10 ต.ค. 2023 เวลา 02:36 • ปรัชญา
ประเทศไทย
1. เราควรต้องไล่จากหลักก่อนค่ะ โดยแยกหาที่มาระหว่าง 2 คำ คือคำว่า "ความดี" เป็นภาษาไทย และคำว่า "บุญ" ยืมมาจากภาษาบาลี (ปุญฺญ) และสันสกฤต (ปุณฺย) หากอิงความหมายที่ราชบัณฑิตยสถานให้ไว้ คำว่า "บุญ" หมายถึง "การกระทำความดี ตามหลักคำสอนในศาสนา" ดังนั้น ในแง่นี้ คำว่า "ความดี" จึงเป็นคำขยาย คำว่า "การกระทำ" และหากการกรทำความดีนั้น เป็นไปตามหลักคำสอนในศาสนา ก็จะเรียกว่า "บุญ"
2. ด้วยคำอธิบายข้างต้น มันจะสามารถใช้ได้กับทุกศาสนา โดยไม่แบ่งแยกว่าศาสนาใด แต่ด้วยเหตุที่ ไทยเรานั้น ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติมานับแต่อดีต คำศัพท์ต่างๆ จึงมีรากที่มาจากบาลีและสันสกฤ นั่นเองค่ะ
3. โดยสรุป หากมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ มีกริยาคือ "การกระทำ" และมีคำวิเศษณ์ขยายคือ "ความดี" และ "การกระทำความดี " นั้น "เป็นไปตามหลักคำสอนทางศาสนา" ก็จะมีผลให้เป็น "บุญ"
มนุษย์นั้นถูกกำหนดจากความไม่ชัดเจนด้วยกันทุกคน
ตั้งแต่แรกคลอด ก็ไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม
และเมื่อต้องใช้ชีวิต ก็มีแต่ความไม่แน่นอน
แต่ละศาสนาจึงนับเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว
เพื่อให้ผู้คนมีหลักในการดำเนินชีวิตนั่นเองค่ะ
โฆษณา