14 ต.ค. 2023 เวลา 04:12 • ความคิดเห็น
คือเราคงต้องขออนุญาตตั้งคำถามก่อนว่า คำว่า "ปฏิบัติธรรม" พวกเราตีความเหมือนกันหรือไม่ เพราะด้วยเหตุที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า "การปฏิบัติธรรม" คือ "การนุ่งขาวห่มขาว แล้วไปเข้าคอร์สตามตารางที่สถานปฏิบัติธรรมนั้นๆ กำหนด" เราไม่อาจปฏิเสธว่า เราเองก็เคยคิดแบบนั้นมาก่อน เป็นหนึ่งในผู้คนเหล่านั้นมาก่อน แม้จะตั้งคำถามในใจ โดยไม่กลัวตกนรก อยู่ทุกครั้งว่า "มันใช่หรือ?" "มันใช่แน่นะ?"
1
อ้างตามพระไตรปิฏก ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงออกผนวช ด้วยการออกไปอยู่ป่า ละทิ้งสิ่งสมมติ ใช้เศษผ้าห่อศพเพื่อนุ่งห่มปกกาย จากนั้นท่านก็ทรงทดลอง "ปฏิบัติธรรม" จนเมื่อตรัสรู้ ก็ทรงเสด็จไปสั่งสอนธรรมให้กับพระอาจารย์ บิดามารดาและพระญาติ และสาวก ตามลำดับ ซึ่งพวกเราก็พอจะทราบจากเรื่องราวว่า ท่านทรงทดท้อพระทัยในครั้งแรก เพราะการสั่งสอน ให้ผู้คน "เข้าใจในธรรม" นั้น "ยากและไม่มีทางจะรู้ได้ละเอียดลึกซึ้งทุกคน"
ดังนั้น เมื่อไม่เข้าใจธรรม ก็ไม่พ้นจะถูก "คนนุ่งห่มเหลือง" ชักจูงไปแบบงูๆ ปลาๆ เกิดความสงสัย เกิดการตั้งคำถามอยู่นั่นแล้ว ปัจจุบัน "คนนุ่งห่มเหลือง" ไปนั่งเรียนพระพุทธศาสนา กับอาจารย์เพศฆราวาสในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้ได้ปริญญา Ph.D. เราว่าโลกมันกลับตาลปัตร!
และดังนั้น ในทัศนะเรา จึงคิดว่า
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมที่สำคัญที่สุดคือ
"ความสามารถในการเข้าใจในธรรม"
หาไม่แล้ว พระพุทธองค์จะทรงพากเพียร
เทศนาสั่งสอน สอบทานสาวกทุกเช้าค่ำ ไปเพื่ออะไร
...........นั้นเป็นไฉน? นั้นคืออย่างไรเล่า?...........
หากไม่สอบทานให้สิ้นสุดสงสัย ก็เท่ากับว่า
ไม่มีทางจะละวิจิกิจฉาได้ แม่เพียงโสดาบันก็บรรลุไม่ได้
ยังไม่ต้องพูดถึง สำเร็จพระอรหันต์ เลยด้วยซ้ำค่ะ
1
โฆษณา