ยกตัวอย่าง เมนูออลอินวันบักเก็ต A ราคา 300 บาท แต่ออลอินวันบักเก็ต B ราคา 299 บาท ความรู้สึกหรืออารมณ์การตัดสินใจของคนจะเปลี่ยนไป แม้จะต่างกันเพียง 1 บาท แต่เหตุผลก็แตกต่างมหาศาล มันคือการลด Pain of Payment หรือความเจ็บปวดในการใช้จ่าย ซึ่งทำให้ลูกค้าแฮปปี้ ตัดสินใจง่ายขึ้น และดีมากขึ้นที่สินค้าถูกลง แถมยังช่วยกระตุ้นยอดขายที่เพิ่มขึ้น
4. เบื้องหลังของข้อความและตัวอักษรอันทรงพลัง
พลังของ The Power of Storytelling เป็นที่รู้จักกันดีในด้านจิตวิทยาการตลาด คำที่เราเห็นผ่านสโลแกน หรือแคมเปญสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภค และทำให้ลูกค้ารู้สึก ‘อิน’ มีอารมณ์ร่วม กระตุ้นให้ลูกค้าสามารถคล้อยตามและปิดการขายได้
จะเห็นเลยว่าทุกแบรนด์มีความแตกต่างของการใช้ Powerful Words แต่เพราะความแตกต่างนั้นจึงส่งผลให้แบรนด์มีคาแรกเตอร์ที่ชัดเจน และแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่แบรนด์เหล่านี้ทำอยู่เสมอ
โดยการกระตุ้นให้คนเราทำอะไรบางอย่างเพราะกลัวว่าจะเสียบางสิ่งไป โดยเบื้องหลังนี้เกิดจากคุณ Sam Tatam นักยุทธศาสตร์ด้านพฤติกรรมจาก Ogilvy UK โดยความท้าทายนี้ Sam และทีมงานของเขาที่ Ogilvy Australia ได้เริ่มจากการปล่อยขาย ‘เฟรนช์ฟรายส์มูลค่า 1.00 ดอลลาร์เท่านั้น!!’
โดย Sam Tatam นักยุทธศาสตร์ด้านพฤติกรรมจาก Ogilvy UK ได้กล่าวว่าการใช้เทคนิค Anchoring Effect เป็นการกำหนดปริมาณเพื่อให้รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนสามารถซื้อ เฟรนช์ฟรายส์มูลค่า 1.00 ดอลลาร์ ได้จำนวนจำกัดมากสุดเพียง 4 ชิ้นเท่านั้น
1
สิ่งที่น่าสนใจของเทคนิคคือ Sam Tatam ได้ใช้ข้อความ ‘A deal so good you can only buy four’ ไว้ตั้งแต่การโปรโมทหลัก เพราะแบรนด์ส่วนใหญ่มักชอบซ่อนเงื่อนไขไว้ในอักษรเล็ก ๆ หรือไว้บรรทัดล่าง ๆ ไม่ทำให้โดดเด่น เหตุผลที่ต้องโชว์ข้อความใหญ่ ๆ นี้ก็เพื่อแสดงถึงความจริงใจ ความชัดเจนกันแบบตรงไปตรงมา โดยใส่ไว้ในข้อความใหญ่ ๆ เด่น ๆ ไว้เป็นบรรทัดแรก ๆ ซึ่งสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และลูกค้าส่วนใหญ่ก็เข้าใจ น้อยคนที่จะเกิดคำถาม และซื้อจำนวนเพียง 4 ชิ้นเท่านั้น