หากค่า INR น้อยกว่า 2 แสดงว่า มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย
หากค่า INR มากกว่า 3 แสดงว่า มีโอกาสทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ
4. ผลข้างเคียงของยาวาร์ฟาริน
ผลข้างเคียงหลักๆ(มีอย่างอื่นอีก) ของยาคือภาวะเลือดออกผิดปกติ ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน จ้ำเลือดตามตัว เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกทางทวารหนัก อุจจาระมีสีคล้ำ เลือดออกที่ช่องคลอด ปัสสาวะมีเลือดปน เลือดออกในสมอง เป็นต้น
5. ข้อควรปฏิบัติ
1.หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
2.สวมถุงมือหากต้องใช้อุปกรณ์มีคม
3.ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4.ระมัดระวังการลื่นล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
5.สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
6.หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง
7.หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม
8.แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งว่ารับประทานยาวาร์ฟาริน เนื่องจากยาบางตัวสามารถเสริมฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน(เพิ่มผลข้างเคียงของยา ทำให้เพิ่มภาวะเลือดออกผิดปกติ) แต่ยาบางตัวสามารถต้าน/ลดฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน(ลดประสิทธิภาพยา ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน)
อ้างอิง
โฆษณา