Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
learn chinese 来来 ด้วยกันเถอะ
•
ติดตาม
19 ต.ค. 2023 เวลา 07:18 • ข่าวรอบโลก
ไม่ต้องแลกเงิน คนไทยใช้ True Money Wallet ใช้จ่ายในจีนได้แล้ว
True Money จับมือ AliPay+ ดึงคนไทย 7 แสนคน ใช้จ่ายในจีนผ่าน True Money Wallet โดยไม่ต้องแลกเงิน แก้ Pain Point ร้านค้าและบริการในจีนไม่นิยมรับบัตรเครดิต-เงินสด
วันที่ 21 กันยายน 2566 นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ True Money Wallet กล่าวว่า ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยที่ไปจีนมักประสบปัญหาในการซื้อสินค้าและบริการ เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ในจีนไม่นิยมรับบัตรเครดิต หรือรับแค่บางประเภทเท่านั้น บางส่วนก็รับเงินสด ทำให้ต้องแลกเงินสำรองไว้ ทั้งบางบริการเช่นการเรียกรถก็ต้องใช้การสแกนผ่านวอลเลตแทนเงินสด ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้จ่าย
ในขณะเดียวกัน ชาวจีนเองก็ไม่นิยมพกใช้บัตรเครดิต แต่ใช้ระบบคิวอาร์โค้ด ซึ่งตอนนี้ด้วยความร่วมมือระหว่าง ทรูมันนี่ และอาลีเพย์พลัส ทำให้ True Money Wallet เป็นแอปไทยแอปเดียวที่สามารถรองรับระบบการชำระเงินคิวอาร์โค้ดในจีนได้”
ตั้งแต่วันนี้สามารถใช้แอป ทรูมันนี่ ไปสแกนจ่ายที่จีนได้อย่างปลอดภัย และแปลงค่าเงิน ณ จุดจ่ายได้แบบเรียลไทม์
โดยการเข้าไปที่หน้าแอปทรูมันนี่ ตรง QR ชำระเงิน เลือกแท็บ Alipay+ และประเทศที่ต้องการ ยอดเงินคงเหลือในบัญชีทรูมันนี่ ก็จะถูกแปลงเป็นเงินหยวนและเงินสกุลอื่น ๆ ตามประเทศที่เลือกให้เห็น และเอาไปสแกนจ่ายได้ทันทีที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Alipay ทั่วจีน
ดังนั้น ร้านค้าทั่วไปตั้งแต่ร้านขายน้ำมะพร้าว ช็อปปิ้งตามห้างร้าน ไปจนถึงบริการเรียกรถโดยสาร สามารถใช้เงินบาทที่เติมไว้ในวอลเลตได้ทันที แต่ขณะนี้ยังไม่รองรับเครดิตจากบริการ Paynext
นอกจากนี้ ผู้ที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ผ่าน True Money สามารถใช้ยอดเงินจากบัญชีดังกล่าวในการจับจ่ายใช้สอยได้โดยไม่ต้องเติมเงินเข้าวอลเลต
ความร่วมมือของ ทรูมันนี่ กับ แอนท์ กรุ๊ป ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญของเราในการยกระดับบริการใช้จ่ายในต่างประเทศให้สะดวกสบายและเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้นสำหรับคนไทย ไม่ต่างกับการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งนี้ ประเทศจีนถือเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักเดินทางไทย ทั้งกลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดย ทรูมันนี่ จะช่วยให้นักเดินทางนำไปสแกนจ่ายที่จีนได้อย่างคล่องตัวตลอดการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงต้อนรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นที่หางโจว ที่จะมีคนไทยเดินทางไปจำนวนมาก ด้วยความร่วมมือของเรากับ แอนท์ กรุ๊ป ผู้ใช้สามารถสแกนจ่ายด้วยทรูมันนี่ผ่านโซลูชั่นและร้านค้าในเครือข่ายของ Alipay+ ในจีนซึ่งครอบคลุมมากกว่าหลายสิบล้านล้านจุดทั่วประเทศ”
ไม่ต้องแลกเงิน คนไทยใช้ True Money Wallet ใช้จ่ายในจีนได้แล้ว
วันที่ 21 กันยายน 2566 - 16:46 น.
True Money จับมือ AliPay+ ดึงคนไทย 7 แสนคน ใช้จ่ายในจีนผ่าน True Money Wallet โดยไม่ต้องแลกเงิน แก้ Pain Point ร้านค้าและบริการในจีนไม่นิยมรับบัตรเครดิต-เงินสด
วันที่ 21 กันยายน 2566 นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ True Money Wallet กล่าวว่า ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวไทยที่ไปจีนมักประสบปัญหาในการซื้อสินค้าและบริการ เพราะร้านค้าส่วนใหญ่ในจีนไม่นิยมรับบัตรเครดิต หรือรับแค่บางประเภทเท่านั้น บางส่วนก็รับเงินสด ทำให้ต้องแลกเงินสำรองไว้ ทั้งบางบริการเช่นการเรียกรถก็ต้องใช้การสแกนผ่านวอลเลตแทนเงินสด ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้จ่าย
นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ True Money Wallet
“ในขณะเดียวกัน ชาวจีนเองก็ไม่นิยมพกใช้บัตรเครดิต แต่ใช้ระบบคิวอาร์โค้ด ซึ่งตอนนี้ด้วยความร่วมมือระหว่าง ทรูมันนี่ และอาลีเพย์พลัส ทำให้ True Money Wallet เป็นแอปไทยแอปเดียวที่สามารถรองรับระบบการชำระเงินคิวอาร์โค้ดในจีนได้”
ตั้งแต่วันนี้สามารถใช้แอป ทรูมันนี่ ไปสแกนจ่ายที่จีนได้อย่างปลอดภัย และแปลงค่าเงิน ณ จุดจ่ายได้แบบเรียลไทม์
โดยการเข้าไปที่หน้าแอปทรูมันนี่ ตรง QR ชำระเงิน เลือกแท็บ Alipay+ และประเทศที่ต้องการ ยอดเงินคงเหลือในบัญชีทรูมันนี่ ก็จะถูกแปลงเป็นเงินหยวนและเงินสกุลอื่น ๆ ตามประเทศที่เลือกให้เห็น และเอาไปสแกนจ่ายได้ทันทีที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Alipay ทั่วจีน
ดังนั้น ร้านค้าทั่วไปตั้งแต่ร้านขายน้ำมะพร้าว ช็อปปิ้งตามห้างร้าน ไปจนถึงบริการเรียกรถโดยสาร สามารถใช้เงินบาทที่เติมไว้ในวอลเลตได้ทันที แต่ขณะนี้ยังไม่รองรับเครดิตจากบริการ Paynext
นอกจากนี้ ผู้ที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ผ่าน True Money สามารถใช้ยอดเงินจากบัญชีดังกล่าวในการจับจ่ายใช้สอยได้โดยไม่ต้องเติมเงินเข้าวอลเลต
“ความร่วมมือของ ทรูมันนี่ กับ แอนท์ กรุ๊ป ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญของเราในการยกระดับบริการใช้จ่ายในต่างประเทศให้สะดวกสบายและเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้นสำหรับคนไทย ไม่ต่างกับการใช้จ่ายในประเทศ ทั้งนี้ ประเทศจีนถือเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักเดินทางไทย ทั้งกลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดย ทรูมันนี่ จะช่วยให้นักเดินทางนำไปสแกนจ่ายที่จีนได้อย่างคล่องตัวตลอดการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงต้อนรับการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นที่หางโจว ที่จะมีคนไทยเดินทางไปจำนวนมาก ด้วยความร่วมมือของเรากับ แอนท์ กรุ๊ป ผู้ใช้สามารถสแกนจ่ายด้วยทรูมันนี่ผ่านโซลูชั่นและร้านค้าในเครือข่ายของ Alipay+ ในจีนซึ่งครอบคลุมมากกว่าหลายสิบล้านล้านจุดทั่วประเทศ”
ADVERTISEMENT
นางสาวมนสินีกล่าวด้วยว่า ข้อมูลนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปที่จีนในช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 700,000 คน โดยแต่ละคนมีการใช้จ่ายราวคนละ 20,000 บาท ในการท่องเที่ยวหนึ่งครั้ง คาดว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวเหล่านี้ให้มาใช้ True Money Wallet แทนการพกบัตรเครดิต หรือแลกเงินสดได้ 80-90% ของจำนวนนักท่องเที่ยวดังกล่าว
นอกเหนือจากทรูมันนี่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ แอนท์ กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับอีวอลเลตและแอปชำระเงินชั้นนำอีก 6 ประเทศในเอเชีย ภายใต้โครงการ “Alipay+-in-China (A+China program)” เพื่อยกระดับบริการด้านการชำระเงินผ่านแอปในจีนให้มีความเป็นสากลขึ้น โดยการขยายบริการในครั้งนี้ ทำให้มีอีวอลเลตและแอปชำระเงินรวมจาก 10 ประเทศทั่วโลกที่สามารถใช้จ่ายที่จีนได้
นอกจากนี้ ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนถือเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีคนไทยไปพักอาศัยอยู่สูงสุด และนิยมไปเที่ยวมากที่สุด โดยหลังจากที่จีนได้ยกเลิกข้อจำกัดด้านการเดินทาง และเปิดให้นักท่องเที่ยวไทยสามารถขอวีซ่าเพื่อเดินทางเข้าประเทศได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นมา คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทย ทั้งกลุ่มที่เดินทางเพื่อการพักผ่อนและการทำธุรกิจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างช่วงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 ที่หางโจว ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเทศกาลปลายปีและต้นปีของจีน
อ้างอิง ประชาชาติธุรกิจ
ข่าวรอบโลก
จีน
การเงิน
1 บันทึก
6
2
1
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย