13 ต.ค. 2023 เวลา 13:35 • ประวัติศาสตร์

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิสราเอลกับปาเลสไตน์

ประเด็นร้อนที่กลายเป็นกระแสความทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในขณะนี้ นอกจากประเด็นรัสเซีย - ยูเครน ก็คงหนีไม่พ้นสองชาติต่างศาสนาที่มีปมความขัดแย้งรุนแรงยาวนานมากที่สุดของโลก คือ อิสราเอล - ปาเลสไตน์
อันที่จริงจุดเริ่มต้นของปัญหานั้นไม่สามารถยืนยันได้อย่างแน่ชัด
แต่หากจะให้เล่าย้อนไปในอดีตชาวยิวสามารถสร้างอาณาจักรบนดินแดนแห่งพันธสัญญาได้ก่อน
แต่กลับต้องตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรต่าง ๆ จนอาณาจักรของตนเองล้มสลายไร้ประเทศ จึงต้องอพยพไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรป หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้จึงเป็นที่อยู่ของชาวอาหรับหรือปาเลสไตน์เรื่อยมา ชาวปาเลสไตน์เริ่มตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้
แต่ชาวยิวก็ยังมีความปรารถนาที่จะกลับมายังดินแดนแห่งพันธสัญญานี้ตามความเชื่อที่พระเจ้าได้ประทานไว้
ชาวยิวจึงได้ก่อตั้ง "ขบวนการไซออนิสต์" เพื่อนำชาวยิวที่กระจัดกระจายสู่แผ่นดินเกิดหรือดินแดนปาเลสไตน์
ชาวยิวจึงเริ่มซื้อที่ดินในปาเลสไตน์และเข้ามาอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันผู้นำในองค์กรไซออนิสต์ก็ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในยุโรปเพื่อขอการสนับสนุน
หนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ อาเธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (Arthur James Balfour) นายกรัฐมนตรีและรันฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ
รัฐบาลอังกฤษจึงได้ให้คำมั่นว่าจะจัดตั้ง “Homeland” ให้กับชาวยิว แม้ว่าคำประกาศนี้จะไม่เป็นทางการแต่รัฐบาลอังกฤษก็ยอมรับและสนับสนุนให้เกิดขึ้น
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษซึ่งอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ส่วนจักรวรรดิออตโตมันที่อยู่ฝ่ายมหาอำนาจกลางล่มสลาย ทำให้ดินแดนปาเลสไตน์ที่เคยเป็นของจักรวรรดิออตโตมันต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองอังกฤษการสถาปณาประเทศอิสราเอล
อังกฤษได้ยินยอมให้ชาวยิวย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยในปาเลสไตน์ตามที่ได้เคยสัญญาไว้ นอกจากนี้ชาวยิวยังได้ประกาศเอกราชและก่อตั้งรัฐชาติของตนเองขึ้น โดยให้ชื่อว่า ประเทศว่าอิสราเอล
จึงเป็นสาเหตุให้ชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจอย่างมาก
ทางด้านประเทศอาหรับรอบด้านก็แสดงความไม่พอใจเช่นกัน
ในขณะนั้นความขัดแย้งก็ได้แตกออกเป็นสองขั้ว
ขั้วหนึ่งคือ ชาวปาเลสไตน์และประเทศอาหรับ ส่วนอีกขั้วคือ อิสราเอลและประเทศพันธมิตร นำโดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ UN
สงครามความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จึงไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเนื่องยังประเทศโดยรอบ
สาเหตุของความขัดแย้งที่สำคัญอีกประกาศหนึ่ง เนื่องมาจากการแย่งชิงดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์นั้นคือ นครเยรูซาเล็ม สถานที่เป็นต้นกำเนิดของ 3 ศาสนาสำคัญของโลก ทั้งศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์ (ยิว) และศาสนาอิสลาม
โดยมีชาวยิวหรืออิสราเอลนับถือศาสนายูดาห์ ส่วนชาวปาเลสไตน์นั้นนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้พื้นที่แห่งนี้มีความอ่อนไหวทางประวัติศาสตร์และศาสนาเป็นอย่างมาก
ตามความเชื่อในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์เชื่อว่า พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนที่นครเยรูซาเลม และพระองค์จะทรงเสด็จกลับมายังเมืองนี้อีกครั้งหลังจากที่สิ้นพระชนม์
ส่วนคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลามของชาวมุสลิมเชื่อว่า นบีมูฮัมมัด ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาอิสลามได้เดินทางสู่ฟากฟ้าจากมัสยิดอัลอักซอในนครเยรูซาเลม
ขณะที่คัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ของชาวฮิบรูหรือชาวยิวเชื่อว่า ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระยาห์เวห์หรือพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่ชาวอิสราเอล
จากความศรัทธาอันแรงกล้า ที่ต่างมุ่งหวังจะครอบครองนครศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงนำมาสู่สงครามที่ยืดเยื้อต่อเนื่องไม่รู้จบ
ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ จึงทำให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จึงได้ฝังรากลึกมาช้านาน
อีกทั้ง นโยบายต่างประเทศของเหล่าประเทศมหาอำนาจที่มีความโน้มเอียงสนับสนุนฝ่ายหนึ่งและเลือกปฏิบัติกับอีกฝ่าย
โดยที่ทุกฝ่ายต่างก็หวังผลประโยชน์ของตนเอง ส่งผลให้กระบวนการยุติความขัดแย้งล้มเหลว บางครั้งกลับสร้างปัญหาสะสม ทั้งปัญหาเดิมและปัญหาใหม่
สุดท้ายความขัดแย้งจึงวนลูป เกิดขึ้นและยุติ แต่เมื่อมีฉนวนเหตุก็เกิดความขัดแย้งขึ้นใหม่ ต่อเนื่องเรื่อยไปเช่นนี้
โฆษณา