Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฝึกเขียน สู่แพทย์แผนไทยประยุกต์
•
ติดตาม
24 ต.ค. 2023 เวลา 10:00 • สุขภาพ
ฉกาลวาโย ธาตุลม 6 ประการ
เมื่อกล่าวถึงธาตุหนักไปแล้ว คราวนี้ก็ถึงคราวของธาตุเบาบ้างแล้วครับ ธาตุลมและธาตุไฟจะเป็นอย่างไร เชิญรับฟังครับ
ฉกาลวาโยธาตุหรือธาตุลม มีลักษณะเคร่งตึง เคลื่อนไหวได้ มองไม่เห็น แต่แสดงสัมผัส เป็นสิ่งที่รู้ว่ามี สามารถเปลี่ยนแปลงปรับหรือแปรปรวนได้ง่ายในแต่ละ “เวลา” ในชื่อจึงมีคำว่า “กาล” อยู่ด้วย
ในที่นี้คำว่า ลม หรือ วาโย คือ คุณสมบัติหรือคุณลักษณะของการเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ ส่วนธาตุลม หรือ วาโยธาตุ คือ “สิ่ง” ที่เคลื่อนไหว เคลื่อนที่ไปได้อย่างมีทิศทาง วาโยธาตุนั้นมี 6 ประการ ประกอบด้วย
1 อุทธังคมาวาตา ลมพัดขึ้นเบื้องบน อาจเทียบได้กับระบบประสาทรับความรู้สึก หรือ Sensory
2 อโธคมาวาตา ลมพัดลงเบื้องล่าง อาจเทียบได้กับระบบประสาทสั่งการ หรือ Motor
3 กุจฉิสยาวาตา ลมที่พัดอยู่ในช่องท้องนอกลำไส้ เทียบได้กับการเคลื่อนไหวจากการหดคลายตัวของกล้ามเนื้อในช่องท้อง
4 โกฏฐาสยาวาตา ลมที่พัดอยู่ในลำไส้ อาจเทียบกับการเคลื่อนไหวของก๊าซในทางเดินอาหาร หรือ Bowel gas
5 อังคมังคานุสารีวตา ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย) เป็นลมกองใหญ่ที่สุด อาจเทียบได้กับการเคลื่อนไหวจากการหดคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง
6 อัสสาสะปัสสาสะวาตาลมหายใจเข้า-ออก เป็นลมกองสำคัญที่ทำให้เกิดกองลมอื่น ๆ เกิดจากการหายใจเข้า และการหายใจออก
ทั้งยังอาจจำแนกธาตุลม หรือ กองลม ได้เป็น 2 กอง คือ
วิทถัมภนวาโย คือ วาโยธาตุที่มีลักษณะเคร่งตึง ทำให้รูปที่เกิดขึ้นตั้งมั่น เรียก ลมกองหยาบ หรือ ก๊าซ
สมีรณวาโย คือ วาโยธาตุที่มีลักษณะเคลื่นไหว เรียก ลมกองละเอียด หรือ การเคลื่อนไหว การหดคลายตัวนั่นเอง
ถ้าชอบก็ฝากกดไลก์👍 กดแชร์➡ กดติดตาม🔁 ไว้ด้วยนะครับ🙏🙏🙏
1 บันทึก
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย