15 ต.ค. 2023 เวลา 05:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

คนไทยไม่แพ้ใคร

ล่าสุดสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ส่งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทยร่วมพัฒนาอุปกรณ์วิจัยในโครงการสำรวจดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ-7 หนึ่งในภารกิจสำคัญของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
1
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจอวกาศเชิงลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ ฉางเอ๋อ-7 ที่คาดหวังว่าจะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของไทย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงด้านอวกาศห้วงลึก
นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรไทย นำโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนออุปกรณ์ที่รองรับภารกิจหลักของอวกาศยานฉางเอ๋อ 7 อย่าง อุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ ตรวจวัดรังสีคอสมิก และติดตามผลกระทบที่มีต่อโลก ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่จะติดตั้งไปกับยานสำรวจ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเชิงวิศวกรรมร่วมกันระหว่างสองประเทศ และทางจีนมีแผนจะส่งไปสำรวจดวงจันทร์ภายในปี 2026
การสำรวจสภาพอวกาศ หรืออนุภาคพลังงานสูงในห้วงอวกาศเป็น ปัจจัยด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มีผลกระทบต่อชีวิต อย่าง พายุสุริยะ ที่ผิวดวงอาทิตย์เกิดการระเบิดลุกจ้า ปลดปล่อยอนุภาคประจุไฟฟ้าออกมาจำนวนมหาศาล รบกวนระบบดาวเทียม การสื่อสาร สภาพการผลิตพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งการศึกษาปัจจัย และแบบจำลองจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยด้านสภาพอวกาศได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ย้ำว่า โจทย์ที่ท้าทายจากการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ ซึ่งนำไปใช้จริง นับเป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงสุดที่จะสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรในประเทศต่อไปได้
#TechhubUpdate #Narit #change7
⭐️ ติดตามอัปเดตข่าวไอที How To , Tips เทคนิคใหม่ ๆ ได้ทุกวัน
ค้นหาข่าวที่อยู่ในความสนใจได้ที่ >> www.techhub.in.th
มีข้อสงสัยทัก LINE Techhub : https://lin.ee/Sietmnt
โฆษณา