Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Anuj
•
ติดตาม
24 ต.ค. 2023 เวลา 02:49 • การเมือง
bangkok
การเคลื่อนสู่ยุคสงครามที่มีการควบคุม
นับแต่ปี 2020 กล่าวได้ว่า โลกได้เคลื่อนสู่ยุคแห่งสงครามที่มีการควบคุม ออกจากยุคแห่งความล้นเหลือ
ในปี 2020 เราทำสงครามกับเชื้อไวรัส ที่ไม่เคยระบาดในหมู่มนุษย์ สงครามครั้งนี้สามารถควบคุมได้ด้วยวัคซีน การเยียวยาวรักษา และกระบวนการป้องกันติดตามอย่างเข้มข้น ถึงกระนั้นผู้คนต้องเจ้บป่วยล้มตายจำนวนมาก เมืองทั่วโลกกลายเป็นเมืองร้างในบางช่วงหรือหลายช่วง ระบบโซ่อุปทานไม่ทำงานตามปกติ อารมณ์เครียดกังวลปกคลุม การเลี้ยงชีพและแบบการทำงานต้องเปลี่ยนไป บางอย่างเช่นการทำงานอยู่กับบ้าน หรือจากนอกสำนักงาน เปลี่ยนไปอย่างไม่หวนกลับ
ปี 2022 เกิดสงครามยูเครน จากการบุกแบบสายฟ้าแลบของรัสเซีย ทำให้ภูมิภาคยุโรปอันมั่งคั่งพลอยตกอยู่ในภาวะสงคราม รวมพลังต่อต้านรัสเซียอย่างเท่าที่จะทำได้ภายใต้การนำของสหรัฐที่เพิ่งถอนตัวจากอัฟกานิสถาน สงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อนำความอ่อนแอมาสู่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เดือนตุลาคม ปี 2023 ทั้งโลกตื่นตะลึงกับสงครามระหว่างอิราเอลกับกลุ่มฮามาส สงครามครั้งนี้เป็น “มารดาแห่งสงคราม” เพราะว่า
ก) มันเป็นการลุกขึ้นสู้อีกครั้งต่อการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ของอิสราเอล เป็นการชูความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ที่ยาวนานหลายสิบปีเป็นที่ประจักษ์ ข) มันรื้อฟื้นความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับ ค) มันปลุกเร้าความโกรธและความไม่พอใจอย่างของโลกมุสลิมที่มีต่อชาวยิวและมหาอำนาจตะวันตก ง) มันเชื่อมสงครามในยูเครนกับที่ฉนวนกาซาเข้าด้วยกัน จ) มันมีแนวโน้มที่จะขยายวงในแบบต่างๆได้ง่าย เช่นเกิดวิกฤติน้ำมันใหญ่อีกครั้ง
นอกจากที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ที่เป็นโรงงานและหัวรถจักรเศรษฐกิจโลก ก็ได้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น มีการเตรียมรบและซ้อมรบไม่ได้ขาด เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
โลกาภิวัตน์และการแยกทางเดิน
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โลกได้ก้าวสู่ยุคแห่งความล้นเหลือ ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและประชากรสูงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี มีการผลิตของกินของใช้ล้นเหลือ พลังงานก็ราคาถูก จนเกิดค่านิยมแบบ “ใช้แล้วทิ้ง” ผู้คนรู้มีอิสระเสรี สนุก “สุดเหวี่ยง” ผ่อนคลายกฎระเบียบความเข้มงวดทั้งหลาย
แต่ความล้นเหลือสนุกสนานนี้ดำรงอยู่ไม่นาน เมื่อถึงปี 1970 ได้มีรายงานทางวิชาการว่า การเติบทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุด ในโลกที่มีทรัพยากรจำกัดเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน ถ้ามันเป็นอย่างที่เป็น การเติบโตนี้จะสิ้นสุดในต้นศตวรรษหน้า
พร้อมกับคำเตือนนี้โลกได้เผชิญกับวิกฤติน้ำมันใหญ่ครั้งแรก เศรษฐกิจโลกที่นำโดยสหรัฐและตะวันตกเข้าสู่ภาวะชะงักงันรุนแรง จึงเกิดการคิดหาทางเป็นประการต่างๆ เช่นการให้ความสำคัญมากขึ้นแก่ความยั่งยืน การปลูกฝังค่านิยมใหม่ของการนำกลับมาใช้อีก และการใช้ซ้ำ
แต่การแก้ไขสำคัญ อยู่ที่การปรับแก้ทางเศรษฐกิจ ตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่รวมเศรษฐกิจโลกให้เป็นตลาดเดียวกัน ทั้งนี้โดยได้รับแรงส่งจากการปฏิรูปและเปิดกว้างของจีน และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทั่วโลกได้ฟื้นตัวและเข้าสู่ภาวะรุ่งเรืองอีกครั้งภายใต้กระบวนโลกาภิวัตน์ การค้าโลกขยายตัวอย่างเต็มที่
แต่ความรุ่งเรืองนั้นก็ดำรงอยู่ไม่ได้นาน กระบวนการโลกาภิวัตน์ถ้าหากวัดจากสัดส่วนของการค้าโลกต่อจีดีพีโลก กล่าวได้ว่าถึงจุดสงูสุดในปี2008 โดยมีสัดส่วนการค้าต่อจีดีพีโลกราวร้อยละ 61 หลังจากนั้นมีแนวโน้มลด ในปี 2008 ประจวบกับสหรัฐประสบวิกฤติการเงินรุนแรง พร้อมกันนั้นถูกท้าทายจากหลายประเทศที่สำคัญคือจีน ที่ต้องการแข่งขันเป็นศูนย์กลางการเงินโลก และผู้ให้กู้รายใหญ่ของโลกแทนที่สหรัฐ
รัสเซียต้องการทำลายความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นเหมือนป้อมปราการให้แก่ชาติอื่น มีอิหร่านเป็นต้น สหรัฐเองก็ได้เห็นว่า โลกาภิวัตน์ที่ตนเริ่มขึ้น แม้มีด้านดีเกิดประโยชน์แก่สหรัฐหลายประการ แต่ก็มีข้อเสียสำคัญคือ ต้องเสียเปรียบดุลการค้ามหาศาลต่อเนื่อง ต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศตลาดเกิดใหม่ ทำให้ฐานการผลิตของประเทศเหล่านั้นแข็งแรง จนอาจแซงหน้าไปได้ นอกจากนี้ยังแบกภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษาระเบียบโลกนี้ไว้
จึงพร้อมจะแยกทาง ในแบบของตน และได้ทำสงครามการค้ากับจีนในปี 2018 จนถึงทุกวันนี้ ความตึงเครียดระว่าง 2 ประเทศนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลาย
การแยกทางกันเดินของประเทศอำนาจและพันธมิตรดังกล่าว เป็นพื้นฐานของการออกจากยุคแห่งความล้นเหลือ ซึ่งยังมีเหตุปัจจัยจากวิกฤติสิ่งแวดล้อมและการหมดไปของทรัพยากรธรรมชาติซ้ำเติมอีก
การสู้หมดหน้าตัก
นอกจากการแยกทางเดินในกระบวนโลกาภิวัตน์ ที่สร้างยุคแห่งสงครามแบบมีการควบคุมแล้ว ยังมีอีกเหตุปัจจัยหนึ่งคือประเทศหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างเช่นสหรัฐ จีน และรัสเซีย อยู่ในอารมณ์แบบ “เทหน้าตักสู้” ไม่ใครกระพริบตา หรือยอมใครก่อน อาจนับได้จากรัสเซีย ที่ขู่หลายครั้งว่าจะใช้อาวธนิวเคลียร์ ในนสงครามยูเครน
สหรัฐที่ไม่ได้ขีดเส้นแดงเหมือนรัสเซีย แต่เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่าอิสราเอลัลกลุ่มฮามาส ก็ได้กระโจนเจ้าข้างอิสราเอลเต็ม ส่งกองเรือรบบรรทุกเครื่องบินไปที่นั้น เตรียมพร้อมส่งกองกำลังจำนวนหนึ่งหนุนช่วย พร้อมกับประกาศว่าจะช่วยเหลือทั้งยูเครนและอิสราเอลทำสงครามเป็นเงินนับแสนล้านเหรียญ เป็นการสู้หมดหน้าตักเช่นกัน
สำหรับจีนที่ใช้ท่าทีแข็งกร้าวต่อประเทศตะวันตกที่เข้ามาลาดตระเวน หรือล่วงล้ำดินที่ถือว่าเป็นของตน หรือการเข้าข้างสนับสนุนไต้หวัน ก็นับว่าเทหมดหน้าตักเหมือนกัน กรณีท้ายสุดประชุมใหญ่ระลึกโครงการแถบและทางครบรอบ 10 ปี ได้เชิญปูตินเข้าร่วมเป็นแขกสำคัญ ไม่ได้รู้สึกเกรงใจสหรัฐแม้แต่น้อย
ประเทศและกลุ่มองค์การที่มีขนาดเลกกว่า เช่นอิหร่าน กลุ่มฮามาส และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์เป็นต้น ก็ล้วนแต่พร้อมสู้สุดฤทธิ์ ไม่ยอมจำนนด้วยกันทั้งนั้น
ตราบเท่าไม่มีใครยอมใคร การเลื่อนไถลสู่ยุคแห่งสงครามที่มีการควบคุมก็ยากจะหยุดยั้งได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งมีการเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพทั่วโลก กับทั้งเห็นชัดว่าการขยายสงครามจนควบคุมไม่ได้ เหมือนกับการฆ่าตัวตายหมู่ น่าจะทำให้สงครามดำเนินไปอย่างจำกัดวง เป็นยุคใหม่ที่เกิดขึ้นโดยผู้คนจำนวนมากไม่ต้อนรับ
ภาพประกอบบทความโดย กันต์รพี โชคไพบูลย์
ความคิดเห็น
การเมือง
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย