เดินทอดน่องย่านธนบุรี เยือนยลราชนิเวศน์เดิมของ ร.1

ผมได้มีโอกาสเดินไปเที่ยวแถวธนบุรี ละได้เจอโบสถ์แห่งหนึ่งซึ่งมีความสวยงาม
ก็เลยหาข้อมูลของโบสถ์นี้ค้นไปค้นมาไปเจอว่าเป็นโบราณสถานของกรมอู่ทหารเรือ
อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ " พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง " ของกรมอู่ทหารเรือ
เราได้พบกับ คุณแต้ว นาวาโทหญิง รสนา สมพงษ์ ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง
คุณแต้วเล่าว่าโบสถ์แห่งนี้สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งเรือนของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในสมัยธนบุรี
และบริเวณอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ แต่เดิมเคยเป็นพระราชนิเวศน์เดิม
ของพระประยูรญาติของรัชกาลที่ 1 และ ผู้เป็นพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 1
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างวัด
ต่อมาได้ทรงมอบหมายให้ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
ทรงรับหน้าที่ในการจัดสร้างวัด พร้อมทั้งมีนามวัดว่า "วัดวงศมูลวิหาร"
การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๑๘ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 1 ต่อมาเมื่อ
กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์สิ้นพระชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มิได้พระราชทานพระนิเวศน์ให้เจ้านายพระองค์ใดประทับอีก
แต่พระราชทานให้เป็นที่ว่าการของ "กรมอู่ทหารเรือ"
โดยความแปลกของพระอุโบสถแห่งนี้คือพระประธาน "พระพุทธวงศมูลมิ่งมงคล"
ซึ่งปกติพระประธานจะหันไปทางทิศตะวันออก แต่ที่โบสถ์วัดวงศมูลแห่งนี้
พระประธานหันไปทางทิศเหนือ นับว่าเป็น Unseen Thailand เลยก็ว่าได้
หลังจากเสร็จตรงวัดแล้วคุณแต้วได้พาไปอาคารขยายแบบ
ซึ่งมามาตั้งแต่สมัยเปิดกรมอู่ทหารเรือในปี 2433
ซึ่งเป็นอาคารที่มีมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
อาคารขยายแบบ อายุราวๆ 133 ปี
จากนั้นคุณแต้วก็ได้พาเดินผ่านอู่แห้งของอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
คุณแต้วเล่าว่าอู่แห้งแห่งนี้เป็นอู่แห้งคอนกรีตแห่งแรกของประเทศไทย
ที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
คุณแต้วได้เดินพามาถึงตัวอาคารพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา
เดินเข้ามาก็เจอปืนใหญ่ซึ่งคุณแต้วเล่าว่าบริเวณอู่ทหารเรือธนบุรี
ขุดเมื่อไหร่เจอเมื่อนั้นเพราะแต่ก่อนบริเวณนี้ยังมีชุมชนบ้านช่างหล่อ
ได้มาดูแบบจำลองแผนผังที่ตั้งเดิมของอู่เรือหลวงซึ่งเคยมีแนวกำแพงเดิมสมัย ร.1
ซึ่งอาคารพิพิธภัณฑ์มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบบ้านขนมปังขิง
แต่เดิมอาจจะเคยเป็นที่ประทับของเจ้านายสมัยธนบุรี
ต่อมาเมื่อปรับใช้เป็นอู่เรือหลวงทางทหารเรือสมัยนั้นจึงได้เอามาปรับใช้เป็นออฟฟิส
แบบจำลองแผนที่เดิมของอู่เรือหลวง
แบบจำลองของอู่เรือหลวง
แบบจำลองของอู่เรือหลวง
คุณแต้วได้เล่าถึงความเป็นมาของราชนิเวศน์จนมาเป็นอู่เรือหลวง
มาถึงโซนที่จัดแสดงพิมพ์เขียวเพลาใบจักรของเรือหลวงพระร่วง
มาถึงโซนที่เป็นหัวใจหลักของพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงแห่งนี้คือ โซน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
กับ พระอัจริยภาพด้านนาวาสถาปัตย์ ซึ่งเล่าเรื่องราวพระอัจริยภาพของ ร.9
ซึ่งทรงแล่นเรือใบจากหัวหินมาสัตหีบทำให้พระองค์ได้ทราบถึงสภาพคลื่นลมทะเล
จนมาสู่แนวคิดพระราชดำริในการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด ต.91
และเป็นโซนที่จัดแสดงขวานที่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมนาถชนนีพันปีหลวง
ทรงใช้ปล่อยเรือ ต.991 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550
รวมถึงสมุดลงพระปรมาภิไธยของในหลวงรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระบรมราชชนีพันปีหลวง
ที่ทรงลงเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่กรมอู่ทหารเรือ
จากนั้นได้มาถึงโซนการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติซึ่งเป็นภารกิจของกรมอู่ทหารเรือ
จัดแสดงเรื่องราวการจัดสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
ในปี 2537 กองทัพเรือได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เพื่อจัดสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่แทนลำเดิม เนื่องจากมีสภาพที่ชำรุดยากแก่การซ่อมทำ
และเนื่องในวรโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 2539
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น
พร้อมทั้งพระราชทานนามเรือลำนี้ว่า
"เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9"
ทางกรมอู่ทหารเรือได้รับมอบหมายให้จัดสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่
โดยเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2537 ในหลวงรัชกาลที่ 9
เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางกระดูกงูเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
โดยค้อนที่ทรงตอกหมุดวางกระดูกงูเรือยังคงเก็บรักษาไว้
จากนั้นคุณแต้วได้เดินพาลัดโรงงานพามาชมเครนโรงงานยาง
ซึ่งเครนนี้น่าจะรุ่นราวคราวเดียวกันกับเครนที่เอเชียทีค
จบการรับชมแต่เพียงเท่านี้ อยากบอกว่าที่คือ Living Museum มากๆ
เพราะคุณแต้วเล่าว่ามาที่นี่ก็ไม่เคยจะเหมือนกันเลยสักวันเดียว
สมัย ร.5 ทำงานแบบไหน ปัจจุบันยังคงทำงานแบบนั้นแต่อาจจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
จากนั้นได้เดินมาร้านสโมสรอู่เรือหลวง บอกเลยว่าอาหารอร่อยมาก
สำหรับวันนี้ต้องลาไปก่อน สวัสดีครับ
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ไม่เปิดรับ Walk in
รับชมเป็นหมู่คณะไม่เกิน 50 คน หรือ ถ้ามา 1- 5 คนต้องโทรแจ้งล่วงหน้า
สามารถโทรแจ้งล่วงหน้าได้ที่ 02-475-5368 หรือ 02-475-5369
หรือ Email : rtndmuseum2433@gmail.com
โฆษณา