10 ต.ค. 2023 เวลา 05:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ตัวทวีที่ไม่ค่อยทวี

อีกหนึ่ง paper ของ IMF ที่ยืนยันว่า Fiscal Multiplier ของการแจกเงินนั้นมันต่ำมากๆ (โดยเฉพาะใน EU) และช่วยเพิ่ม GDP ใน short-term ได้น้อย โดยเฉพาะในยุโรป
ส่วนในไทย IMF พบว่า การใช้จ่ายภาครัฐ (G) กลับส่งผลลบกับเศรษฐกิจเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะในระยะยาว และในกรณีที่ระดับหนี้สินต่อ GDP อยู่ในระดับสูง
ใน paper นี้ได้พูดถึงปัจจัยที่มีส่งผลกระทบกับ multiplier ซึ่งได้แก่
- ความเสรีในการนำเข้าส่งออก
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ และพึ่งพาตัวเอง หรือกีดกันการนำเข้า มีแนวโน้มที่จะมีตัวทวีสูง ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าสูง จะมีค่านี้ต่ำ
- อำนาจต่อรองของภาคแรงงาน
ประเทศที่มีตลาดแรงงานที่แข็ง มีสหภาพที่มีอำนาจมาก หรือมีกฎหมายที่สนับสนุนแรงงาน จะมีค่าตัวทวีสูงกว่า เพราะ output shock จากการใช้จ่ายเพิ่มเติมจะทำให้แรงงานมีอำนาจในการต่อรองค่าแรงเพิ่มขึ้น
- ขนาดของ automatic stabilizers
ถ้ารัฐมีกลไกในการควบคุมเศรษฐกิจแบบอัตโนมัติ (เช่น ระบบประกันสังคมที่จ่ายเงินให้กับคนตกงาน หรือ ระบบภาษีก้าวหน้า) ยิ่งมาก ตัวทวีจะยิ่งน้อย
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
ยิ่งประเทศมีการเปิดเสรีให้เงินเข้าออกมากเพียงไร ตัวทวีจะยิ่งน้อย เนื่องจากเงินจะไหลเข้าออกประเทศตามกลไกธรรมชาติ ทำให้เงินที่รัฐจ่ายออก ไหลออกไปข้างนอกอัตโนมัติ หรือไม่ก็กลไกอัตราแลกเปลี่ยนจะอ่อนค่าลง ประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการนำเข้าในราคาที่สูงขึ้น
- หนี้สิน
ประเทศที่มีหนี้อยู่ในระดับที่สูง จะมีค่าตัวทวีต่ำ เพราะนักลงทุน และประชาชนไม่เชื่อมั่นฐานะของประเทศ จนบางครั้งตัวคูณอาจจะติดลบได้เลยทีเดียว
- ความสามารถในการจัดเก็บภาษี และการเบิกจ่ายของรัฐ
ประเทศที่มีความสามารถในการจัดเก็บภาษีต่ำ หรือมีปัญหายุ่งยาก/ทุจริตในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณมักจะมีค่าตัวทวีต่ำ
อ้างอิง :
โฆษณา