13 ต.ค. 2023 เวลา 14:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ

แนะนำ 5-Stars MorningStar ETF

ผลงานดีอันดับtop10% ค่าธรรมเนียมถูก
วันนี้ #เด็กการเงิน จะมาแนะนำETF ที่ถูกจัดอันดับโดย MorningStar ให้อยู่ระดับสูงสุด นั่นคือ 5 ดาว ซึ่งพอบอกได้ว่าในอดีตกองทุนนั้นมีผลการดำเนินงานที่ปรับด้วยความเสี่ยงแล้วดีกว่ากองประเภทเดียวกัน (หลักการคล้ายกับ Sharpe Ratio) อยู่ใน 10% แรกของตลาดยาวนาน 3-5 ปีขึ้นไป
พูดง่าย ๆ คือ นอกจากกองทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีแล้ว ก็ควรจัดการกับความเสี่ยงหรือความผันผวนได้ดีด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้กองทุน 4-5 ดาวเป็นเพียงแค่หนึ่งตัวช่วยในการเลือกกองทุนของนักลงทุนเท่านั้น เพราะผลตอบแทนในอดีตไม่ได้การันตีอนาคตนะ
กลุ่ม ETF ที่น่าสนใจ เรียงลำดับตั้งแต่
กลุ่มหุ้นโลกขนาดใหญ่
กลุ่มหุ้นโลกที่ไม่มี USA
กลุ่มหุ้นUS มีทั้งแบบดัชนีและคัดเลือกหุ้นโดยหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ
กลุ่มหุ้นญี่ปุ่น ยุโรป และจีน
กลุ่มหุ้นตลาดเกิดใหม่ขนาดเล็ก
ดูรายชื่อเต็มๆได้ที่
ETF มีข้อดีคือการลงทุนในกลุ่มหุ้นที่มีหลักเกณฑ์คัดเลือกหุ้นค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นดัชนี หรือคัดเลือกหุ้นด้วยพื้นฐานการเงินที่เห็นได้ชัด ทำให้ค่าธรรมเนียมบริหารของ ETF ค่อนข้างถูก อย่างไรก็ตาม เราควรศึกษาเรื่องค่าเงิน การบริหารภาษี และเงินปันผลให้ดีด้วย จะได้สบายใจ ลงทุนได้ยาวๆไม่ต้องสับไปๆมาๆบ่อยๆนะ (ค่าธรรมเนียมซื้อขายขึ้นอยู่กับแต่ละโบรคเกอร์)
เรื่องน่ารู้ ที่มาของ MorningStar Rating
Sharpe Ratio เป็นการคำนวณผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง แล้วค่อยนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน แต่เนื่องจากมีบางกรณีที่การวัดผลแบบ Sharpe Ratio จะไม่ถูกต้องเสมอไป ลองมาดูตัวอย่างกัน
กองทุน A ผลตอบแทน -10% ความผันผวน 3%
กองทุน B ผลตอบแทน -10% ความผันผวน 7%
ตัวอย่างนี้สามารถตอบได้เลยว่า กองทุน A ดูดีกว่าเพราะถึงแม้ผลตอบแทนจะติดลบ 10% เท่ากัน แต่กองทุน A มีความผันผวนต่ำกว่า
แล้วถ้าหากนำตัวเลขนี้มาคำนวณค่า Sharpe Ratio จะเป็นอย่างไร? สมมติให้ Risk Free Rate หรือผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงให้ผลตอบแทนที่ 2%
Sharpe Ratio ของกองทุน A = -4 คำนวณมาจาก (-10% - 2%)/3%
Sharpe Ratio ของกองทุน B = -1.71 คำนวณมาจาก (-10% - 2%)/7%
กลายเป็นว่า Sharpe Ratio ของกองทุน B ดีกว่าเฉยเลย เพราะมีค่า Sharpe Ratio มากกว่า (ติดลบน้อยกว่า ถือว่ามากกว่า) ซึ่งในกรณีนี้จะไม่ถูกต้อง
📌 ทาง Morningstar ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำ Morningstar Rating หรือ “ดาวสีแดง” ที่มีตั้งแต่ 1-5 ดาว ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวช่วยพิจารณากองทุนผ่านผลตอบแทนในอดีต
หลักเกณฑ์การจัดทำ Morningstar Rating
กองทุนที่จะนำมาจัดอันดับได้นั้นต้องเป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานในอดีตติดต่อกันมาอย่างน้อย 3 ปี และแบ่งการจัดอันดับเป็น 3 ช่วงเวลาคือ 3 ปี, 5 ปี และ 10 ปี และจะเปรียบเทียบในกองทุนประเภทเดียวกันเท่านั้น
Morningstar Risk Adjusted Return (MRAR) เป็นการคำนวณผลตอบแทนที่ปรับด้วยความเสี่ยง ซึ่งมี 3 ขั้นตอนในการคำนวณคือ
1) คำนวณผลตอบแทนรายเดือนของกองทุน
2) นำผลตอบแทนในข้อ 1) มาหักกับ Risk Free Rate
3) คำนวณ MRAR โดยนำทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility Function) มาใช้ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่คำนึงถึงความรู้สึกของนักลงทุน โดยมีสมมติฐานว่า
นักลงทุนส่วนใหญ่นั้นไม่ชอบความเสี่ยง 😨
และนักลงทุน "ไม่ชอบ" ความผันผวนที่เป็นลบ (downside variation) มากกว่าความผันผวนที่เป็นบวก (upside variation) 😨
หรือพูดง่ายๆว่า *รู้สึกแย่กับการสูญเสีย มากกว่า รู้สึกดีกับการได้รับ* 😨
📌 ดังนั้น MRAR จึงให้น้ำหนักความสำคัญกับความผันผวนทางลบ มากกว่า ความผันผวนที่เป็นบวก
📌 ถ้าหากกองทุนใดที่มีความผันผวนทางลบมาก กองทุนนั้นก็จะถูกหักคะแนนมากเช่นกัน
หลังจากนั้นก็จะนำผลตอบแทน MRAR มาจัดอันดับ ซึ่งกองทุนที่มีคะแนนสูงสุดจะได้ ⭐️ มากที่สุด โดยจะมีแบ่งกลุ่ม (Rating Level) โดยอ้างอิงการกระจายตัวแบบระฆังคว่ำ (Bell Curve)
🥇🥈🥉🏅🎖 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด 10% แรกจะได้ 5 ดาว (ดีที่สุด) 22.5% ถัดมาจะได้ 4 ดาว 35% ตรงกลางจะได้ 3 ดาว 22.5% ถัดมาจะได้ 2 ดาว และกลุ่ม 10% ที่เหลือจะได้ 1 ดาว
Morningstar Rating ดีหรือไม่ดี ดูอย่างไร?
อย่างที่บอกไปว่ากองทุน 5 ดาวคือกลุ่มที่ได้รับการจัดอันดับดีที่สุด แต่กองทุนแต่ละกองทุนอาจจะได้ดาวในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน เช่น ช่วง 3 ปี อาจจะได้ 5 ดาว แต่ 5 ปีได้ 4 ดาว เป็นต้น เราสามารถดู overall rating แทนได้เพื่อบอกถึง Morningstar Rating เฉลี่ยของกองทุนนั้น
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/102405
โฆษณา