9 ต.ค. 2023 เวลา 14:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

โอกาสทางเศรษฐกิจภาคเหนือจากการเข้ามาของ Digital nomad

ตั้งแต่การแพร่ระบาด COVID-19 จะเห็นว่ากระแสการเดินทางของกลุ่ม Digital nomad เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและคาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเร่งตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งประเทศไทยนับเป็นเป้าหมายการเดินทางสุดฮิตของนักเดินทางกลุ่มนี้ และติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะพื้นที่ในหลายจังหวัดของภาคเหนือ ซึ่งการเข้ามานี้จะช่วยสร้างการกระจายตัวในกลุ่มนักท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งการท่องเที่ยวในระยะยาว
2
ประเด็นที่น่าสนใจ อะไรคือเสน่ห์ของภาคเหนือในการดึงดูดนักเดินทางกลุ่มดังกล่าว ภาคเหนือจะรักษาเสน่ห์นี้และสร้างโอกาสให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างไร
1
บทความนี้ขอช่วยถ่ายทอดมุมมองจากการรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์นักวิชาการ และกลุ่ม Digital nomad รวมทั้งถอดบทเรียนจากต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่แนวทางเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม เปิดรับโอกาสและรับมือกับความท้าทายจากการเข้ามาในภูมิภาคของ Digital nomad ได้อย่างยั่งยืน
1. ทำความรู้จัก Digital nomad
 
Digital nomad คือ ใคร บุคคลหรือกลุ่มคนทำงานที่ใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ และรักการเดินทาง ใช้ชีวิตในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยรับรายได้จากนอกประเทศที่ทำงาน เช่น พนักงานทำงานแบบ work from anywhere เจ้าของธุรกิจที่ดำเนินกิจการผ่านทางออนไลน์ รวมไปถึง content creator ใน platform online ต่างๆ เป็นต้น
1
2. ประเทศไทย และภาคเหนือถือเป็นจุดมุ่งหมายอันดับต้นๆ ที่ชาว Digital nomad ทั่วโลกให้ความสนใจ
 
ไทยถือว่าเป็นประเทศที่ Digital nomad สนใจเยี่ยมเยือนอันดับต้นๆ ของโลก โดยกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายที่ได้รับความสนใจติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก จากการจัดอันดับของหลายสำนัก โดยต้อนรับชาว Digital nomad กว่า 12,200 คน
1
รองลงมาคือ เชียงใหม่และภูเก็ต ยังติดอันดับที่ 16 และ 56 ของโลก ตามลำดับ ทั้งนี้ Digital nomad สร้างรายได้ให้ 3 เมืองยอดนิยมในไทยกว่า 1.7 พันล้านบาทต่อเดือน3/ หรือ คิดเป็น 5% ของรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติใน 3 จังหวัด
1
หากกลับมามองในพื้นที่ภาคเหนือ เชียงใหม่ติดอันดับ 3 ของโลก เมืองที่เหมาะกับทำงานแบบไร้ออฟฟิศ2/ และอันดับที่ 16 ของโลก เมืองที่ Digital nomad ให้ความสนใจ1/ เนื่องจาก …
1. ค่าครองชีพไม่สูงมาก 2. มีความปลอดภัย 3. โครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ดี
4. มีโอกาสในการต่อยอดทำธุรกิจ 5. คุณภาพโรงพยาบาลดี 6. มีอากาศที่อบอุ่นตลอดทั้งปี
โดย Digital nomad มักใช้เชียงใหม่ เป็น hub ในภาคเหนือ เก็บสัมภาระเพื่อเดินทางไปยังจังหวัดใกล้เคียงอื่น นอกจากนี้ ในระยะถัดไปตามแผนระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) ที่จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจภาคเหนือผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่มดิจิทัล
คาดว่านโยบายดังกล่าวจะเพิ่มแรงดึงดูด Digital nomad ในพื้นที่ขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเฉพาะในพื้นที่ ที่ทำให้พื้นที่ลดความน่าสนใจลง อาทิ คุณภาพอากาศที่ไม่ดีในบางช่วง (หมอกควัน) ความอันตรายบนท้องถนน และทักษะด้านภาษาต่างชาติของคนในท้องถิ่น ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขข้อจำกัดข้างตันได้ ก็จะช่วยพัฒนาความน่าสนใจของพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นอีก
1
ที่มา : 1/ 63 Surprising Digital Nomad Statistics [Analysis Updated for 2023] by A Brother Abroad และ How Much Money Does A Digital Nomad Need Each Month? By NomadTalk.NET
2/ abrotherabroad.com และ 63 Surprising Digital Nomad Statistics [Analysis Updated for 2023] by A Brother Abroad 3/ Nomadlist.com as of 15 Sep 2023
หมายเหตุ : คำนวณโดยคณะผู้จัดทำ ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 ธ.ค. 2565 34.545 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
3. ผลต่อพื้นที่จากการเข้ามาของ Digital nomad
 
จากการถอดบทเรียนในต่างประเทศ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พบว่า การเข้ามาของ Digital nomad ทำให้เกิดผลดีต่อประเทศเจ้าบ้าน (Host country) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้ …
4. ข้อเสนอแนะเพื่อดึงดูด Digital nomad และแนวทางสร้างโอกาสให้กับพื้นที่
ทั้งนี้ เนื่องจากผลของนโยบายสนับสนุนการเข้ามาของ Digital nomad ยังไม่แน่ชัด ทางการสามารถจัดทำพื้นที่ทดลอง หรือ“Sandbox” เพื่อติดตามผลของมาตรการและการเข้ามาของ Digital nomad ก่อนได้ เช่น การทดลองให้ VISA ที่เงื่อนไขยืดหยุ่นมากขึ้น การเพิ่มความสะดวกในการต่อ VISA การสร้างพื้นที่ให้สิทธิการลงทุนพิเศษสำหรับดึงดูด Digital nomad เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้ ท้องถิ่นได้ประโยชน์มากที่สุดควรมีแนวทางเพิ่มโอกาสให้กับพื้นที่ดังนี้ …
1
ขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอแนะ
•ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•ดร.กรวรรณ สังขกร หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•ดร.มานิศา ผิวจันทร์ อาจารย์ภาควิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•คุณมาร์ติน เฟ็นสกี้-สตาล์ลิ่ง ที่ปรึกษาอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
•คุณ John Ho, Co-founder, Alt_Chiang Mai
•ดร.กอบกิจ อิสรชีววัฒน์ รองประธานกรรมการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
•คุณปรกฤษฏิ์ สายหัสดี กรรมการเลขาธิการ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
“บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย”
ผู้เขียน : รสสุคนธ์ ศึกษานภาพัฒน์ | ศรันยา อิรนพไพบูลย์ | พิทยาภรณ์ หลานคำ สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฆษณา