14 ต.ค. 2023 เวลา 15:23 • สุขภาพ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน

การเสียชีวิตทั่วโลกมีสาเหตุสำคัญจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงร้อยละ 32 หรือประมาณ 17.9 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 7 หมื่นราย (ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค 29 ก.ย.65)
การอักเสบเรื้อรังของผนังหลอดเลือดเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคราบตะกรันในหลอดเลือดอันเป็นต้นเหตุของการตีบตัน
ตะกรันที่เกิดขึ้น อาจมีการพัฒนาได้ 2 แบบ คือ
1. ตะกรันที่ค่อยพอกสะสมแบบค่อยเป็นค่อยไป (Stable plaque) ผนังตะกรันจะค่อนข้างหนา รูปแบบตะกรันแบบนี้ คนไข้จะมีอาการและ อาการแสดงที่สามารถตรวจพบได้ไม่ยากด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน
2. ตะกรันนิ่ม (Unstable plaque) ผนังตะกรันค่อนข้างบ้าง แม้ระดับการพอกสะสมของตะกรันในหลอดเลือดยังไม่เยอะ แต่พบการอักเสบการระคายเคืองอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการฉีก แตกของผนังตะกรันเฉียบพลัน จนเกิดจุดปัญหาที่ก่อลิ่มเลือดทันทีในตำแหน่งดังกล่าว เป็นผลให้ผนังห้องหัวใจขาดเลือด และเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน การศึกษาพบว่า การแตกของตะกรันนิ่มนี้ถือเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตของโรคหัวใจ
โรคเส้นเลือดหัวใจ จึงเป็นโรคที่เราจะประมาท จะรอให้เกิดอาการก่อนแล้วค่อยรักษา อาจจะสายเกินแก้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะเครียด (จากการเดินสายพาน) การตรวจ Echoหัวใจ การฉีดสีตรวจเส้นเลือดหัวใจ เป็นการตรวจที่ดีในการคัดกรอง แต่จะตรวจพบชัดเจนเมื่อเส้นเลือดมีการตีบไปแล้ว (Stable plaque จะตรวจได้ชัด แต่ Unstable plaque หรือพลาคนิ่ม อาจให้ผลที่ไม่ชัดเจนได้ในบางราย)
การคัดกรอง ระดับการอักเสบ และการบาดเจ็บของผนังหลอดเลือด รวมไปถึง การมองหาปัจจัยเสี่ยงก่ออักเสบของผนังหลอดเลือด เพื่อป้องกันแก้ไข ก่อนเกิดคราบตะกรัน และลดความเสี่ยงการแตกของตะกรันจึงดูเหมือนจะเป็นทางออกของปัญหานี้ได้ดี
จึงได้สะท้อนกลับมาสู่ รูปแบบของอาหารและการใช้ชีวิต ซึ่งคำตอบ ก็ยังคงออกมาในทิศทางเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น รูปแบบอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีการศึกษาและการวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ชัดถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่า ช่วยลดอัตราตายจากโรคเส้นเลือดหัวใจนี้ได้ครับ
โฆษณา