24 ต.ค. 2023 เวลา 05:57 • ความคิดเห็น

ในฐานะศิษย์เก่า ฬ ยืนยันว่าไม่จริง

ท่ามกลางกระแสในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับต้นทุนใช้ชีวิตของ นิสิต ฬ สูง ผมเองจบมาจาก มหาวิทยาลัยนี้ และขอยืนยันว่า ต้นทุนทางสังคมตลอด 4 ปี จะสูงหรือไม่มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนบุคคล ไม่สามารถเหมารวมได้ ยกตัวอย่าง
(1) การหาที่พัก -นิสิตบางคนเลือกที่จะซื้อคอนโด บางคนเลือกที่จะเช่าหอพักเอกชน แต่บางคนเลือกจะพักในหอใน การตัดสินใจของเด็กคนแรกอาจมองความคุ้มค่าในระยะยาวว่า ไม่อยากเสียเงินเปล่าให้ธุรกิจเสือนอนกินจึงยอมจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในห้องพัก ...นิสิต 3 คนนี้ มีต้นทุนทางสังคม-การเงินต่างกัน?
(2) การซื้อเครื่องแบบ -จริงอยู่ที่นิสิตทุกคนอาจต้องใส่เครื่องแบบตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด บางคนเลือกจึงซื้อเครื่องแบบที่จัดจำหน่ายในมหาวิทยาลัย บางคนซึ่งชอบแฟร์ชั่นหน่อยเลยไปซื้อที่สยามสแควร์ หรือ บางคนไม่ต้องไม่เหมือนใครก็สั่งตัดเป็นกรณีพิเศษ... นิสิต 3 คนนี้ มีต้นทุนทางสังคม-การเงินต่างกัน?
1
(3) ค่าใช้จ่ายการเข้าสังคม ดังในทางทฤษฎีกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและมักอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยอาศัยลักษณะเฉพาะที่เหมือนหรือคล้ายกัน สมมติ นิสิตซึ่งเป็นเด็กกิจกรรมก็มักจะไปอยู่ในกลุ่มที่เพื่อนเป็นนักกิจกรรม หรือนิสิตสายเนิร์ดก็ไปอยู่ในกลุ่มวิชาการ แต่ถ้านิสิตที่มีรสนิยมสูง ย่อมไปอยู่ในกลุ่มที่อาจจะยึดติด สัทธิวัตถุนิยม ... นิสิต 3 คนนี้ มีต้นทุนทางสังคม-การเงินต่างกัน?
โดยสรุปเห็นได้ชัดว่า พฤติกรรมของนิสิต 3 คนข้างต้น เกิดจากทัศนคติซึ่งเป็นเรื่องอัตวิสัย (แล้วแต่คนจะมอง) แต่เหตุผลทางภาวะวิสัย คือ รู้จักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และหมั่นศึกษาเล่าเรียน ฉะนั้น การนำเหตุผลในทางอัตวิสัย (ส่วนตน) มาเหมารวมว่า นิสิตเก่า ปัจจุบัน และนิสิตใหม่ เป็นอย่างที่คุณกล่าว น่าจะไม่ถูกต้องนัก ผมเลยอยากถามว่า
หากคุณลองเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนกับนิสิตซึ่งมีวินัยทางการเงิน ... ต้นทุนการใช้ชีวิตตลอด 4 ปี (ป.ตรี) 2 ปี (ป.โท) หรือ 4+ปี (ป.เอก) ของการเรียนใน ฬ ต้นทุนทางสังคม-การเงินของคุณยังคงสูงอยู่ไหม?
ผมเอง
1
โฆษณา