9 ต.ค. 2023 เวลา 14:27 • ไอที & แก็ดเจ็ต

7 ทักษะของคนไอทีที่ต้องเร่งพัฒนาถ้าอยากจะก้าวหน้าที่กำลังมาถึงในปี 2024

นาทีนี้ไม่มีอะไรมาแรงไปกว่าอาชีพด้านไอที เพราะโลกที่หมุนอย่างรวดเร็วจะการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง เรียกได้ว่าเราได้เปลี่ยนผ่านจากยุคอนาล็อกเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างสมบูรณ์มาหลายปีแล้ว และโลกยุคดิจิทัลนี้เองที่ทำให้ตลาดแรงงานต้องปรับตัวให้ทัน ไม่เว้นแม้แต่คนทำงานสายไอทีที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี
แม้ว่าคนทำงานสายไอทีจะถูกมองว่าเป็นแรงงานที่จะอยู่รอดในยุคดิจิทัล แต่ถ้าหากไม่รู้จักปรับตัวก็อาจจะล้าหลังได้ไม่แพ้อาชีพอื่น เพราะทักษะไอทีหลายอย่างที่เคยถูกมองว่า “ใหม่” เมื่อหลายปีก่อนกลับกลายมาเป็นทักษะพื้นฐานที่คนทำงานด้านไอทีจำเป็นต้องมีไปซะแล้ว
ทักษะของคนไอที
Randstad Sourceright ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคลระดับชั้นน้ำของโลก ได้สรุปรายงานเรื่องทักษะด้าน IT ที่มาแรงในปี 2023 จากการศึกษาข้อมูลจากตลาดแรงงานกว่า 26 ประเทศ และผ่านทางการสังเกตความเปลี่ยนแปลงความต้องการในตลาดแรงงานบนเว็บไซต์จัดหางานขึ้นชื่ออย่าง LinkedIn, World Economic Forum, Gartner และ ZDnet
ซึ่งได้ผลสรุปออกมาว่าทิศทางตลาดแรงงานมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน และมี 7 ทักษะด้านไอทีที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในช่วงปี 2023 ดังนี้
1. Cloud Computing
หลายคนอาจรู้จัก Cloud Computing ผ่าน Google cloud หรือ iCloud จากค่าย Apple แต่จริง ๆ แล้วเทคโนโลยี Cloud Computing นั้นล้ำมากกว่าการใช้เป็นที่เก็บรูปหรือแชร์ไฟล์เท่านั้น เพราะ Cloud Computing เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้จัดเก็บและจัดการการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ซึ่งสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานและทำธุรกิจไปได้อย่างสิ้นเชิง สร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพไปจนถึงเพิ่มความรวดเร็วในการส่งต่อข้อมูล หรือติดตามการทำงานให้อย่างมีระบบ และยังเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลรักษาข้อมูลที่เป็นความลับสำคัญของบริษัทให้ปลอดภัยในระดับสูงได้ด้วย
อาชีพที่ต้องมีทักษะด้าน Cloud Computing ในระดับเชี่ยวชาญก็คือ Cloud solution engineer ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้าน Cloud Technology รวมถึง Cloud Security ในระดับสูง อาชีพนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานทั่วโลกอีกด้วย
2. Artificial Intelligence
ตลาดซอฟท์แวร์ด้าน AI และ NLP engineer มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากประมาณ 33% ขึ้นไปถึง 50% เลยทีเดียว ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าเทคโนโลยี AI และ NLP มีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาให้ฉลาดแะตอบคำถามได้ดีกว่าเดิมจากความสามารถในการวิเคราะห์ได้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าองค์กรหลายแห่งเริ่มนำเทคโนโลยี AI มาใช้ตอบคำถามลูกค้าผ่าน ChatBot
ซึ่งแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน AI เป็นที่ต้องการอย่างมาก จากรายงานของEmsi Burning Glass ที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากโพสต์หางานทั่วสหราชอาณาจักร
ระบุว่างานที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้าน AI จะเพิ่มขึ้นถึง 297% ภายใน 2 ปีนี้ และใน 12 เดือนที่ผ่านมา มีโพสต์หางานด้าน AI กว่า 142,346 โพสต์
แต่สหราชอาณาจักรกลับมีแรงงานที่เชี่ยวชาญด้าน AI อยู่ที่เพียง 11.8% เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ เรียกได้ว่าหากมีทักษะด้าน AI แล้วอยากย้ายไปทำงานที่อังกฤษจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
3. Machine Learning
เมื่อมีเทคโนโลยี AI แล้วสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือทักษะด้าน Machine Learning ที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของ AI เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่จะทำให้ AI ฉลาดขึ้น สามารถตอบสนองต่อคำสั่งที่ซับซ้อน รวมไปถึงมีวิธีการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning
