18 ต.ค. 2023 เวลา 10:16 • ไลฟ์สไตล์

"ปลาหิมะ (Snow Fish)" ที่เราเห็นตามร้านอาหารญี่ปุ่น คือปลาอะไรนะ ? 🐳❄

ชะแว้บ… วกกลับมาเรื่องปลากันอีกแล้ว
แต่ว่าหัวข้อนี้เอง ส่วนตัวเราก็ค่อนข้างสงสัยอยู่สักพัก 🤔
ด้วยเหตุที่ชอบกินปลาหิมะตามร้านอาหารญี่ปุ่นอยู่บ่อย ๆ แต่ไม่เคยทราบว่ามันคือปลาอะไร ก็เข้าใจว่า เอ้อ ! มันคือปลาหิมะ เนื้อสีขาวเป็นหิมะตามชื่อละมั้ง
จนกระทั่ง เกิดความอยากซื้อลองมาทำสเต๊กปลาหิมะกินเองที่บ้าน
ไอตอนที่เลือกซื้อนี่ละ…. เอ มันหาไม่เจอแห่ะ ปลาก็มีเยอะไปหมดเลย
พอหาดี ๆ ก็เลยไปเห็นปลา Chilean Seabass ที่มีเนื้อคล้าย ๆ ปลาหิมะในร้านญี่ปุ่น
หยิบขึ้นมาดูก็ร้อง โอ้ะ ! เพราะที่ข้างฉลากเค้ามีเขียนว่า Chilean Seabass (Snow fish)
แต่พอกลับมากินแล้ว ก็…รู้สึกว่ามันเหมือนที่กินในร้านอาหารญี่ปุ่นเลย แต่จำได้ว่าที่ร้านอาหารญี่ปุ่นมันไม่ไช่ตัวนี้นะ… 🧐
(จำไม่ได้แล้วว่าของยี่ห้ออะไร แต่พวกเราไปหาซื้อใน Tops Food hall)
ด้วยความสงสัยตรงนี้ ทำให้พวกเรา InfoStory ต้องขอวกกลับมาไขข้อสงสัย(ส่วนตัว)กับปลาหิมะกันอีกครั้ง 🥲😂
ว่าแต่…เจ้าปลาหิมะที่ร้านอาหารญี่ปุ่นเขานิยมใช้กันนี่ หน้าตาเป็นแบบไหน ? สายพันธุ์อะไรนะ ?
แล้วปลาหิมะที่เราซื้อมาทำเองละ… มันย้อมแมวหรือเปล่า ? ไปรับชมกันเบา ๆ เลยดีกว่า ! 🥰
.
ปล. จากโพสน้องปลาที่ผ่าน ๆ มา เราพอจะเห็นได้ว่ามีเพื่อน ๆ เป็นห่วงในเรื่องของปลาที่ได้รับสารพิษนิวเคลียร์ตกค้างจากญี่ปุ่น(ฟุกุชิมะ) กันเยอะพอสมควร แต่ทั้งนี้พวกเราเพียงแค่ต้องการให้ข้อมูลเป็นเกร็ดสาระความรู้รอบตัวเฉย ๆ นะคร้าบบ 😢🙏🙏
[ เจ้าปลาหิมะที่ร้านอาหารญี่ปุ่นเขานิยมใช้กันนี่ หน้าตาเป็นแบบไหน ? สายพันธุ์อะไรนะ ? 🐋🇯🇵 ]
ต้องบอกก่อนว่าคำนิยามของ “ปลาหิมะ” มันค่อนข้างกว้างพอสมควร
อย่างพวกเราเองก็จะคุ้นเคยกับการเรียกปลาหิมะ 😅
บางประเทศเองก็เหมาเรียก ปลาที่มีเนื้อแน่นหนึบสีขาว (มีไขมัน) ว่าเป็นปลาหิมะเหมือนกันนะ (แต่ไม่ใช่ทุกประเทศนะคร้าบ แค่บางประเทศจริง ๆ)
.
🇯🇵 ปลาหิมะตามร้านอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะเป็นปลา "Gindara" หรือปลาสายพันธุ์ "Black Cod "
เค้ามีชื่ออื่น ๆ อีกด้วยนะ เช่น Sable fish, Alaska Cod, Butter Fish
"Black Cod" เป็นปลาสายพันธุ์ที่มีถิ่นที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (อเมริกาเหนือ, อลาสก้า, ญี่ปุ่น) ว่าง่าย ๆ คืออาศัยอยู่ในทะเลลึกเขตหนาวเย็น (ลึกตั้งแต่ 200 เมตร จนถึง 2,700 เมตรเลย)
ปลา Black Cod เนี่ย นอกจากความอร่อยแล้ว ก็ยังมี Omega-3s ที่สูงมาก ๆ เลยด้วยนะ ! 😋
[ แล้วปลาหิมะที่เราซื้อมาทำเองละ… มันย้อมแมวหรือเปล่า ? 😨🤫 ]
ปลาที่เราจะพูดถึงกันสั้น ๆ ก็คือ เจ้าปลาหิมะที่เราจะหาพบกันได้ง่ายมากกว่า มันคือปลา Pathagonian Toothfish หรือ Chilean Sea bass (Antarctic Toothfish) นั่นเองคร้าบ ซึ่งขอเรียกว่าปลาหิมะทั่วไป (จะได้เข้าใจง่ายๆ)
Chilean Sea bass
ต้องบอกเลยว่า เค้าก็ไม่ได้เป็นปลาย้อมแมวอะไรทั้งนั้น (เพราะราคาก็ไม่ได้ถูกไปกว่าเลย ส่วนตัวเราซื้อมาชิ้นหนึ่ง ราคา 850 บาทเลยแน่ะ แต่ทำกินได้ 2 ครั้งนะ) 🤩👍
เพราะมันก็คือปลาหิมะด้วยเหมือนกัน เผลอ ๆ พวกเราอาจจะได้กินปลาหิมะในเวอร์ชันนี้ มากกว่าปลากินดาระซะอีกนะ
Chilean Sea bass ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส โดยดั้งเดิมจะเรียกชื่อว่า “Patagonian toothfish” 🇫🇷
ก่อนที่ต่อมาปลาชนิดนี้จะเป็นที่นิยมมากในอเมริกา จนมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงสำหรับการค้าว่า Chilean Sea bass 🇺🇸
นื้อก็คล้ายๆอยู่นะ Chilean Sea bass
🤚😉 ด้วยชื่อที่ต่อท้ายว่า Sea bass อาจทำให้เราเข้าใจว่ามันเป็นสายพันธุ์หนึ่งของปลากะพงแน่ ๆ เลย…
❎ แอ้ด แอ้ดดด !! ผิดนะคร้าบบบ เจ้าปลาตัวนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับปลากะพงเลยจ้า เพียงแค่เป็นชื่อเรียกเพื่อให้ติดหูและทำตลาดสำหรับชาวอเมริกาง่ายกว่า นั่นเอง (เราอะโดนหลอกละหนึ่ง 555 ก็ว่าละ เนื้อมันไม่เหมือนกะพงเลย คล้ายแค่สี) 💡
ส่วนอันนี้ปลากะพงทั่วไปเด้อ
😋🍴 ความแตกต่างที่พอจะสังเกตได้ระหว่างปลาหิมะญี่ปุ่นกินดาระ (Black Cod) กับ ปลาหิมะทั่วไป (Chilean Seabass) คือ
เนื้อปลา Black Cod จะมีสีอมเหลืองครีม
เนื้อสัมผัสนุ่มแต่หยาบกว่า Chilean Sea bass
ในขณะเดียวกัน Black Cod ก็จะมีไขมันแทรกสูง จึงทำให้หวานและมันกว่า
Black Cod
ส่วนลักษณะภายนอกที่สำคัญคือ Black Cod ก็ตรงตามชื่อเลยมีเกร็ดสีดำ และมีครีบ 2 จุดบนหลังปลา
ขณะที่ Chilean Sea bass จะมีครีบที่ไล่ยาวตลอดหลัง
3
สารภาพตามตรงเลยว่า เราลองกินมาทั้ง 2 ชิ้น แต่ก็ไม่สามารถจับได้จริง ๆ ว่ามันแตกต่างกันมากแค่ไหน ฮ่า ๆ (อาจจะลิ้นไม่ถึงขั้น) แต่เรื่องความมันของเนื้อเนี่ย พอจะจับได้อยู่นิด ๆ
เว้นแต่ว่า…. จะมีปลาชนิดหนึ่งที่มักจะมาเนียนว่าเป็นปลาหิมะกับเค้าด้วยเหมือนกัน
หากว่า มันเป็นปลาที่มีสารพิษที่ต้องระวังในการกินกันสักหน่อย
ปลาชนิดที่ว่านี้ มีชื่อว่า “Escolar” หรือ “Snake mackerel” 🐍
เจ้าปลาตัวนี้เค้าจะมี Wax Esters ในเนื้อสูงมาก 20-25%
⚠ Wax Esters หรือ Gempyrotoxin คือ เจ้าน้ำมันตัวนี้จะปริมาณมากในผิวและเนื้อปลา ซึ่งมันเป็นสารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้ พอย่อยไม่ได้ก็จะกลายเป็นสารกระตุ้นให้ขับถ่ายอย่างรุนแรง (คือ กินได้นะ แต่ต้องปริมาณน้อยมาก)
เนื้อปลา Escolar แอบเนียนอยู่เลยนะเนี่ย
สรุปสั้น ๆ คือ ปลาหิมะญี่ปุ่น Gindara กับ ปลาหิมะ Chilean Sea bass เป็นปลาคนละสายพันธุ์กัน
แต่ก็อร่อยเหมือนกันทั้งคู่ (แพงเหมือนกันด้วย เออ !) 😋😍
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- บทความ ความเข้าใจผิดของปลา Gindara ที่คุณยังไม่รู้! จากเพจ MAGURO (ร้านซูชิมากุโระ)
- บทความ ปลาหิมะคือปลาอะไร ทำไมมีหลายราคา จากเพจ ถึงบางอ้อกับหมอเอ
- บทความ Alaskan Black Cod vs Cod: Know the Differences! จากเว็บ aksalmonco
- บทความ ALL YOU NEED TO KNOW ABOUT OUR GINDARA SABLEFISH (BLACK COD) จากเว็บ dishthefish
- บทความ ปลาหิมะ หรือ Snow fish จากเว็บ thagoonmanee
- บทความ Snow Fish - ปลาหิมะ ทำความรู้จักกันอีกสักนิด ก่อนสั่งซื้อ จากเว็บ J Gourmet
โฆษณา