Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์อิสลาม - التاريخ الإسلامي
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2023 เวลา 00:11 • ประวัติศาสตร์
วันพฤหัสบดี ที่ 10 เดือนร่อบีอุ้ลอาเคร ฮ.ศ. 1445
: เรื่องราวการต่อสู้ระหว่างประเทศอิรัก 🇮🇶 กับ ยิวอิสราเอล 🇮🇱: ตอนที่ 01
ในปี ค.ศ. 1981 ชาวอิรักต้องประหลาดใจกับการโจมตีทางอากาศของยิวอิสราเอล ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินรบ 8 ลำที่มุ่งเป้าไปที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักในเมืองหลวงแบกแดด
นักบินยิวอิสราเอลที่รับภารกิจทิ้งระเบิด
และภายใน 15 วินาที เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ก็ถูกทำลายจนสิ้นซาก
คำถามอาจเข้ามาในใจ : เหตุใดเครื่องบินรบอิสราเอลสามารถบุกฝ่าเข้าไปในน่านฟ้าของจอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย
จากนั้น จึงเข้าไปในน่านฟ้าของอิรักและเข้าสู่พื้นที่ครึ่งนึงของกรุงแบกแดดได้อย่างไร ?
เพื่อให้เข้าใจเรื่องราวนี้ ให้เราย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1975 เมื่อทีานซัดดัม ฮุสเซน ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีแห่งอิรักและเป็นหัวหน้าองค์การพลังงานปรมาณูของอิรักพร้อมๆกัน
ลำดับความสำคัญของเขาคือ “การสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก”
แน่นอนเมื่อคุณได้ยินคำว่า “เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์คืออะไร” คุณจะนึกถึงระเบิดปรมาณู ขีปนาวุธ และการทำลายล้างโลก
แต่ท่านซัดดัมให้คำมั่นสัญญากับพวกเขาว่า “มันจะเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในวิถีทางแห่งสันติ เช่น คุณสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าและกรองน้ำเพื่อการเกษตรได้”
ในเวลานั้น ท่านรองประธานาธิบดีซัดดัมได้เดินทางไปยังประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกซึ่งก็คือ “สหภาพโซเวียต” และขอความช่วยเหลือจากพวกเขา
โซเวียตเห็นด้วย แต่ก็กำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดเหล่านี้ว่า
“โซเวียตมีความปรารถนาที่จะมีอิทธิพลและต้องการผลประโยชน์ในอิรัก”
ดังนั้น ท่านรองประธานาธิบดีซัดดัมได้เข้าใจปัญหานี้และได้ปฏิเสธไป
จากนั้น ท่านซัดดัมก็หันไปหา... ฝรั่งเศสมีความปรารถนาเช่นเดียวกันกับโซเวียต และท่านซัดดัมก็ได้ปฏิเสธไปเช่นเดียวกัน
รองประธานาธิบดีซัดดัม ฮุซเซ็นกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส
แต่ท่านรองประธานาธิบดีซัดดัมไม่ได้ยอมแพ้ง่ายๆ พวกเขาจึงได้เดินทางไปบราซิล และบราซิลตกลงต่อคำขอทันทีที่การเจรจาระหว่างพวกเขาเริ่มต้นขึ้น
ต่อมาฝรั่งเศสได้ถอนคำเรียกร้อง และได้เดินทางไปที่อิรักในทันทีและตกลงว่าจะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สำหรับอิรัก และพวกเขาก็เห็นด้วยกับชาวอิรักที่จะมีแหล่งกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์
ในที่สุด ฝรั่งเศสได้เริ่มสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศอิรัก
แต่ขณะเดียวกันศัตรูตัวฉกาจของชาวอาหรับคือ ยิวอิสราเอลได้มองจากระยะไกล จึงได้บังเกิดความกลัวต่อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก
จริงอยู่ เป้าหมายของเครื่องปฏิกรณ์ของอิรักคือ “ความสงบสุข แต่ความกลัวเกรงของไซออนิสต์นั้นไม่ใช่”
ในเวลานั้นอิรักซื้อยูเรเนียมจำนวนมากจากฝรั่งเศส ซึ่งหมายความว่า “อิรักสามารถผลิตระเบิดปรมาณูและขีปนาวุธนิวเคลียร์ได้”
ต่อมาในปี ค.ศ. 1979 ท่านซัดดัม ฮุสเซนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีของอิรัก
และท่านประธานาธิบดีซัดดัมได้ตัดสินใจตั้งชื่อเครื่องปฏิกรณ์ว่า “เครื่องปฏิกรณ์ทัมมุซ”
ซึ่งชื่อของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักได้ทำให้ก่อเกิดความกังวลอย่างมากต่อพวกยิวอิสราเอล
เนื่องจาก ชื่อเครื่องปฏิกรณ์เป็นชื่อเดียวกับที่เทพเจ้าของบาบิโลนที่ชื่อว่า ทัมมุซ ผู้ที่เป็นเหตุให้บ้านเมืองของยิวต้องพินาศย่อยยับ ซึ่ง ณ ขณะนั้นอาณาจักรของพวกยิวอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม
และการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้ก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม ซึ่งก็เป็นเดือนประสูติของเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 กษัตริย์แห่งบาบิโลน ผู้ซึ่งทำลายกรุงเยรูซาเลมและกวาดต้อนพวกยิวอิสราเอลไปเป็นทาสที่กรุงบาบิโลน
เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 กษัตริย์แห่งบาบิโลน
ดังนั้น ยิวอิสราเอลจึงวิตกกังวลว่า “ท่านซัดดัม ฮุสเซนจะเป็นดังเช่นเทพเจ้าบาบิโลนองค์นั้น หรือไม่ก็เป็นบุคคลเดียวกันกับกษัตริย์บาบิโลน”
นายกรัฐมนตรียิวอิสราเอลในขณะนั้น ขอให้หน่วยข่าวกรองมอสสาดโดยมีนายโมเช ดายันเป็นหัวหน้าเข้าแทรกแซงเพื่อยุติปัญหาเครื่องปฏิกรณ์โดยเร็วที่สุด
นายโมเช ดายัน เสนาธิการทหารยิวอิสราเอล
หน่วยมอสสาดจึงได้เริ่มทำงานและเปิดเผยว่าส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องปฏิกรณ์ไม่อยู่ในอิรัก และต่อมาพวกยิวอิสราเอลจึงได้ค้นพบว่า ส่วนสำคัญมันอยู่ที่ฝรั่งเศสและกำลังขนส่งไปยังอิรักภายในไม่กี่วันนี้โดยทางเรือ
หน่วยงานมอสสาดก็ได้ตรงไปยังท่าเรือและได้ทำการระเบิด
แต่โชคดี ที่แกนเครื่องปฏิกรณ์ได้รับความเสียหายเล็กน้อย และแผนแรกของหน่วยมอสสาดก็ล้มเหลว
ส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกระเบิด
แต่พวกยิวอิสราเอลจึงตัดสินใจสร้างแผนที่สอง และแผนดังกล่าวคือการลอบสังหารนักวิทยาศาสตร์คนใดก็ตามที่รับผิดชอบเครื่องปฏิกรณ์นี้ และนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอียิปต์ชื่อว่า Yahya Al-Mashad ได้ถูกลอบสังหารในปารีส
นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอียิปต์ชื่อว่า Yahya Al-Mashad
และแน่นอนว่านักวิทยาศาสตร์ชาวอียิปต์ Yahya Al-Mashad เขาไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์เพียงคนเดียวที่ถูกลอบสังหาร
ในช่วงเวลาเดียวกันนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชาวอิรัก 12 คนถูกลอบสังหาร พวกยิวอิสราเอลได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการหยุดแผนการก่อตั้งเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก
แผนที่สองของหน่วยมอสสาดพวกยิวอิสราเอลสำเร็จ
จะมีต่อวันพรุ่งนี้ครับ…
" จงมีชีวิตอยู่ เพื่อการญิฮาด : حي على الجهاد "
ประวัติศาสตร์
อิรัก
อิสราเอล
1 บันทึก
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย