10 ต.ค. 2023 เวลา 15:00 • ประวัติศาสตร์

DNA เขมรคล้ายคลึงกับชนเผ่า(tribe) ที่เกาะชวาและเกาะบอร์เนียวเช่นเดียวกับชาวจาม

ชนชาติในคาบสมุทรอินโดจีนส่วนใหญ่จะพูดภาษาตระกูลไต(ไท) นับตั้งแต่ลาว ไทยใหญ่ ไทยอาหม เวียดนามตอนเหนือบางส่วน จนถึงตอนใต้ของจีน พวกจ้วง สิบสองปันนาพวกนี้ก็เป็นชนชาติที่พูดภาษาตระกูลไต (ไทย) เช่นเดียวกัน ยกเว้นเวียดนามอันนี้ภาษาของเขาก็เหมือนกับภาษาจีนจนแยกไม่ออกอยู่แล้ว ทั้งหน้าตา การแต่งกาย ฯลฯ ยกเว้นเขมร แขกจามที่เป็นชนกลุ่มน้อยในเวียดนามที่ไม่พูดภาษาตระกูลไตเหมือนเพื่อน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักชนชาติจามปาและเขมรกันว่ามีความเป็นมาเป็นไปในคาบสมุทรอินโดจีนกันได้อย่างไร
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าอินเดียคืออู่อารยธรรม ในอดีตก็มีการค้าขายทางเรือกับจีนผ่านทางช่องแคบมะละกาและนำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธแบบมหายานมาเผยแพร่ นอกจากนั้นก็มีแบบแผนการปกครอง ศิลปะ การช่าง และวิทยาการต่าง ๆ เข้ามาสร้างความเจริญ
ที่ชวาด้วย ในสมัยนั้นชวาคืออาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรจามปามีความเจริญรุ่งเรืองราวปี พ.ศ. 743 สันนิษฐานว่าบรรพบุรุญของเขาเป็นชาวทะเลใต้ จึงชาติพันธุ์ที่มีภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มชาติพันธุ์ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ภาษานี้ก็อยู่ในฟิลิปปินส์บางส่วนด้วย
จามปาเป็นอาณาจักรร่วมสมัยกับฟูนัน ฟูนั้นก็มีเชื้อสายมลายูเหมือนกัน แต่ชนพื้นเมืองฟูนันก่อนหน้านั้นนับถือโลกธาตุ ผีสางเทวดา ก่อนที่พราหมณ์-ฮินดูจะแพร่เข้ามา ฟูนันก่อตั้งอาณาจักรราวปี พ.ศ. 600 และล่มสลายไปราวพุทธศตวรรษที่ 11 เนื่องจากถูกอาณาจักรเจนละโจมตีและผนวกเอาฟูนันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร
ว่ากันว่าชาวจามแต่เดิมโยกย้ายมาจากชวา และเกาะบอร์เนียว ดังนั้นจึงมีความสามารถเดินเรือและค้าขายไปตามหมู่เกาะ ไกลถึงแถบตะวันออกกลาง รวมถึงประเทศจีน
คราวนี้พอจะไปค้าขายกับจีนจากอินโดนีเซียก็จะต้องล่องเรือสำเภาขึ้นไปจีน โดยอาศัยกลมตะวันตกพัดสำเภาขึ้นไปส่งที่จีน ซึ่งลมนี้จะพัดอยู่ประมาณ 4 เดือน แต่ไม่ยังเดินทางไปไม่ถึงจีน หมดลมมรสุมก่อนเป็น จึงจำเป็นต้องพักสินค้าบริเวณเมืองดานังก่อน ก่อนจะเดินทางไปที่จีนอีกที ซึ่งเมืองท่าที่ชาวจามปาใช้พักสอนค้านี้คือเมืองบิญดิ่ญในตอนกลางของเวียดนาม ในระหว่างพักสินค้านี้ชาวจามก็ถือโอกาสเผยแพร่วัฒนธรรม ศานาก็เลยไปถึงแต่งงานกับคนพื้นเมืองและสร้างชุมชนขึ้นที่นั่น และส่งต่อวัฒนธรรมไปทั่วอุษาคเนย์
การสร้างชาติของชาวจามมีเหตุปัจจัยหลายประการ แต่หลัก ๆ ก็คือการค้า มีพ่อค้าชาวจีนมาซื้อสินค้าที่เมืองจาม เช่น ช้าง ม้า ผ้าไหม ไม้หอม เครื่องเทศ เครื่องปั้นดินเผา ในขณะเดียวกันกษัตริย์จามก็สนับการค้า ทำให้อาณาจักรจามมีความมั่งคั่ง
อาณาจักรจามมีการทำสงครามอยู่บ่อยครั้ง ในช่วงแรก ๆ ก็ทำสงครามกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทางขอม ซึ่งชาวจามมักได้รับชัยชนะและรักษาอาณาจักรของตนไว้ได้ทุกครั้ง
ทว่านับตั้งแต่ ค.ศ. 1170 เป็นต้นมา อาณาจักรจามเริ่มอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และเริ่มทำศึกสงครามแพ้ทางขอม แต่ศัตรูของชาวจามก็ไม่ได้มีแค่ขอมเท่านั้น เพราะในช่วงเวลานั้นทางเวียดนามก็กำลังแพร่อิทธิพลลงมาเรื่อย ๆ กระทั่งเริ่มเข้ายึดครองดินแดนของจาม ทำให้ชาวจามต้องละทิ้งเมืองอินทรปุระ (Indrapura) อันเป็นเมืองหลวงเก่าแก่แห่งแรกของจาม (ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของเวียดนาม) แล้วหลบหนีไปตั้งเมืองหลวงใหม่ทางตอนใต้ที่เมืองวิชายะ (Vijaya) (บริเวณใกล้ชายแดนกัมพูชา)
ปราสาทจาม แถวเวียดนามใต้
ราว พ.ศ. 989 กองทัพจีนยกทัพมาตีราชธานีวิชัยของจามปาได้สำเร็จ ช่วงนี้ชาวจีนที่มีชื่อ หม่าตวนหลิน (馬端臨) เข้ามาบันทึกเรื่องชาวหลินอี้ (ชาวจาม) ความว่า "...ชาวจามนัยน์ตาลึก ผมหยิก จมูกโด่ง สร้างบ้านด้วยอิฐฉาบปูน หญิงชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกายเรียกว่า 'กิเป' เกล้าผมขึ้นสูงบนศรีษะลักษณะเหมือนกับชาวอินเดีย ชอบเจาะหูและห้อยห่วงเหล็ก ผู้ดีใส่รองเท้าหนัง ไพร่เดินเท้าเปล่า พระราชาสวมพระมาลาทรงสูง ทรงช้างและล้อมรอบด้วยบริพารถือธงและกลดกั้น"
เนื่องจากการล่มสลายของอาณาจักรเจนละ เพราะเกิดความวุ่นวายภายใน เจนละถูกแยกออกเป็นเจนละบก และเจนละน้ำโดยพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ได้รวบรวมดินแดนที่เหลือไปสร้างเป็นอาณาจักรเจนละน้ำหรือ "เขมร" ส่วนชวา(ศรีวิชัย)เข้ามามีบทบาทตอน เจนละเกิดความวุ่นวาย ชวาเลยอาศัยตอนที่เจนละเกิดความวุ่นวายทำสงครามเอาชนะเจนละได้ เจนละเป็นเมืองขึ้นของชวา ราวปี พ.ศ. 1,333 และเจนละน้ำเองก็ถูกผนวกเข้ากับชวาได้หลังจากที่ทำสงครามกันมาราวสามสิบปี
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัดจะมาจากชวาหรือไม่ ไม่มีใครรู้ แต่ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือ พระเจ้าสุริยวรมันมันที่ 2 เคยเสด็จไปประทับอยู่ชวาด้วยในฐานะตัวประกันเมืองประเทศราช และศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาที่นั่น
เมื่อกลับมาจากชวาราวพุทธศตวรรษที่ 15 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ภูเขามเหทรบรรพตหรือพนมกุเลน ประกาศเอกราชจากชวา (ราวปี พ.ศ. 1656 พระเจ้าสุริยวรมันขึ้นครองราช)
นครวัดนั้นถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรตที่ 17 ใช้แรงงานเกณฑ์คนหลายแสนคนในการขนหินชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลนซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร ใช้เวลาในเวลาในการแกะสลักถุง 40 ปี ใช้เงินและแรงงานทาสจำนวนมหาศาลในการตัดหินและขนหิน งบประมาณการก่อสร้าง  ผลิตผลการเกษตรต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงแรงงาน  และไพร่ ทาส บริวารอีกมากมาย ซึ่งหมายถึง การทุ่มเทเลือดเนื้อ หยาดเหงื่อ และชีวิตของพวกเขาด้วย
ลองจินตนาการดูว่าจะต้องมีแรงงานทาสและเชลยศึกจำนวนมากเท่าไหร่จึงจะสามารถเนรมิตรนครวัดที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกขึ้นมาได้ นี่ยังไม่นับรวมนครธมและปราสาทอีกมากมายทั่วดินแดนเขมร
อย่างไรก็ดี ตอนปลายรัชกาล ทัพที่พระองค์ส่งไปรบตังเกี๋ยประสบความพินาศย่อยยับ งานก่อสร้างอันมโหฬารและนโยบายรบอันบ้าบิ่นของพระองค์ ทําให้อาณาจักรเขมรเมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว ต้องจมสู่ห้วงแห่งความทุกข์ยากไปเป็นเวลานาน
ในบันทึกของโจวต้ากวานกล่าวไว้ว่า "สภาพสังคมขอมในเวลานั้น เขาซื้อทาสหรือพวกคนป่าเถื่อนมาทำงานเป็นคนใช้
บางครอบครัวมีทาสมากกว่า 100 คน
พวกทาสจะเป็นอีกชนชาติหนึ่งต่างหาก
เขาจะนั่งและนอนเฉพาะที่ใต้ถุนบ้านเท่านั้น ถ้าหากทำผิดจะถูกเฆี่ยน พวกทาสก็จะก้มศรีษะลงโดยไม่กล้าเคลื่อนไหวอย่างใดเลย"
ตามประวัติศาสตร์การค้าทาสไม่ได้มีเฉพาะทาสผิวดำที่พวกสเปน อาหรับเอามาขายให้แก่จีน สมัยราชวงศ์ซ่งเท่านั้น ก่อนหน้านี้สมัยราชวงศ์ถังก็มีการขายเป็นทาสผิวดำจากมลายู ชวา ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะทะเลใต้ต่าง ๆ รวมถึงสยามด้วย เรียกว่า ทาสคุนหลุน(崑崙奴) คุนหลุน(崑崙) หมายถึง ดินแดนในพื้นที่คาบสมุทรมลายู เราอาจจะได้ยินเรื่องทาสในวรรณกรรมพื้นบ้านของจีนมาบ้าง เช่น Kunlun n (อ่านว่า คุนหลุน หนู) แปลว่า "เงาะทาส" ที่มีเชื้อสายเป็นเนกริโต หรือบทละคร เรื่อง "ทาสคุนหลุนกลายเป็นอมตะได้อย่างไร"
แม้แต่ในภาพยนตร์เรื่อง The promise ที่แปลเป็นชื่อไทยว่า "คนม้าบิน" ก็มีฉากสงครามที่คุนหลุน และการใช้ทาสจำนวนมากในการทำสงครามด้วย และทาสพวกนี้จะก้มตัว หมอบคลานอยู่ตลอดไม่กล้าลุกขึ้นมามองหน้าเจ้านายเลย และทาสที่เป็นพระเอกในเรื่องนี้ก็ชื่อคุนหลุนด้วย!! บทสุดท้ายทาสก็กลายเป็นพระเอกได้รักกับนางเอกและก็กลายเป็นอมตะ เอ๊ะ พลอตเรื่องมันคุ้น ๆ นะเนี่ย
ผมลองเข้า pinterest แล้วเสริชหากายแต่งกายของเผ่าแถวเกาะชวาตะวันตก (west Java) และบอร์เนียว ปรากฏว่ามีความคล้ายคลึงกับภาพแกะสลักบนนครวัดมาก และหอกที่พวกเขาใช้ก็บางภาพก็ด้ามยาวมาก ๆ ยาวพอ ๆ กับความยาวของหอกที่อยู่ปราสาทหิน และเสริชไปเจอดาบรูปหัวตัด (ของเผ่าในฟิลิปปินส์ ถ้าจำไม่ผิด ) ก็มีความคล้ายคลึงกับรูปดาบบนปราสาท
และภาพสุดท้ายของชายที่ถือหอกด้ามยาวก็เป็นชนเผ่าที่อยู่ในกาลิมันตัน เกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย
