15 ต.ค. 2023 เวลา 01:49 • ปรัชญา
แหม่ๆ ตอบเล่นมั่งดีกว่า
สมันเรียนเคยรู้จักหลักจริยศาสตร์อะไรที่จำได้ง่ายๆ อยู่อย่างหนึ่ง (ผมหัวไม่ไดีน่ะสิ 🤪) ก็เจ้าหลักที่ว่า "ประโยชน์มากที่สุด สำหรับคนจำนวนมากที่สุด" อะไรนั่นแหละ อะฮ้า คุณ เจ. เจ. มิลล์ แห่งสำนักประโยชน์นิยมนั่นเอง พี่ท่านเป็นไอดอลผมในบางเรื่องเลยนะ
ฉะนั้นจากกรณีที่ยกมาของตอบว่า อะไรๆ ก็ตาม มันยุติธรรมแล้ว (ตามแนวนี้) ถ้าสิ่งที่กระทำนั้นมันทำให้สังคมโดยรวมได้รับประโยชน์มากที่สุด (ว่ากันที่จริงผมลืมไปแล้วว่าโจทย์ถามว่าอะไรมั่ง 😅😜) อ้อ เรื่องเยาวชนที่ยิงคนสินะ เขาถูกจับไปแล้ว เข้าสถานพินิจ และอะไรอีก เราก็ได้แต่หวังว่า "รัฐ" จะรักษาอาการป่วยของเขา แล้วเขาก็กลับออกมาเป้นคนดีๆ คนหนึ่ง งดงามอะไรอย่างนั้น มันก็ดีแล้วนี่
แต่ก็อย่างที่บอกไปแล้ว เมื่อผมอ้างคุณมิลล์ก็เท่ากับผมหวาดเสียวคุณค้านท์เลยนั่นเอง แค่ได้ยินชื่อก็ขนลุกซู่แล้วเนี่ย จะเป็นยังไงถ้าเราไม่ใส่ใจสิทธิของอาชญากร คนป่วย หรือก็คือสิทธิมนุษย์นั่นแหละให้มากนัก แล้วหันกลับไปหาความป่าเถื่อนแบบที่เราเคยเป็น หรือแม้กระทั่งเป็นอยู่ ถ้าหากว่า การลงโทษไม่ใช่แค่การจับเข้าคุกเด็ก แต่เป้นการตัดหัวแล้วเสียบประจารซะ พร้อมแขวนป้ายเตือนว่า "เยาวชนทั้งหลาย กรุณาอย่าบ้านะ ไม่อย่างงั้นจะเป็นอย่างนี้แหละ!" ฟังดูขนพองสยองเกล้าชะมัด
แต่ว่านะ ไอ้ความขนพองสยองเกล้าอย่างนั้น่ะ อาจทำให้สังคมเป็นระเบียบกว่านี้ซะอีก แต่มันก็น่ากลัวซะมัด บรื๊ออออ😣😖😱
ผมมีวิธีคิดของตัวเองที่แน่ชัดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการลงโทษ นั่นคือ "การลงโทษ คือการที่มิตรกระทำกับมิตร ไม่ใช่ศัตรูกระทำกับศัตรู และการลงโทษเป็นการทำให้ผู้ถูกลงโทษดีขึ้น ไม่ใช่เลวลง หมายความว่าการลงโทษต้องทำให้ผู้ถูกลงโทษเข้าใจอย่างแท้จริงว่าการกระทำของเขานั้นเป็นความผิด มีโทษ ไม่เป็นคุณ และเขาไม่สมควรกระทำมันต่อไปอีก" นี่คือหลักในการลงโทษของผม ดังนั้นการลงโทษจึงเป็นการให้ความรู้ หรือการ "สอน" อย่างหนึ่ง แต่คนตายเรียนรู้อะไรไม่ได้นี่นา จริงมั้ย?
3
เอ ว่าไปว่ามามันชักจะขัดกับหลักที่ผมยกมาซะอย่างนั้นแฮะ 😅 แต่ก็ช่างมันเถอะ 😚
แต่มันก็ยังเป็นความจริงใช่มั้ยล่ะว่า เราย่อมต้องการสังคมของคนดีๆ มากกว่าคนบ้า ของคนฉลาดมากกว่าคนโง่ ของคนที่มีคุณธรรมมากกว่าคนที่ไม่มีคุณธรรม ของคนที่เป็น "อารยชน" มากกว่า สังคมของ "หมู" แน่นอน อารยชนที่สามารถเห็นอกเห็นใจหมูได้นั่นแหละ ดังนั้น เพื่อที่จะให้การแถข้างๆ คูๆ ของผมสมบูรณ์แบบ ผมจำเป้นปรับปรุงหลักการของคุณมิลล์น้อยกันนิดหน่อย ส่วนที่เขาละเลย หรือ "ละไว้ในฐานที่เข้าใจ" หรือละไว้ยังงั้นเพราะไม่อยากยุ่งกะปัญหาเชิงนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เพราะคนในยุคสมัยเดียวกันจะด่าเอา หรือยังไงก็ช่าง
โชคดีที่เราไม่มีหน้ามีตาแบบนั้น ข้อดีของการเป้นชาวบ้านก้คือเราสามารถเอาของเบื้องสูงลงมาเล่นได้นะจะบอกให้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีลีลาการเล่นหัวเบื้องสูงได้มากน้อยแค่ไหนก็เท่านั้นแหละ
สิ่งที่จะต้องเพิ่มเข้ามาก็คือ "คุณภาพ" ใช่แล้ว ใครๆ ก็รู้ สิ่งที่พวกประโยชน์นิยมพยายามจะตัดออกไปนั่นเอง หมายความว่า ไม่ใช่แค่จำนวนของประโยชน์ และผู้ได้รับประโยชน์เพียงเท่านั้นที่นักคำนวนทางจริยธรรมของเราจะต้องใส่ใจ แต่มันต้องรวมทั้ง "คุณภาพของประโยชน์" และ "คุณภาพของผู้ที่รับประโยชน์ด้วย"
หมายความว่า ชัดเจนมาก ประโยชน์สูงสุดของคนจำนวนมากที่สุด ที่เราว่านั้น ต้องไม่ใช่ประโยชน์ของอาชญากร พูดสั้นๆ ก็ต้องไม่ใช่ประโยชน์ของคนเลวๆ เท่านั้นเอง นี่มันตัดสินกันแต่ต้นเลยนี่! จะว่างงั้นก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่แสดงอะไรออกมาใครจะรู้จะเห้นได้ล่ะว่าคุณเป็นคนเลวหรือคนดี? แถมเป็นการตัดสินกันถึงสองครั้งอีก เพราะนอกจากการตัดสินว่าโทษนั้นมีผลต่อคนจำนวนมากหรือน้อยแล้วยังต้องถูกตัดสินในฐานะที่เป็นคนเลวหรือคนดีอีก จะว่างั้นก็ได้ แต่เราจะคิดอะไรให้มันซับซ้อนนัก คนดีจะกระทำสิ่งที่เลวได้ยังไง?
และจากเงื่อนไขข้างต้น การกระทำที่ "เรา" คนที่ตัดสินนั่นแหละ รับรู้ได้ว่าเลว จะออกมาจากคนที่ดีได้อย่างไร? นี่จะปิดประตุสำหรับใครก็ตามที่อ้างว่าตนเป็นคนดี แต่กระทำในสิ่งที่เลว หมยความว่ากรณีเดียวที่เราจะยอมรับว่าใครเป้นคนดีคือ เฉพาะกรณีที่เขากระทำสิ่งที่ดี อ้อนี่จะละเลยการแสร้งทำดีของคนเลวไปเลวว่างั้น? ก็จะให้ทำไงได้เล่า ตราบเท่าที่เขาแสร้งทำดีได้ตลอดอยู่ สังคม(คนจำนวนมากนั่นแหละ)ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนี่นา ส่วนเรื่องการบังเอิญทำชั่วน่ะเหรอ เอาน่า เรื่องนี้ไม่น่าจะยากนัก
ทำไมเราจะต้องคิดว่าคนเราทำอะไรโดยไม่ตั้งใจกันล่ะ แต่เอาล่ะ ถ้าเขาไม่ตั้งใจจริง เราก็แค่ค่อยๆ หาวิธีพิสูจน์เจตจำนงกันไปก็แล้วกัน
กลับมาที่เด็กหนุ่มของเราดีกว่า เราควรฆ่าเขามั้ย? เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม หากเขาคือมิตร แน่นอนเราย่อมไม่สมควรฆ่าเขาทุกประตู แต่ต้องต้องทำให้เขารู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกอย่างที่ว่าไปแล้ว สำหรับคนที่ตายล่ะ? มันน่าเศร้า พวกเขาเป็นเหยื่อและคนจำนวนมากที่จะได้รับประโยชน์จำนวนมากจากความยุติธรรมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบที่ดันทำให้เกิดความอยุติธรรมขึ้นมาในสังคมของตัวเอง
ผมไม่รู้หรอก ว่าเราจะรักษาคนบ้าได้ยังไง แต่มันน่าตั้งคำถามมากกว่าว่า สังคมของเรา รัฐของเรา มันป่วยหรือไม่? มันบ้าหรือไม่? ที่ดันทำให้เกิดเยาวชนคนหนึ่งที่เป็นบ้าแล้วถือปืนเดินไปฆ่าผู้บริสุทธิ์ตายโดยที่ไม่คิดถึงผลที่จะตามมาเลยว่า "รัฐ" หรือ "สังคม" จะทำอะไรกับเขาบ้าง หมายความว่า มันราวกับว่าเขาได้ละทิ้งสังคมไปแล้วขณะที่เขาถือปืนไปยิงคน ซึ่งหากเป็นอย่างนั้น สังคมจะฆ่าเขาเสียก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะเขาได้ละทิ้งสังคมไปแล้ว (หมายความว่าเขาไม่ใช่มิตรอีกต่อไป)
พร่ามมาซะยาม หากถามว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นยุติธรรมไหม? ไม่! คือคำตอบ ทำไมน่ะเหรอ? เพราะสังคมเรามันหาความยุติธรรมได้บ่อยนักรึไง! แล้วเกี่ยวอะไรกะที่ว่ามา? ไม่เกี่ยวซักกะอย่างเดียว 😜
1
โฆษณา