Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SCB Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
13 ต.ค. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เช็คให้ดีก่อนยื่นภาษี ปี 2566 นี้ ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
1. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
2. คู่สมรส 60,000 บาท
-คู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด
-คู่สมรสเป็นผู้ไม่มีเงินได้ปีนั้น หรือรวมยื่นแบบ
1
3. บุตร คนละ 30,000 บาท (คนที่ 2 ขึ้นไป เกิดตั้งแต่ปี 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท)
- เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
- อายุไม่เกิน 20 ปี หรือ อายุไม่เกิน 25 ปีกรณีกำลังศึกษาอยู่ หรืออายุเกิน 25 ปีแต่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
- มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
- บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ลดหย่อนตามจำนวนบุตรจริง บุตรบุญธรรม ลดหย่อนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน
5
4. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส คนละ 30,000 บาท รวมไม่เกิน 120,000 บาท
- บิดามารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
- ต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03)
- ห้ามใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้อง
5. ค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
- ผู้พิการต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- กรณีผู้พิการ ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
- กรณีผู้ทุพพลภาพ ต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์ว่าเป็นผู้ทุพพลภาพ
- ต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (แบบ ล.ย. 04)
- กรณีผู้พิการหรือทุพพลภาพ เป็นบิดา มารดา บุตร หรือคู่สมรส สามารถใช้สิทธิลดหย่อนตามสถานะได้ทั้งส่วนนั้น และลดหย่อนในฐานะผู้พิการหรือทุพพลภาพอีกส่วน
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่เมื่อรวมกับสิทธิสวัสดิการจากภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสได้รับแล้ว ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
กลุ่มประกันและลงทุน
1. ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
- กรณีเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไข
2.ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
- เมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
3. ประกันสังคม หักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
4. ประกันสุขภาพบิดามารดา หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- บิดามารดา มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- ไม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็ได้
1
5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในไทย
- มีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และต้องกำหนดช่วงอายุของการจ่ายเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55-85 ปีขึ้นไป
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันซื้อครั้งแรก และไถ่ถอนเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
7. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันซื้อครั้งแรก
1
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
9. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
1
10. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) หักลดหย่อนได้ตามจริง (ปัจจุบันคือ 30,000 บาท) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
หมายเหตุ : ประกันชีวิตแบบบำนาญ + RMF + SSF + PVD + กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน + กบข. + กอช. รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11. เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) หักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
กลุ่มเงินบริจาค
2
1. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
กรณีบริจาคเพื่อการศึกษาและการกีฬา หักลดหย่อนได้ 2 เท่า ต้องบริจาคผ่านระบบ e-Donation มิฉะนั้นจะหักลดหย่อนได้เพียง 1 เท่า
2. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ 1 เท่า สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่น
3. เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
1. ช้อปดีมีคืน หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
- ซื้อสินค้าและบริการในประเทศ มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท กรณีใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ลดหย่อนได้เพิ่มอีก 10,000 บาท รวมเป็น 40,000 บาท
- ต้องเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
- ต้องเป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566
2. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
1
เห็นแบบนี้แล้วอย่าลืมเช็คอีกครั้งว่ามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีตัวไหนที่มีอยู่แต่ยังไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่เต็มสิทธิ จะได้ใช้สิทธิให้คุ้มค่า และใครที่ยังไม่ได้ลงทุนในกองทุน RMF หรือ SSF
อาจต้องรีบตัดสินใจลงทุนให้ทันสิ้นปี เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย
วางแผนลดหย่อนภาษีด้วย RMF/SSF >>
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/strategic-tax-planning-with-scb-ssf-rmf.html
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
#SCBWEALTH #tax #วางแผนภาษี
59 บันทึก
71
2
144
59
71
2
144
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย