Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
19 ต.ค. 2023 เวลา 16:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เตรียมบอกลาประสบการณ์ตกหลุมอากาศสุดหลอน
เมื่อ Startup จากออสเตรียพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการสั่นสะเทือนระหว่างการบินอันมีสาเหตุจากการตกหลุมอากาศ
ปัจจุบันการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และหลายคนคงเคยมีประสบการณ์อันน่าสะพรึงจากการที่เครื่องบินที่นั่งมาเกิดตกหลุมอากาศอย่างรุนแรง
อย่างที่เคยเห็นในข่าวความรุนแรงนั้นถึงขั้นข้าวของกระจุยกระจายท้ังลำผู้โดยสารหัวล้างข้างแตกแขนขาหักก็มี ทั้งนี้สาเหตุหลักนั้นมาจาก clear air turbulence ท้องฟ้าที่ดูสดใสแต่ซ่อนไว้ซึ่งกระแสลมแปรปรวนที่แม้แต่กัปตันที่มากประสบการณ์และเรดาห์ตรวจอากาศของเครื่องบินก็ไม่อาจจะล่วงรู้และส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้รัดเข็มขัดได้ทันท่วงที
กระแสอากาศปั่นป่วนเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งกระแสลม Jet stream ที่ด้านบนกับด้านล่าววิ่งเร็วไม่เท่ากัน หรือลมหวนด้านหลังภูเขาเป็นต้น
รวมถึงด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเราในปัจจุบัน ซึ่งมีรายงานวิจัยบ่งชี้ว่าส่งผลกระทบต่อโอกาสการเจอ Clear-Air Turbulence มากขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณอเมริกาเหนือ ยุโรปมาจนถึงตะวันออกกลาง และพื้นที่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก
เป็นผลให้สายการบินต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มีเส้นทางบินในบริเวณนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาที่เกิดจากการตกหลุมอากาศเพิ่มขึ้นไม่น้อย อันเกิดจากการที่ต้องปรับเส้นบินหลบพื้นที่เสียงหรือต้องลดความเร็ว รวมถึงความเสียหายและความสึกหรอที่เกิดขึ้นกับตัวเครื่องบิน
พื้นที่สีแดงคือมีโอกาสเจอ Clear-Air Turbulence มากขึ้น ซึ่งแถวบ้านเราจะได้รับผลกระทบเชิงบวก
ซึ่งล่าสุดก็ได้มีบริษัท Startup จากออสเตรียได้พัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจจับ คาดการณ์และสั่งการให้เครื่องบินตอบสนองต่อกระแสอากาศปั่นป่วนเพื่อลดผลกระทบรุนแรงจากการตกหลุมอากาศ
1
ด้วยอาศัยทั้งอุปกรณ์ตรวจจับ ซอฟแวร์ประมวลผลที่ทำงานร่วมกับระบบควบคุมการบินของเครื่องบิน
เรียนรู้เพิ่มเติม
youtube.com
Turbulence Solutions - Making flights turbulence-free
We develop smart wings, which sense turbulence of the environment and adapt their shape to suppress the effects of turbulence in flight. Turbulence frequentl…
โดยแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ก็มาจากการเลียนแบบการบินของนกในธรรมชาติที่พวกมันสามารถร่อนโต้ลมได้อย่างมั่นคงเพราะขนนกปลายปีกที่ช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับการบินของพวกมัน
ด้วยแท่งตรวจวัดแรงดันอากาศที่ยื่นออกจากปลายปีกด้านหน้าประมาณ 2 เมตร ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแรงดันอากาศที่วัดได้จะถูกนำมาใช้คาดการณ์ลักษณะกระแสลมที่จะกระทำกับตัวเครื่องบินและส่งข้อมูลไปยังระบบควบคุมการบินของเครื่องบินสั่งการปรับแพนหางระดับเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
1
ผลจากการทดสอบใช้งานในเครื่องบินเล็กพบว่าลดการสั่นสะเทือนลงไปได้มาก
ซึ่งการการทดสอบระบบในเครื่องบินทดสอบขนาดเล็กนั้นพบว่าสามารถช่วยลดการสั่นสะเทือนลงไปได้เฉลี่ยกว่า 80% หรือประมาณ 0.5G เลยทีเดียว
ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้กว่าจะมีการนำมาใช้งานในเครื่องบินโดยสารเป็นอุปกรณ์มาตราฐานคงต้องมีการพัฒนาและทดสอบกันอีกสักพัก
ระหว่างนี้หากต้องโดยสารเครื่องบินให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า แม้จะไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนให้รัดเข็มขัดนิรภัยแต่ก็ควรคาดเข็มขัดเอาไว้ตลอดเวลา เพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเจอหลุมอากาศสุดโหดกันตอนไหน
อ้างอิง:
https://themessenger.com/tech/turbulence-solution-austrian-startup-airplanes-flights
https://interestingengineering.com/transportation/this-technology-aims-to-reduce-mid-air-turbulence-in-aeroplanes
https://turbulence-solutions.aero/technology/
https://agupubs.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1029/2023GL103814
ข่าวรอบโลก
เทคโนโลยี
ความรู้รอบตัว
7 บันทึก
23
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Technology for the better life
7
23
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย