10 ต.ค. 2023 เวลา 03:07 • ความคิดเห็น
ทัศนะดิฉัน กลับมองว่าพระอาจารย์ท่านพูดไม่ได้ผิดตรงไหน แต่ที่สุดแล้วผู้ฟังนั่นเอง ที่ได้แต่ฟัง ไม่ได้ถามท่านกลับไปว่า คำว่า "ดูความรู้สึก และพ้นทุกข์ได้นั้น คืออย่างไรเล่า? จึงเกิดภาษาปากเสียดสีเอาว่า "สักแต่ฟัง!" โปรดสังเกตว่าบทสนทนาระหว่างตถาคตและพระภิกษุ ในพระไตรปิฎก จะไล่ถาม เพื่อสอบทานกันไปมาโดยละเอียดลึกซึ้ง จนกว่าจะ "สิ้นสงสัย" คือซักไซร้จนไม่เหลือความสงสัยใดเลย (วิจิกิจฉา จึงเป็นสังโยชน์ที่ละได้ยากมาก ถึงมากที่สุด)
คำว่า "ดูความรู้สึก" ไม่ใช่เป็นการเอาตาเนื้อไปดูที่ความรู้สึก เพราะความรู้สึกเป็นนาม ไม่ใช่รูป ความรู้สึก เช่น โมโห โกรธ หงุดหงิด เสียใจ ดีใจ คือ "การรู้ให้ไวและรวดเร็วที่สุด" ว่า ณ ขณะนั้น "โกรธ"
แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้น คือ "โกรธแล้วชักปืนยิงใส่ทันที!" และแน่นอน เมื่อยิงไปแล้วทุกข์ย่อมตามมา แต่หาก "โกรธแล้ว รู้ว่าโกรธ แล้วสงบระงับเสียได้ ไม่ชักปืนยิงออกไป" ทุกข์ก็ล่วงพ้นไปชั่วคราว แต่ก็ต้องไม่ลืม กฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทันที่ที่โกรธ รู้ว่าโกรธ และสงบระงับ จากนั้นคลายโกรธ จากนั้น ก็อาจกลับมาโกรธใหม่ได้อีก เมื่อมีเหตุปัจจัยให้หวนคิดถึงเหตุการณ์นั้นๆ เพราะมนุษย์ยังคงต้องเวียนว่ายตายเกิด จนกว่าจะไม่มาเกิดอีกนั่นเองค่ะ
ที่ไล่มาทั้งหมด เมื่อลองปฏิบัติดู
จะพบว่ามันยากมากค่ะ ไม่ได้ง่ายตรงไหน
ปกติเมื่อโกรธ ก็ไม่พ้นเขวี้ยงปาข้าวของแตกกระจาย
เมื่อข้าวของแตก จึงตระหนักได้ว่า
ถ้วยหยำฉ่าหยกของแม่ อายุกว่า 100 ปี แตกเสียแล้ว!
โฆษณา