Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2023 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
"จักจั่นแม่หม้ายลองไน" พบที่น้ำตกเทพนา อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
"จักจั่นแม่หม้ายลองไน" ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝙏𝙤𝙨𝙚𝙣𝙖 𝙛𝙖𝙨𝙘𝙞𝙖𝙩𝙖 ชื่อวงศ์ : Cicadidae
แม่หม้าย หรือ แม่ม่ายลองไน หรือ แมลงว้าง เป็นจักจั่นขนาดใหญ่อันดับสองของไทย รองจาก 𝙋𝙤𝙢𝙥𝙤𝙣𝙞𝙖 𝙞𝙢𝙥𝙚𝙧𝙖𝙩𝙤𝙧𝙞𝙖 เมื่อกางปีก ยาวได้กว่า 15 เซนติเมตร มีสีสันสวยงาม ดู สงบ ขรึม แตกต่างจากจักจั่นชนิดอื่น คือ มีส่วนหัวสีดำ ส่วนอก มีสีดำ คาดด้วยสีขาว ส่วนท้อง มีสีส้ม แต้มด้วยสีดำ ปีกมีสีดำ ปีกบนมีสีขาวคาดขาคู่หน้า ต้นขามีหนามข้างละ 2 อัน เริ่มออกจากดักแด้ในช่วงเดือน สิงหาคมเป็นต้นไป
จะส่งเสียงเรียกคู่ในช่วงรุ่งสาง และพลบค่ำเท่านั้นแตกต่างจากจักจั่นทั่วไปที่มักส่งเสียงเพื่อจับคู่ตลอดเวลา เสียงของแม่ม่ายลองไนแตกต่างจากจักจั่นชนิดอื่นคือ มีเสียงดังและกังวาน แม่ม่ายลองไนจะออกหากินตัวเดียว โดยดูดน้ำเลี้ยงของพืชเป็นอาหาร มักพบหากินอยู่กับต้นสัก ชาวไทยเริ่มรู้จักแม่หม้ายลองไนครั้งแรกเมื่อ พระยา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) นำมาแต่งกาพย์ ที่ชื่อว่า พหุบาทสัตวาภิธาน สอนวิชาภาษาไทย ในสมัยรัชการที่ 5 ในกาพย์บางส่วนมีใจความว่า
"เรไรร่ายร้องระดม หริ่งหริ่งระงม เพรียกพฤกษ์ที่ในไพรแวง แม่ม่ายลองไนกระแสง เสียงแหวดแหวแรง ระดมระดื่นพื้นไพร จักจั่นแจ้วแจ้วจับใจ จาดจ้าแจ่มใส สังคีตประโคมอารัญ"
ผู้สำรวจ : นายสุวัฒน์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ หัวหน้าชุดลาดตระเวนสายตรวจส่วนกลาง ฝ่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
บทความ/ภาพโดย : นายประจักษ์ บุญมาจันทร์ (ยักษ์) เจ้าหน้าที่ฝ่ายอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
#กรมอุทยานแห่งชาติ #อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม #ชัยภูมิ #จักจั่นแม่หม้ายลองไน
ท่องเที่ยว
สื่อทางเลือก
สิ่งแวดล้อม
บันทึก
5
1
5
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย