10 ต.ค. 2023 เวลา 18:25 • ความคิดเห็น
มีช่วงนึงที่ได้ฟังบรรยายบางตอนของ ”คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์” ผ่านโซเชียลมีเดียหลายๆ ช่องทาง
เข้าใจว่า การที่เด็กหรือแม้แต่คนวัยผู้ใหญ่ (เช่น คุณแม่ของน้อง) มีจิตใจที่ไม่แข็งแรงพอ self-esteem ไม่แข็งแรง (ในเด็กก็คือ ช่วงวัยแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการที่สร้างตัวตน) ไม่เคยได้เรียนรู้/ค้นพบว่าตัวเองมีความสามารถด้านไหนบ้าง ทำอะไรอะไรได้บ้าง
1
ตอนเด็กๆ มีรายการนึง ชื่อ “หนูทำได้” ซึ่งมัน inspired มากๆ 💭
ต้องให้เค้าได้ใช้ทักษะที่หลากหลาย ได้เล่นได้คิดได้ซน มีเพื่อนที่รักเค้า+เค้ารัก มีสังคมที่เค้ารู้สึกปลอดภัย
1
เด็กอาจจะถูกเร่งให้เรียนและวัดผลทางการเรียนเร็วเกินไป เด็กไม่ได้เป็นเด็กให้เสร็จ ไม่ได้ดื้อได้ซนให้จบ เค้าก็จะลากเอาความเป็นเด็กดื้อโตขึ้นไปกบฏในกระบวนท่าที่รุนแรงยิ่งกว่า
ที่เคยฝังหัวว่าอะไรก็ไม่ได้ๆ โดนห้ามทุกกระบวน ทำได้แต่สิ่งที่ผปค.บังคับ ชีวิตเค้าโดนตำหนิ ถูกคาดหวัง+ประเมินอยู่ตลอด ไม่เคยดีพอ
1
เด็กที่ถูกประเมินว่าเรียนไม่ดี มักถูกมองว่าเป็นเด็กเกเร (บางครั้งเป็นการศึกษาต่างหากที่ไม่เข้าใจเด็ก เด็กไม่ต้องการการประเมินเพื่อเติบโต แต่ต้องการความรัก ความปลอดภัยทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ให้พื้นที่เค้าได้โต ตามฝีเท้า/Pace ของตัวเอง)
1
จำได้ เพิ่งได้ฟังคุณ กบ ทรงสิทธิ์ เล่าปสก.ในฐานะคนที่อยู่ข้างๆ ผู้ปกครอง ในรายการ The Voice Kid ประมาณว่า รายการแข่งขันของเด็กก็จริง แต่ผปค.ที่มาด้วยมักจะแสดงความคาดหวังที่มหาศาล มากกว่าเด็กๆ ที่มาแข่ง….ง่ายๆ คือ พ่อแม่พามาแข่ง เคร่งเครียด อยากชนะซะมากกว่าตัวเด็กๆ เองซะอีก
เด็กตกรอบกลับดีใจ เพราะไม่ต้องซ้อม ได้กลับไปเล่นกับเพื่อน ได้ไปเที่ยวซะงั้น (ต่างจากเด็กโตวัยรุ่น ที่กดดันตัวเอง มาด้วยความต้องการของตัวเอง)
1
ที่สำคัญ เด็กต้องมีคนที่ทำหน้าที่「แม่」
คอยกอด ปลอบ ให้ความรัก อธิบาย ให้อภัย อบรมด้วยความเข้าใจ ปกป้องดูแลในเวลาที่เค้ารู้สึกไม่ปลอดภัย(ไม่ใช่ทุกเวลานะ)
คุณหมอประเสริฐใช้คำว่า 「คนคลอด」ไม่ใช่แม่
「คนเลี้ยงดู」เป็นแม่ • (มาตาลดาก็มีพ่อเกรซ น้าวี แม่นมคิตตี้ อะไรแบบนั้น)
1
ถ้าเค้ารู้สึกว่าขาดแม่ เด็กจะหาสิ่งอื่นมายึดเหนี่ยวแทน 「แม่」และมักติดไปจนโต
อาจจะเป็นตุ๊กตา ผ้าห่ม เพื่อน แฟน
(ถ้าเป็นคน คนๆ นั้นจะมีอิทธิพลทางใจอย่างมาก)
1
ลองคิดเล่นๆ ว่า ถ้าเค้ารู้สึกว่าขาดอำนาจในการควบคุมชีวิตตัวเอง ไม่มีพื้นที่เป็นตัวของตัวเองที่เค้ารัก+ภูมิใจ เค้าก็จะโตไปสร้างอำนาจกดคนอื่นซะเอง ชดเชยสิ่งที่ไม่เคยมี เป็นปมที่ก่อความรุนแรงกับตัวเอง+ครอบครัว คุกคามคนรัก เพื่อน บริวาร สังคม (หลังๆ นี้ มีที่เป็นข่าวหลายเคสมากนะ เหตุทางใจความรัก ไม่ใช่การเงิน)
1
ตัวคนเป็นแม่ก็คงทำนองเดียวกัน รู้สึกด้อย+ซ้ำเติมตัวเอง มองตัวเองเป็นเหยื่อ ถูกเปรียบเทียบตลอดเวลา มีอาการ Self-Doubt ในความสามารถตัวเอง ในคุณสมบัติตัวเอง โดยเฉพาะในฐานะแม่ รู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ ลูกเลยไม่เก่ง
เคสนี้ ระบายความทรมาน(ที่รับมา+เบิ้ลเอง)ของพวกเค้าไปถึงลูกๆ ด้วยคำสวยๆ ว่ารักและหวังดี
1
พอใกล้ชิดคนที่มีบุคลิกของ Narcissist มากเกินไป นานเกินไป ยิ่งรับเอา impact ลึกและสาหัส แต่จะลึกแล้วจม หรือลึกแล้วบิด สร้างเป็นบุคลิกแฝง ต่อหน้าก็ดี ลับหลังกลายเป็นอีกคน
(Narcissist มีหลายประเภทด้วยสิ)
เด็กไม่ได้มีโล่ ไม่ได้รู้วิธีรับมือกับอารมณ์+ความคาดหวัง ไม่มีฟิลเตอร์ทรงพลังที่สามารถกรองพลังงานด้านลบที่มหาศาลขนาดนั้นของพ่อที่ส่งถึงเค้าและแม่ บวกกับพลังงานทำลายล้างของแม่ที่รับจากพ่อมา แล้วเบิ้ลไปอีก
1
ไปดูเถอะ ทุกโรงเรียนแหละ มีเด็กที่(ต้อง)เรียนดี ประพฤติตัวดี จาก「ความคาดหวัง」และด้วยความเชื่อฟัง
ถ้าเค้าประคองตัวเองผ่านไปได้ด้วยดี โตมาอย่างดีได้ ก็คงเหมือนติดปีก เจียระไนมาดีแล้ว
แต่ถ้าหักกลางปล้องซะก่อน เหมือนเค้า Overheated ก็คงต้องปล่อยให้คูล ให้ฮีล ช่วยกันหา+ให้เค้าได้ลองหาทางออกที่เค้าจะฮีลตัวเองได้จริงๆ
โฆษณา