ซึ่งทักษะนี้สามารถพบได้ในคนที่ทำอาชีพ Machine Learning Engineer หรือหากใครอยากเข้ามาทำอาชีพนี้ก็ต้องไปเรียนรู้ภาษาอย่าง Python, SQL, Java และ C++ พร้อมกับฝึกโปรแกรมและเครื่องมืออื่น ๆ เช่น TensorFlow, R Programming และ Apache Kafka เพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นแต้มต่อในการทำงาน
4. Data Science
“Data is the oil” คือวลีเด็ดที่ใช้อธิบายความสำคัญของทักษะ Data Science ได้เป็นอย่างดี เพราะเดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ต้องการข้อมูลมาใช้เพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจธุรกิจกันทั้งนั้น TechRepublic ระบุว่าในปี 2019 Data Scientist ถูกจัดให้เป็นอาชีพที่ดีที่สุดจาก LinkedIn และ Glassdoor รายได้ของอาชีพนี้ในสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราสูงถึง 110,612 ดอลล่าเลยทีเดียว
นอกจาก Data Scientist ต้องมีความรู้ด้านภาษา Python, R และ SQL เป็นหลักแล้ว ยังจะต้องมีความเข้าใจทางด้านธุรกิจ และมีทักษะการทำ Data Visualization เพื่อให้สามารถถ่ายทอดข้อมูลให้ครบถ้วนและเข้าใจง่ายด้วย
5. Mobile Application Development
อวัยวะที่ 33 ของคนยุคนี้คือ โทรศัพท์มือถือ สิ่งที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนทุกช่วงวัยไปแล้ว จากการสำรวของ Pew Research ในประเทศเกาหลีใต้พบว่ากว่า 100% ของประชากรมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง ซึ่งมากกว่าประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ที่มีอัตราการเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือกว่า 90% จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะในประเทศไหน ๆ ใคร ๆ ก็มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น
ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต่างพากันพัฒนา Application เพื่อใช้ดึงดูดลูกค้าและช่วงชิงโอกาสทางธุรกิจกันอย่างไม่มีใครยอมใคร
ทักษะที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นอย่าง การออกแบบ UX/UI การพัฒนาแอปข้ามแพลตฟอร์ม Backend Computing, Frontend Developer, หรือแม้แต่ Infrastructure Architect เป็นทักษะจำเป็นของคนอาชีพนี้ เราขอพ่วงทักษะความเข้าใจธุรกิจเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้คุณเติบโตในสายงานนี้อย่างก้าวกระโดด
6. IOT Technology
IOT หรือที่ย่อมาจาก Internet of Things คือ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านอินเตอร์เน็ต เราขอยกตัวเองเป็นอุปกรณ์ภายในบ้าน อย่างเช่นหลอดไฟ ทีวี หรือเครื่องปรับอากาศ ที่สามารถสั่งให้เปิด ปิด จากมือถือผ่าน IOT Technology และนี่เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าการเป็นฉากในหนัง Sci-Fi แล้ว ทำให้เทคโนโลยี IOT ถูกขนานนามให้เป็น The Next Big Thing
โดยรายงานของ Accenture มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2024 จะมีตัวเลขของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันได้ถึง 4 หมื่นล้านอุปกรณ์ สมทบด้วยรายงานของ Statista ตัวเลขนี้จะสูงถึง 7 หมื่นล้านภายในปี 2025 ทำให้วิศวกรไปจนถึง Developer ที่มีทักษะนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
7. Blockchain
Blockchain คือ เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบไม่มีตัวกลาง ที่กลายมาเป็น Solution ใหม่ที่ช่วยจัดการแก้ปัญหาด้านความไม่โปร่งใสและลดขั้นตอนที่ต้องผ่านคนกลาง โดยที่เทคโนโลยี Blockchain เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากการทำธุรกรรมการเงิน เพราะ Blockchain สร้างการลงทุนแบบใหม่ที่เรียกว่า Cryptocurrency ที่มาแรงแซงทางโค้งแบบที่อะไรก็มาหยุดไว้ไม่อยู่
ด้วยแนวโน้มการลงทุนใน Cryptocurrency มีท่าทีที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี Blockchain จึงสูงตามไปด้วย
จากรายงานของ Glassdoor งานที่เกี่ยวกับด้านนี้เติบโตขึ้นสูงถึง 300% ในปี 2019 และทักษะที่ Blockchain Developer ต้องมี ได้แก่ ความรู้ด้าน Data Structure, Smart Contracts, Cryptography, Blockchain Architecture
และความสามารถในการทำงานข้ามแพลตฟอร์ม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้ตอบโจทย์ธุรกิจให้ดีกว่าเดิม
เครดิตที่มา : #https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article
#jobsdb
โฆษณา