14 ต.ค. 2023 เวลา 09:00 • ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ตอนที่ 10 สู่โลกาภิวัตน์

ยุคเฮเซ ตอนที่ 2 ทศวรรษที่ 2 ที่สาบสูญ (The Lost Decades)
ในช่วงทศวรรษที่ 90 มี 1 สิ่งที่มาเป็นกระแส แล้วสิ่งนี้ก็ได้พลิกอุตสหกรรมต่างของทั้งโลกก็คือ อินเตอร์เน็ต แต่สำหรับอุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นนั้น เหมือนจะไม่ได้พลิกผันไปในทางที่ดีนะ เพราะในเวลานั้นหลายอย่างของอุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นจะมีการใช้ฮาร์ตแวร์และพยายามจำกัดให้สินค้าและบริการอยู่แค่ระบบนิเวศของตัวเอง อย่างในกรณีของ sony walkman ซึ่งก่อนที่ อินเตอร์เน็ต ทางบริษัท sony สามารถขายสินค้าออกไปได้ประมาณ 3 ร้อยล้านเครื่องแล้ว
1
แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตได้มาถึง มีการทำไฟล์ MP3 เพื่อให้เป็นมาตรฐานสำหรับทุกประเทศ แต่สิ่งที่ Sony ทำคือการพยายามแปลงไฟล์ MP3 ให้เล่นได้เฉพาะกับสินค้าของตัวเอง ณ เวลานั้นประเทศเกาหลีเพิ่งพ้นจากการตกต่ำวิกฤตเศรษฐกิจปี ค.ศ. 1997 GDP ค่อยๆขึ้นมา เครื่องผลิต MP3 ที่ค่อยๆมีชื่อเสียงมีชื่อว่า iRiver MP3 ได้นำ MP3 มาทำเป็นดิจิตอลมีเดียเพลเยอร์ทำให้ได้รับความนิยมในช่วงเวลานั้น
iRiver MP3
อันนี้เป็น 1 ในกรณีตัวอย่าง อุตสหกรรมต่างๆของเกาหลีสามารถเกาะกระแสของอินเตอร์เน็ตไว้ได้ทำให้กราฟค่อยๆเชิดหัวขึ้น พร้อมๆกับการร่วงลงของอุตสหกรรมต่างๆของญี่ปุ่น จากปี ค.ศ.1991-ถึงปัจจุบันนี้ เกิดคำถาม เทรนดิจิตอลญี่ปุ่นหายไปไหน รถ EV ญี่ปุ่นตามทันไหม 1 ในปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นแบบนี้ จะขอเล่าถึงอุปนิสัยของคนญี่ปุ่นกับประเทศโดยรอบ อย่างเกาหลี ไทย จีน
คนญี่ปุ่นมีอุปนิสัยสมบูรณ์แบบคือค่อยๆทำ ทำให้สมบูรณ์แบบที่สุด ด้วยเหตุนี้ทำให้คนญี่ปุ่นทำงานกับคนไทยได้ดีเพราะคนไทยพิถีพิถันมีความปราณีต ด้วยเหตุนี้ทำให้กว่าจะมีสินค้าหรือเทคโนโลยีใหม่ๆทำให้ต้องใช้เวลานาน ซึ่งในยุคของอินเตอร์เน็ตต้องการความเร็วทำให้หลายๆอย่างญี่ปุ่นตามไม่ทัน จะต่างกับเกาหลีที่ทุกอย่างจะต้องเร็ว แล้วเร็วอย่างปัจจุบันแล้วยังเร็วไม่พอ ต้องเร็วอีก ปัจจุบันก็ทำให้มีแบรนด์ต่างๆของเกาหลีเป็นผู้นำเทรนดิจิตอล สำหรับชาวจีน ก็จะมีลักษณะทำไปก่อน แล้วค่อยว่ากัน
GDP ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 1980-2010 ซึ่งถือเป็นช่วงที่ทศวรรษที่สาบสูญ
จากที่กล่าวมาอุตสหกรรมต่างๆของจีนกับเกาหลี จะมีลักษณะที่รีบเปิดตัวก่อนให้ลูกค้าใช้ก่อนดีหรือไม่ ให้ลูกค้าเป็นคนบอกเลย แต่สำหรับญี่ปุ่น ถ้าจะเปิดตัวสินค้าทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบต้องไม่มีปัญหาแล้วค่อยไปให้ลูกค้าได้ลอง ซึ่งทั้งสองแบบไม่มีอะไรผิด แต่แค่เหมาะสำหรับยุคปัจจุบันหรือไม่
ยุคเรวะ 2019 - ปัจจุบัน
เป็นยุคปัจจุบันของปฏิทินทางการของญี่ปุ่น โดยรัชศกเรวะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ซึ่งเริ่มนับจากวันที่สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 126 ในวันหลังสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสละราชบัลลังก์ในวันที่ 30 เมษายน ซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดของยุคเฮเซ
โดยนามรัชศกเรวะได้มีการประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2019 โดย โยชิฮิเดะ ซูงะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เป็นผู้ประกาศนามรัชศกในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศรัชสมัยใหม่ เรวะ เพื่อต้อนรับรัชสมัยของสมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จจักรพรรดิพระองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสิ้นสุดของยุครัชสมัย เฮเซ ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปีอีกด้วย
และนี้คือประวัติศาสตร์กำเนิดของประเทศญี่ปุ่น
ฝากกดถูกใจ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
Reference ญี่ปุ่น ตอนที่ 10 สู่โลกาภิวัตน์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา