23 ต.ค. 2023 เวลา 03:00 • การเมือง

รายงานพิเศษ : วิบากกรรมแจกเงินดิจิทัลเดิมพัน“เศรษฐา”

มารอดูกันว่า “โครงการแจกเงินดิจิทัล” ที่ “เพื่อไทย” คิด “เศรษฐา”รับหน้าเสื่อทำ จะเจออุปสรรคอะไรทำให้ต้องสะดุดหยุดลง หรือมีอุปสรรคอะไรหรือไม่ รายงานพิเศษ : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
4
ภายในไตรมาสแรกของปี 2567 (ขยับจาก 1 ก.พ. 67) เป็นไทม์ไลน์ที่รัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน กำหนดไว้ที่จะแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แก่คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 56 ล้านคน ด้วยวงเงินมหาศาล 5.6 แสนล้านบาท อันเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2566
1
แต่ทว่า นโยบายดังกล่าวกลับถูกต่อต้านอย่างหนัก จากทั้ง นักวิชาการ อดีตคนแบงก์ชาติ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) และ ภาคประชาชนบางส่วน เพราะต่างห่วงใยถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อเศรษฐกิจไทย และเกรงจะซ้ำรอยกับโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีการทุจริตมหาศาลเกิดขึ้น
1
ยื่นผู้ตรวจฯสอบเงินดิจิทัล
โดยเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ไต่สวนและมีความเห็นส่งศาลปกครอง เพื่อระงับโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาล
นพ.วรงค์ กล่าวว่า ต้องการขอให้ระงับยับยั้งโครงการนี้ เพราะหากยังเดินหน้าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง และขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
3
นพ.วรงค์ ชี้ว่า สิ่งที่กระทำทั้งหมดจะนำไปสู่การขัดต่อกฎหมายหลายมาตรา ทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 (แหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย), มาตรา 164 (รักษาวินัยในกิจการที่เกี่ยวกับเงินแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด) , พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 และการนำโทเคนมาใช้จ่ายแทนธนบัตร เสี่ยงขัดต่อ พ.ร.บ.เงินตรา 2501 มาตรา 6 มาตรา 9
2
“โครงการดิจิทัล 5.6 แสนล้านบาท มีหน่วยงานออกมาเตือนไม่แตกต่างกับสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ (จำนำข้าว) ในสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตายด้วยทุจริต แต่โครงการนี้ถ้ารัฐบาลเดินหน้า ก็จะตายด้วยทุจริต ด้วยการใช้โทเคน แต่ถ้าไม่ใช้โทเคน โอนเป็นเงินสดผ่านบัญชีโกงยาก อันนั้นอาจจะไม่ตาย แต่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับการเงินการคลังของประเทศ ขอเตือนหากใช้โทเคนเมื่อไหร่คุกรออยู่แน่นอน” หมอวรงค์ ระบุ
3
“รสนา”งัด6เหตุผลค้าน
ถัดมาวันที่ 19 ต.ค. 2566 น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. ได้เดินสายยื่นประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตั้งกรรมการศึกษาโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต
2
น.ส.รสนา กล่าว่า การยื่นต่อประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้เป็นเจ้าภาพเรื่องนี้ ถ้าพบว่าข้อเท็จจริงที่จะสามารถพิจารณายับยั้งได้ ก็ขอให้เรียนเชิญประธาน กกต. และ ประธาน ป.ป.ช. มาประชุมร่วมกันเพื่อลงมติว่าควรจะยับยั้งเรื่องนี้หรือไม่ โดยขอให้ตรวจสอบกรณีแจกเงินดิจิทัล มีปัญหามิชอบด้วยกฎหมายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐ
1
น.ส.รสนา อ้าง 6 เหตุผล ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินการคลังของรัฐ และอยากให้ตรวจสอบ คือ 1.ผลได้ไม่คุ้มเสีย 2.น่าขัดต่อ พ.ร.บ.เงินตรา 3.เพิ่มความสิ้นเปลืองงบประมาณประเทศโดยไม่จำเป็น 4.หลีกเลี่ยงหลักการใช้เงินแผ่นดิน ไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่งบประมาณ
2
5.ซุกหนี้สาธารณะ น่าจะหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและซุกหนี้สาธารณะ 6.ขัด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 9 วรรค 3 โดยรัฐบาลต้องไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินไปใช้ในการหาเสียง ซึ่งการแจกเงินให้เด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป เป็นการหาเสียงทางการเมือง เปรียบเสมือนกับการตกเขียว เด็กอายุ 16 ปี อีก 4 ปีข้างหน้าก็อายุ 20 ปี
ส.ว.ห่วงขัดรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 ในการประชุมวุฒิสภา(ส.ว.) นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. ได้แสดงความห่วงใยโครงการแจกเงินดิจิทัล ตอนหนึ่งระบุว่า แกนนำพรรคเพื่อไทยทำผิดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 ตั้งแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เพราะไม่ได้ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่าย ปัจจุบันก็ยังไม่มีการชี้แจง สุ่มเสี่ยงขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องไม่บริหารโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน
นายเฉลิมชัย ตั้งข้อสังเกตว่า นายกฯ ยังให้ข่าวอย่างต่อเนื่องว่า ในวันที่ 1 ก.พ. 2567 เงินดิจิทัลจะเข้าสู่ระบบ และประชาชนทุกคนจะได้เงิน แต่จะเอาเงินมาจากไหน ในเมื่อปฏิทินงบประมาณปี 2567 จะออกในเดือน เม.ย. 2567 แสดงว่า ครม. ต้องใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารของรัฐ หรือธนาคารออมสิน แต่เงินกู้ที่ได้มาก็ต้องเป็นเงินแผ่นดินเช่นกัน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
 
+ปปช.-ผู้ตรวจฯ จับตา
2
ก่อนหน้านั้น องค์กรอิสระต่างๆ ก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ-จับตา ประกอบด้วย
2
11 ต.ค. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้สำนักงาน ป.ป.ช. ตั้งคณะกรรมการศึกษาโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่า มีข้อน่าห่วงใย หรือ สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต หรือผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระยะยาวหรือไม่
12 ต.ค. 2566 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติรับคำร้องเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง กรณี วิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ยื่นเรื่องให้วินิจฉัยเพื่อส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง เนื่องจากอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพรบ.วินัยการเงินการคลัง
1
...มารอดูกันว่า “โครงการแจกเงินดิจิทัล” ที่ “เพื่อไทย” คิด “เศรษฐา”รับหน้าเสื่อทำ จะเจออุปสรรคอะไรทำให้ต้องสะดุดหยุดลง หรือมีอุปสรรคอะไรหรือไม่
เศรษฐา : “อย่ายอมให้ใครยับยั้ง”
หลังจากมีกระแสต้านอย่างหนักสำหรับโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้โพสต์ข้อความผ่าน X ระบุว่า “แจกเงินดิจิทัล มีทั้งคนเห็นด้วยเเละไม่เห็นด้วย ในฐานะรัฐบาลรับฟังทุกความเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดี แต่ต้องการให้คนที่เห็นด้วยกับ โครงการ Digital Wallet ส่งเสียงและอย่ายอมให้ใครมายับยั้งโครงการโดยไม่มีเหตุผล
1
ผมทราบดีว่า โครงการ Digital Wallet นั้นมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เราในฐานะรัฐบาลของประชาชนจึงรับฟังทุกความเห็นเพื่อเอามาปรับให้ดีและตรงใจทุกคน
ผมอยากให้เราลองนึกภาพไปด้วยกันว่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้มีเงินเข้ามาในระบบ 560,000 ล้านบาท
ถ้าท่านเป็นภาคอุตสาหกรรมท่านจะผลิตสินค้ามารองรับไหม จะต้องซื้อวัสดุเพื่อมาผลิตสินค้าเตรียมขายหรือไม่ จะมีการจ้างคนเพิ่มไหม แล้วเงินจะเข้ามาอยู่ในกระเป๋าของพี่น้องประชาชนเท่าไหร่ เราตั้งใจให้เงินถูกเอาไปใช้ในพื้นที่ตามบัตรประชาชนของท่าน เพื่อช่วยพัฒนาชุมชนที่ท่านอยู่ ไม่ใช่พัฒนาเมืองใหญ่อย่างเดียว
หากท่านเห็นตรงกันกับผม และชอบโครงการนี้อยู่ ท่านอย่ายอมให้คนที่ไม่เห็นด้วยโดยไม่มีเหตุผลมายับยั้งโครงการนี้ และขอให้ส่งเสียงบอกกับพวกเราบ้างว่า ท่านมีความสุข และดีใจที่รัฐบาลนี้ทำให้ เราเองก็อยากได้กำลังใจจากทุกคน เพราะพวกเราตั้งใจมาทำงานให้พี่น้องประชาชนจริง ๆ ครับ"
5
โฆษณา