พ.ศ.๑๖๘๘ พระบาทสุริยวรมันที่ ๒ เข้ายึดครองอาณาจักรจัมปาลงและยึดครองไว้ได้ประมาณ ๔ ปี ต่อมา ชาวจามปารวมตัวกันติด จัดกองทัพยกมาตีเอาเมืองเมืองหลวงคืนได้ พ.ศ.๑๖๙๒
ในพ.ศ.๑๗๒๐ กองทัพเรือจามปายังยกพลขึ้นบกเข้าโจมตีและปล้นสะดม เผาทำลายเมืองพระนคร(อังกอร์วัด) เสียหายยับเยิน อำนาจอาณาจักรนครหลวงเสื่อมไประยะหนึ่ง
ถึง สมัยพระบาทชัยวรมันที่ ๗ เริ่มครองราชราว พ.ศ.๑๗๒๔ ยกทัพหลวงจากลพบุรีเข้าตีเมืองพระนครหลวง แล้วก็ยกทัพหลวงบุกไปต่อถึงจามปาจนมีชัยชนะ ทำสงครามปราบกษัตริย์จามปา ผนวกจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ "จักรวรรดิขอม" โบราณได้สำเร็จ
หลังจากขจัดเผ่าจามพ้นแผ่นดินขอมแล้ว พระเจ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็มีดำริให้สร้างนครธมเป็นเมืองหลวงใหม่ มีภาพสลักยุทธนาวีกับกองทัพจาม ศิลาจารึกจำนวนมากมายเกี่ยวกับประวัติของพระองค์ สร้างอโรคยาศาล(โรงพยาบาล) สร้างปราสาทเขาพนมรุ้งให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน และปราสาทอีกมากมาย
ทรงโปรดให้สร้าง "บ้านมีไฟ" (ที่พักคนเดินทาง) อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่าง ๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ระยะทางทั้งสิ้น 254 กิโลเมตร
แต่เมื่อพระเจ้าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต (ราว พ.ศ. 1758 - 1762 ) อาณาจักรขอมก็อ่อนแอตกต่ำลงเรื่อย ๆ มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ทำไมกษัตริย์ชัยวรมันที่ 7 ที่เป็นถึงมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่ง "จักรวรรดิขอม" จึงถูกละเลยจากการบันทึกลงในพงศาวดาร และถูกชาวกัมพูชาลืมไปโดยสิ้นเชิง?
พ.ศ.1825 กุบไลข่านส่งทูตมาให้เขมรเป็นเมืองขึ้น แต่เขมรตัดคอทูตทิ้ง กุบไลข่านโกรธมากส่งลูกชายพร้อมกองทัพมายึดเขมร เขมรตั้งรับทัพที่เมืองจามปา ทัพลูกชายกุบไลข่านสู้เขมรไม่ได้ กุบไลข่านต้องนำทัพมาเองสู้กันหลายวัน กษัติย์เขมรเห็นว่าตายกันมากมาย จึงยอมแพ้ กุบไลข่านจับเขมรแยกเป็นล้านเพีย(สยาม) หล่างเพีย ภาษาจีน)สมัยพ่อขุนรามคำแหง
พงศาวดารฉบับนักองค์เอง บันทึกว่าประมาณปี พ.ศ. 1833 ประชากรชาวพระนครมีเพิ่มมากขึ้นถึง 700,000 คน และพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ก็ถูกตระซ็อกประแอมคนเชื้อจามสายวางแผนก่อกบฏร่วมกับกลุ่มทาส(เกฺมร) และเชลยชาวจามปาเพื่อที่จะปลดแอก พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 จึงถูกฆ่าตายจากการลอบสังหาร หลังจากการขึ้นครองราชของตะซอกประแอม ๆ ก็ได้ทำการกวาดล้างกลุ่มอำนาจเก่าตั้งแต่อดีตจนหมดสิ้น จึงเป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มหิทธรปุระ(วรมัน) ตั้งแต่นั้นมา.
จนถึงปี พ.ศ.1974 (ประมาณ ค.ศ. 1431) จุดสิ้นสุดของนครธมก็มาถึง ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กองทัพอยุทธยา ยกทัพมาตีเมืองพระนครหลวงสำเร็จ บุกเข้ายึดนครธมเป็นเวลาถึง 7 เดือน ส่งผลให้กษัตริย์ขอมในตอนนั้นต้องย้ายเมืองหลวงหนีไปถึงพนมเปญเลยทีเดียว จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมลําพงศ์ราชาผลจากสงครามทําให้นครธมและปราสาทเทวาลัยในอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งอยู่ในบริเวณเมืองเสียมเรียบได้กลายสภาพเป็นเมืองร้างทิ้งร่องรอยอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ในป่ารกชัฏสืบมา
การสิ้นสุดของอารยธรรมขอมพอจะสรุปได้ดังนี้
1. การขยายอำนาจ ทำสงครามรบพุ่งกับจามปา จีนและสยาม ถึงแม้จะชนะหรือรักษาอาณาจักรไว้ได้ก็ตาม ก็ทำให้เขมรอ่อนแอลงอยู่ดี
2. การก่อสร้างที่เกินขนาดอันควรและการปฏิวัติของประชาชน  พวกไพร่พล ทาสและเชลยจามปาที่ถูกกวาดต้อนมาจากการทำสงครามที่ทนต่อการก่อสร้างไม่ไหว
3. การทำรัฐประหารภายในหมู่ชนชั้นปกครอง ที่มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างพุทธศาสนาฝ่ายหินยานกับศาสนาพราหมณ์
จนกระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ราชวงศ์ของกษัตริย์แห่งจามปาก็ยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งก็ยิ่งทำให้ประชาชนทั่วไปนับถือศาสนาอิสลามมากขึ้นตามไปด้วย ชาวสยามเลยเรียกพวกจามปาว่า "แขกจาม"
1
ชาวจามปาพยายามรวมตัวถือโอกาสปลดแอกจากเขมรได้สำเร็จ แต่ต่อมาก็ถูกอาณาจักรไดเวียด พ.ศ.๒๐๑๔ กษัตริย์เลถั่นตอง ส่งทัพตีเมืองหลวงวิชัย ยึดสำเร็จ ชาวจามเสียชีวิต 60,000 คน เป็นเชลยอีก 30,000 คน ที่เหลือรอดก็หนีเข้าอาณาจักรพระนครถูกกลืนกลายเป็นเขมรไป
ปัจจุบันนี้ชาวจามก็ยังคงตั้งรกรากอยู่ในเขมรมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ชุมชนมุสลิมชาวจามในจังหวัดกำปงจาม (กำปง เป็นภาษามลายู แปลว่า เมือง, ท่าหรือหมู่บ้าน) และก็มีจังหวัดบางส่วนที่ตั้งชื่อตามอิทธิพลของภาษาจาม เช่น จังหวัดกำปงชนัง กำปงธม กำปงสะบือ กำปงโสม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดสีหนุ) ภายในจังหวัดนั้นก็จะมีการตั้งชื่ออำเภอที่ขึ้นต้นว่ากำปงด้วย เช่น กำปงตามบริบูรณ์ กำปงเลียง กำปงตระลัก ฯลฯ
อีกหลาย ๆ คำที่มีภาษามลายูเป็นชื่อสถานที่ในจังหวัดปักษ์ใต้ ถ้าเราไม่ได้ศึกษาความเกี่ยวโยงของประวัติศาสตร์เหล่านี้ เราจะเข้าใจไปว่าชื่อสถานที่ ตำบลในปักษ์ใต้เป็นภาษาเขมร
ราว พ.ศ.๒๓๗๕ จักรพรรดิ์มิงห์หม่าง ได้ผนวกดินแดนส่วนที่เหลือของจามปาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนาม กลบกลืนชาวจามให้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยในเวียดนามทำให้สูญเสียความเป็นชาติไป
ระหว่างสงครามทำลายล้างชาวจามของไดเวียดนั้น ชาวจามส่วนใหญ่อพยพเข้าเขมร บางส่วนอพยพไปยังกลันตันแหลมมลายู(มาเลเซีย) ชาวจามบางส่วนก็ได้อพยพเข้าสู่ดินแดนสยามด้วยเช่นกัน เช่น ในช่วงสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ -๒๒๓๑) จนถึงรัชกาลที่ ๕ อพยพมากที่สุดอีกช่วงหนึ่ง คือ ฝรั่งเศสเข้ายึดครองกัมพูชาเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีก่อน บีบบังคับห้ามนับถือศาสนาอิสลาม
หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนเกี่ยวกับชาวจามตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา เช่นที่ชุมชนเขมรจามบ้านครัวเป็นแหล่งที่อยู่ ของขุนนางและทหารเรือของกรมอาสาจาม ภายใต้การนำของ พระยาราชวังสัน (บัว) ในสยามประเทศ ที่สำคัญชนชาติจามเป็นนักรบผู้เจนศึกและชำนาญในศาสตร์ของสงคราม โดยเฉพาะการยุทธทางทะเลซึ่งถือเป็นคุณสมบัติพิเศษของชนชาติจามที่สืบทอดกันมา
โฆษณา