9 ต.ค. 2023 เวลา 03:56 • การตลาด

Emotional Design สื่ออารมณ์ กระตุ้นความรู้สึก

Emotional Design ที่ไมใช่ Emotional Damage!
Emotional Design หรือ การออกแบบทางอารมณ์ เป็น หลักการออกแบบ สินค้าหรือประสบการณ์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึก มี User Experience ที่ดีต่อแบรนด์ อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค
ในชีวิตประจำวันของเรา หลายสิ่งหลายอย่างต่างถูกดีไซน์ภายใต้คอนเซ็ปต์นี้ ทั้งป้ายโฆษณา ภาพกราฟิกบนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือกระทั่งแอปพลิเคชันที่เราใช้งานผ่านมือถือ
ทั้งนี้ ความรู้สึกมีอิทธิพลต่อการทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวของเราเป็นอย่างมาก โดยความรู้สึกแง่บวกนำไปสู่ความชอบและสงสัย ขณะที่ความรู้สึกแง่ลบกระตุ้นให้เราระมัดระวังตัว
ดังนั้น ในการทำการตลาด ความรู้สึกของผู้บริโภคจึงเป็นตัวแปรหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จของแคมเปญ รวมถึงยอดขายสินค้าหรือบริการ
AW 1
ระดับของ การออกแบบทางอารมณ์
คำว่า Emotional Design ถูกใช้โดย Don Norman เป็นคนแรก โดย Don Norman เป็นทั้งอาจารย์ด้านการออกแบบและนักเขียน เขาได้รับการนิยามว่าเป็น “Grand Old Man of User Experience “และเขายังนิยามด้วยว่าคอนเซ็ปต์ดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
  • Visceral Design หมายถึง การออกแบบตามปฎิกิริยาจากภายในใจของผู้ใช้หรือความประทับใจแรกที่มีต่อการออกแบบ เช่น สีโลโก้ User interface ที่ไม่กระจัดกระจาย ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อสร้างความรู้สึกแง่บวกให้กับผู้บริโภค ผ่านองค์ประกอบอย่างสี เสียง รูปทรง รูปร่าง หรือความสวยงาม
  • Behavioral Design หมายถึง ผู้ใช้จะประเมินโดยไม่รู้ตัว ว่าการออกแบบของคุณช่วยให้พวกเขา บรรลุเป้าหมายนั้นโดยง่าย พวกเขารู้สึกพึงพอใจ โดยพวกเขาพยายามแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สร้างความรู้สึกแง่บวกให้ผู้บริโภค ผ่านการออกแบบของสินค้า โดยคำนึง User Experience ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานหรือเป้าหมายของผู้บริโภค
  • Reflective Design หมายถึง หลังจากที่พวกเขาพบการออกแบบของคุณ ผู้ใช้จะพิจารณาประสิทธิภาพและประโยชน์จากการใช้งานการออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดี รวมถึงความคุ้มค้า สร้างความรู้สึกแง่บวกให้ผู้บริโภค พวกเขาจะใช้ซ้ำ ผูกพันทางอารมณ์ และทำการบอกต่อเพื่อนๆของเขา
สามารถอ่านต่อได้ที่ link The TEPCO ด้านบนนี้เลย
โฆษณา