22 ต.ค. 2023 เวลา 05:41 • เกม

War of the ring: the awakening of all kings

(War of the ring: 2nd edition (2011) + Lords of middle-earth (2012) + Kings of middle-earth (2023))
Designer: Roberto Di Meglio, Marco Maggi, Francesco Nepitello
เรื่องราวพันธมิตรแห่งแหวนของ J.R.R. Tolkein น่าจะเป็นเรื่องราวที่ใครหลายต่อหลายคนสนใจ และที่สำคัญ สำหรับเกม War of the ring น่าจะเป็นเกมจำลองสงครามระดับเทพ ที่ใครๆ หลายคนคงเคยได้ลองแล้ว แถมตอนนี้ยังมีแปลไทยให้เล่นกันเข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย แต่ล่าสุดในเกมได้มีภาคเสริมออกใหม่วางขายครั้งแรกในงาน Essen Spiel 2023 ที่เราเพิ่งไปมา โดยมีชื่อว่า Kings of middle-earth เราจึงได้มีโอกาสสอยมาลองเล่นแบบจานร้อน และจะหยิบมาเล่าให้อ่านเล่นกันค่ะ
ในส่วนของ Kings of middle-earth จะพาเราไปจำลองสถานการณ์ของการแย่งยื้อบรรดากษัตริย์แห่ง middle-earth (Brand: King of Dale, Dain: King under the mountain, Denethor: Lord Steward of Gondor, Theoden: King of the Riddermark, Thranduil: King of the Woodland realm) ให้มาร่วมมือเป็นพันธมิตรแห่งแหวนด้วยกันก่อนที่ฝั่ง Shadow (ฝ่ายเงามืด) จะสามารถทำการล่อลวงให้กษัตริย์ของแต่ละเผ่าพันธุ์หลงผิดมาเข้าร่วมเป็นสมุนฝ่ายตนเอง และขัดขวางภารกิจส่งแหวนของฝั่ง Free people (ฝ่ายเสรีชน) สำเร็จ
นอกจากนี้ฝ่าย shadow ยังมีตัวละครสนับสนุน อย่างกลุ่ม Dark Chieftains (The Shadow of Mirkwood, Ugluk, The black serpent) เพิ่มเข้ามาเป็นลูกสมุนให้เรียกใช้เสริมกำลังการตามล่าฝั่ง Free people อีกแรงด้วย
ในตัวเกมหลัก War of the ring เป็นเกมที่ถูกออกแบบมาสำหรับ 2 คน แต่มีกฎที่สามารถปรับเล่น 3-4 คนได้ การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการแข่งกันทำภารกิจของฝั่ง Free people ผู้ซึ่งต้องทำภารกิจส่งแหวนไปทำลายยังปากปล่องมฤตยู VS ฝั่ง Shadow ที่ต้องขัดขวางกลุ่ม fellowship of the ring และยึดพื้นที่ใน middle-earth ให้ได้มากที่สุดเพื่อทำลายเผ่าพันธุ์ของฝั่ง Free people ซึ่งจาก concept นี้เองทำให้เกมนี้เป็นเกมจำลองสงครามที่มีมากกว่าแค่มิติของการยกทัพตีกัน
เริ่มเกมแต่ละฝ่ายจะได้จั่วการ์ด 2 ใบเพื่อใช้ในการเลือกไปเล่น event หรือเล่นใน combat จากนั้นจะทำการทอย action dice ของแต่ละฝ่าย โดยที่ฝ่าย shadow จะมีลูกเต๋ามากกว่า และก่อนทอยเต๋าสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บเต๋าบางส่วนไปใส่ไว้ใน hunt box เพื่อเตรียมไว้สำหรับไล่ล่ากลุ่ม fellowship หรือไม่ แล้วจึงทอยเต๋าที่เหลือทั้งหมดของแต่ละฝ่าย ซึ่งหากฝ่าย shadow ทอยได้สัญลักษณ์ Eye of Sauron ก็จะต้องเอาเต๋าเหล่านั้นไปใส่ใน hunt box เช่นกัน
เต๋าที่อยู่ใน hunt box จะช่วยฝ่าย shadow ในการเพิ่มโอกาสไล่ล่าเหล่า fellowship ในตอนที่พวกเค้าออกเดินทาง (เคลื่อน fellowship track) และทำให้ผู้ถือแหวนถูกดึงเข้าสู่ด้านมืดมากขึ้นเรื่อยๆ หากผู้ถือแหวนถูกครอบงำเต็มที่ก็ถือว่าภารกิจล้มเหลวทำให้ฝั่ง shadow เข้าเงื่อนไข auto win และจบเกมลงในทันที (Corruption points ถึง 12 แต้ม) ตรงกันข้ามหากผู้ถือแหวนรุดหน้าเดินทางไปถึง Mordor และพาแหวนเดินขึ้นไปถึงปากปล่อง Mount Doom เพื่อทำลายได้สำเร็จก่อนที่จะถูกครอบงำ ฝั่ง Free people ก็จะเป็นผู้ชนะไปทันทีแทน
Action ที่สามารถทำได้ของแต่ละฝ่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับหน้าเต๋าที่ทอยได้ เช่น การจั่วการ์ด/เล่นการ์ด event, เรียกตัวละครพิเศษลงเล่นตามเงื่อนไข, เคลื่อนกลุ่ม fellowship, เคลื่อนทัพ, เกณฑ์พลทหารเพิ่ม โดยในเกมนี้การจะเกณฑ์พลทหารเพิ่ม หรือการเคลื่อนทัพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโจมตีจะทำได้เฉพาะในเผ่าพันธุ์ที่เข้าสู่สถานะสงครามแล้วเท่านั้น หากเผ่าพันธุ์ไหนยังคงไม่เข้าสู่สถานะสงคราม ก็จะทำได้แค่การแปรทัพ และเป็นผู้ตั้งรับ ไม่สามารถพุ่งตรงไปเปิดศึกได้เลยตั้งแต่เริ่มเกม
ในแง่ของการยกทัพตียึดพื้นที่ก็ถือเป็นวิธีชนะเกมอีกวิธีนึงของทั้งสองฝ่าย นั่นคือเมื่อจบแต่ละรอบจะมีการเข้าสู่ phase victory check ในช่วงนี้เองหากฝั่ง shadow ยึดเมืองรวมแต้มได้ถึง 10 แต้มหรือมากกว่าก็จะเป็นฝ่ายชนะเนื่องจากสามารถทำลายเผ่าพันธุ์ฝั่ง Free people ให้ล่มสลายได้ ส่วนฝั่ง Free people ขอเพียง 4 แต้มก็จะถือว่าต่อกรกับพลังของ Dark Lord ได้สำเร็จ และเป็นผู้ชนะไปแทน
เพียงแค่ส่วนของเกมหลักนี้ก็ทำให้เราอินกับ theme ได้มากๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นแฟนเดนตายก็ชอบได้ การเดินทางนำแหวนไปทำลาย การโดนครอบงำของผู้ถือแหวน การไล่ล่าของEye of Sauron ไหนจะความสามารถพิเศษตัวละคร และ Event ที่เล่นได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วย recall คุณกลับไปยังภาพยนตร์ไตรภาคนั้นได้เป็นอย่างดี
ระบบการต่อสู้อาจจะยุ่งยากไปนิด เพราะต้องรอเข้าสู่ภาวะสงคราม แต่มันก็ล้อไปกับเส้นเรื่องที่ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีใครไปอยากเปิดศึกกับฝ่าย shadow โดยไม่จำเป็น หากภัยไม่จวนตัว และไม่ได้รับการเตือนให้รู้ถึงการกลับมาของ Dark Lord จากเหล่า Fellowship
ในรอบนี้เราได้เล่นโดยใส่ภาคเสริมไป 2 ตอนคือ เสริมแรกอย่าง Lords of middle-earth และเสริมล่าสุดคือ Kings of middle-earth
Lords of middle-earth
ภาคเสริมนี้จะเพิ่มความสามารถของ three Elven ring ให้กับฝ่าย Free people ซึ่งเดิมในเกมหลัก Elven ring เป็นเหมือน Free token ที่ให้ทิ้งเพื่อเปลี่ยนหน้า action dice เป็นหน้าที่เราต้องการ แต่ในตัวเสริมนี้จะมีผู้ถือครองแหวนทั้งสามวงเป็นผตัวละครเพิ่มให้ ได้แก่ Gandalf the Grey ผู้ครอง Narya ring (มีความสามารถใหม่เพิ่มมาให้เลือกเล่นสลับกับ Gandalf ในเกมหลักได้), Lord Elrond ผู้ครอง Vilya ring และ Lady Galadriel ผู้ครอง Nenya ring
โดยเมื่อเราเรียกตัวละครเหล่านี้ลงไปในพื้นที่ที่กำหนดได้ เราก็จะสามารถใช้ความสามารถพิเศษของ Elven ring เพิ่มได้ รวมถึงจะได้เพิ่ม Keeper dice ลงไปใน action dice pool ของเราด้วย
ส่วนในฝั่ง Shadow จะมีการเพิ่มตัวละคร The Balrog ซึ่งเมื่อลงเล่นจะมีบทบาทในการช่วยล่ากลุ่ม fellowship ให้ง่ายขึ้น และเพิ่ม Gothmog ซึ่งช่วยในการ recruit Sauron unit ได้ง่ายขึ้น ทั้งสองตัวละครนี้เมื่อได้ลงเล่นก็จะเพิ่ม action dice พิเศษให้กับฝั่ง Shadow เช่นกัน นอกจากนี้ยังมี version เสริมของตัวละคร The Mouth of Sauron และ The Witch-king ให้เลือกสลับเล่นได้อีกด้วย
Kings of middle-earth
ภาคเสริมนี้จะเพิ่มกฎการเล่นที่ซับซ้อนขึ้นเข้ามา นั่นคือเรื่องราวของเหล่ากษัตริย์แห่ง middle-earth เพราะพวกเค้าทุกคนจะถูก set up ไว้เริ่มต้นในเกมเลยตามตำแหน่งเมืองสำคัญที่ตนเองปกครอง แต่อยู่ในสภาพ non-awakened ซึ่งหมายถึง พวกเค้าเป็นผู้นำที่ร่วมต่อสู้เฉพาะเมื่อยามจำเป็นได้ แต่ยังไม่เข้าสู่พันธมิตรแห่งแหวน
แต่เมื่อใดก็ตามที่ฝั่ง Free people สามารถปลุกให้พวกเค้าตื่นรู้ขึ้นมาได้ (Awakened) เหล่ากษัตริย์ผู้ตื่นรู้จะเข้าร่วมการเป็นพันธมิตรแห่งแหวนด้วยการเพิ่มความสามารถพิเศษในการรบให้กับ Free people ตามเงื่อนไขที่กำหนด และยังเพิ่มโอกาสการเลือก action ด้วยการเพิ่ม ruler dice เข้ามา โดยจะใช้เปลี่ยนกับ action dice ปกติได้หลังจากทอยเต๋าแล้ว เผื่อผลลัพธ์ของ ruler dice ดีกว่า หรือเข้ากับเงื่อนไขความสามารถพิเศษของกษัตริย์ที่เราได้ปลุกขึ้นแล้ว
ในทางกลับกันหากเราเพิกเฉย ไม่ได้ทำให้กษัตริย์ทั้งห้าคนนี้ตื่นรู้ อาจกลายเป็นว่าพวกเค้าถูกฝั่ง shadow พยามเข้าครอบงำจนทำให้ corrupted กลายเป็นกษัตริย์ผู้แตกสลายหันหน้าเข้าสู้ด้านมืด ซึ่งเมื่อนั้นเอง shadow จะได้ประโยชน์จาก corrupted king แทนซึ่งเป็นความสามารถพิเศษในด้านมืดของกษัตริย์แต่ละคน รวมถึงขัดขวางการเกณฑ์ทหารชั้นสูง (Elite unit) หรือผู้นำทหาร (Leader) ของเผ่าพันธุ์ตนเองมาใช้ในการร่วมรบอีกด้วย และจะเป็นเช่นนั้นไปจนกว่าตัวละครในเผ่าพันธุ์เดียวกันจะเข้าไปกำจัดกษัตริย์ผู้หลงผิดนั้นได้
นอกจากนี้ฝั่ง shadow ยังได้ตัวละครที่เรียกว่ากลุ่ม Dark Chieftains เพิ่มมาอีก 3 ตัว ซึ่งเน้นช่วยความสามารถในแง่ของการรบให้กับฝั่ง shadow และเมื่อมีการเรียกตัวละครกลุ่มนี้เข้ามา shadow ก็จได้เต๋า shadow ruler dice ที่มีหลักการใช้เหมือนกันกับ ruler dice ของ Free people คือเมื่อทอยเต๋า และเลือกเล่น ruler die เราจะต้องเลือกทิ้งผลลัพธ์ของ action dice ปกติไปหนึ่งลูก
ในส่วนภาค Lords of middle-earth เป็นภาคเสริมเล็กๆ ที่ช่วยคนเล่นได้มาก สิ่งที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มมาเพื่อช่วยเหลือฝั่ง Free people ให้เล่นการรบได้ง่ายขึ้น และไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการเล่นมากจนทำให้ซับซ้อนเกินไป ของฝั่ง shadow ก็เป็นการเพิ่มเติมความหลากหลายของตัวละคร และเพิ่มแนวทางการล่าแหวนด้วยตัวละคร Balrog ที่ตอนเล่นเราชอบเรียกออกมา และส่งเค้าบินโฉบไปดักทาง Frodo ให้จับได้ง่ายขึ้น เดินยากขึ้น ในแง่ของคนที่เล่นเกม War of the ring มือใหม่ๆ เสริมนี้ก็ถือว่าออกมาช่วยลดความอึดอัด และความยากของเกมได้ดี
แต่ในภาค Kings of middle-earth อาจจะเป็นความตรงกันข้าม เสริมนี้เพิ่ม complexity ให้กับเกมเยอะ แต่ก็เพิ่ม thematic ระดับสูงให้กับเกมด้วยเช่นกัน ถ้าคุณเล่น War of the ring มาสักพักแล้ว และคุ้นเคยกับเกมดี การใส่ Kings of middle-earth จะทำให้คุณสนุกกับเกมยิ่งขึ้นไปอีก มันน่าตื่นเต้นมากที่เราจะได้เห็นว่า corrupted king ส่งผลเสียยังไงกับอาณาจักร และเผ่าพันธุ์ของตน ในทางตรงกันข้าม เค้าก็สามารถช่วยเหลือดินแดนของตนได้มาก เมื่อเค้าตระหนักรู้ถึงสิ่งที่คนเป็นกษัตริย์ควรจะต้องทำ
เหล่า Kings ค่อนข้างดึง action ไปจากฝ่าย Free people มากพอควร ในการที่จะจัดแจงให้อยู่ในเงื่อนไขที่ awakened ได้ จะปล่อยไว้ช้านานเกินไปฝั่ง shadow ก็อาจเอาเต๋า Eye of Sauron มาใช้ค่อยๆ ครอบงำได้ การเลือกปลุกกษัตริย์เหล่านี้จึงต้องวางแผน เลือกคนที่สำคัญ ในจังหวะที่เหมาะสม เพราะถึงแม้ว่าฝั่ง shadow จะต้องใช้เต๋า Eye of Sauron แต่พื้นฐานแล้วพวกเค้ามีเต๋ามากกว่า Free people อยู่เสมอ ซึ่งทำให้ shadow ได้เปรียบในการค่อยๆ ลักลอบครอบงำกษัตริย์
ถ้าจะมองในแง่ของ gameplay ภาคเสริมนี้จึงถือว่าปรับเกมไปเยอะ และอาจทำให้ผู้เล่นต้องปรับเปลี่ยนแผนไปจากเกมหลักพอควร เหมาะกับคนที่คุ้นเคยกับเกมมามากแล้ว และไม่รังเกียจความยุ่งยากที่จะโดนเพิ่มมา แต่สิ่งนี้ก็ทำให้ได้มาซึ่งอรรถรสเกมที่ลุ่มลึกขึ้น และทำให้เราหลงรักความ thematic ของเกม War of the ring ยิ่งขึ้นไปอีก
ถึงแม้จะเป็นภาคเสริมที่รอคอยมานานตั้งแต่ประกาศเปิดตัวจะทำตอนปี 2019 แต่ขอบอกเลยว่า Kings of middle-earth เป็นภาคเสริมที่น่าจับตามอง และคู่ควรแก่การเฝ้ารอคอยมากๆ ค่ะ ใครที่เป็นแฟนของการแปลไทย เราก็ขอเอาใจช่วยให้มีภาคเสริมไทยออกมาเร็วๆ ต่อเนื่องเช่นกัน เหล่าสาวกแห่งแหวนที่มีเกมหลักอยู่แล้ว ขอแนะนำว่าห้ามพลาดเลยทีเดียว
โฆษณา