28 ต.ค. 2023 เวลา 11:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วิกฤติญี่ปุ่น ประเทศจมกองหนี้ เศรษฐกิจป่วย คนแก่เต็มประเทศ

ปีนี้จะเป็นแรกในรอบ 40 ปีที่ GDP ของญี่ปุ่นจะตกลงมาอันดับ 4 และเยอรมนีจะก้าวขึ้นเป็นอันดับ 3 แทน
8
ที่เป็นแบบนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเศรษฐกิจเยอรมนีเติบโตดี แต่เป็นเพราะว่า ค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนลงมากเมื่อเทียบกับยูโร
4
2 ปีที่ผ่านมา
ค่าเงินเยน อ่อนค่า 20% เมื่อเทียบกับยูโร
2
หมายความว่า ถ้าให้เศรษฐกิจเยอรมนี และญี่ปุ่นอยู่เฉย ๆ เศรษฐกิจเยอรมนีก็จะใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น 20%
3
ซึ่งเรื่องจริงก็เป็นแบบนั้น เศรษฐกิจเยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ได้เติบโตอะไรใน 2 ปีนี้
1
แล้วทำไมค่าเงินเยนอ่อน ?
สิ่งที่ส่งผลต่อค่าเงินมีหลายปัจจัย
แต่หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่า ก็คือ
อัตราดอกเบี้ย..
2
เรามาดูอัตราดอกเบี้ย ณ เดือน ต.ค. 2023 กัน
ญี่ปุ่น -0.1%
สหรัฐอเมริกา 5.5%
เยอรมนี 4.5%
2
เมื่อดอกเบี้ยของประเทศเป็นแบบนี้ ก็ทำให้เงินไหลออกจากญี่ปุ่น และทำให้ค่าเงินของญี่ปุ่นอ่อนลง
1
แล้วทำไมญี่ปุ่นไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐอเมริกา ?
1
ข้อแรกเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่ได้ดีเหมือนสหรัฐฯ ถ้าขึ้นดอกเบี้ยก็จะยิ่งทำร้ายเศรษฐกิจญี่ปุ่น
3
แต่เหตุผลที่สำคัญก็คือ “หนี้สาธารณะญี่ปุ่น” อยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อญี่ปุ่นขึ้นดอกเบี้ย ก็แปลว่าภาระของรัฐบาลญี่ปุ่นในการใช้หนี้ก็จะหนักขึ้นไปอีก ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถรับได้กับภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
7
เรามาดูระดับหนี้สาธารณะกัน
ญี่ปุ่น 263% ต่อ GDP
เยอรมนี 66% ต่อ GDP
สหรัฐอเมริกา 120% ต่อ GDP
3
เมื่อเห็นตัวเลขนี้เราก็คงตกใจว่า ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมหาศาล และใช่แล้ว ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP “มากที่สุดในโลก”
5
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ถ้าญี่ปุ่นขยับดอกเบี้ยขึ้นเพียง 1% ในปีนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจะมีต้องหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยมากถึง 2.6% ของ GDP เลยทีเดียว..
3
พอมาถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมญี่ปุ่นปล่อยให้หนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นจนกลายเป็นเลข 263% ได้
3
คำตอบแบบตรงไปตรงมาก็คือ
การที่หนี้สาธารณะของประเทศใดประเทศหนึ่งจะสูงขึ้นได้นั้น ก็เพราะว่าเป็นผลกรรมที่รัฐบาลในอดีตได้สร้างหนี้มากขึ้นมาเรื่อย ๆ
5
เรามาดูระดับหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นกัน
ปี 1990 หนี้สาธารณะ 65% ต่อ GDP
ปี 1995 หนี้สาธารณะ 79% ต่อ GDP
ปี 2000 หนี้สาธารณะ 126% ต่อ GDP
ปี 2005 หนี้สาธารณะ 167% ต่อ GDP
ปี 2010 หนี้สาธารณะ 198% ต่อ GDP
ปี 2015 หนี้สาธารณะ 229% ต่อ GDP
ปี 2023 หนี้สาธารณะ 263% ต่อ GDP
11
สังเกตได้ว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นไม่ได้เป็นประเทศที่จมไปด้วยกองหนี้แบบในตอนนี้ แต่ตลอด 30 ปีที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นเลือกที่จะสร้างหนี้มากขึ้น และมากขึ้น
4
แล้วการสร้างหนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่น ทำอย่างไร ?
1
การที่คนเราจะเป็นหนี้ได้นั้น ก็คือมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และคนนั้นต้องกู้เงิน เพื่อมาจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนเกิน
ในทำนองเดียวกันกับรัฐบาลญี่ปุ่น
1
ญี่ปุ่นมีงบประมาณขาดดุลติดต่อกันหลายปี โดยมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
2
ฝั่งรายจ่ายก็ คือ การสร้างสาธารณูปโภค ถนน สะพาน เส้นทางรถไฟ ระบบการศึกษา ระบบป้องกันประเทศ งบประมาณให้ท้องถิ่น รวมไปถึงระบบสาธารณสุข และสวัสดิการ ซึ่งเรื่องสุดท้ายเป็นปัญหาที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้น
4
เพราะโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราเกิดต่ำ มีแต่ผู้สูงอายุเต็มประเทศ รัฐบาลก็เลยต้องมีภาระบำนาญ สวัสดิการสังคม ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล เป็นสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับในอดีต
6
เมื่อประเทศมีวัยแรงงานลดลง และมีคนแก่มากขึ้น เศรษฐกิจก็ยากที่เติบโต และการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นโจทย์ใหญ่ของทุกรัฐบาลญี่ปุ่น
3
ทุกรัฐบาลอยากให้ญี่ปุ่นกลับมารุ่งโรจน์เหมือนเดิม..
2
แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจก็หมายถึงการ ทำให้ภาษีอยู่ในระดับต่ำ เมื่อภาษีน้อย รายได้ของรัฐบาลก็น้อย และต้องทำให้เป็นงบประมาณขาดดุล ซึ่งเป็นวงจรหายนะ ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน
3
ตอนนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP มากที่สุดในโลก และมันไม่หยุดอยู่แค่นั้น
1
ถ้าการเติบโตของหนี้สาธารณะญี่ปุ่นยังเป็นอัตรานี้ต่อไป ภายใน 10 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะญี่ปุ่นจะแตะระดับ 300% ต่อ GDP..
4
แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อไปกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศล้มละลายหรือไม่ ?
3
ข้อแรก ญี่ปุ่นคงจะไม่ล้มละลาย เพราะเจ้าหนี้ของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่คือธนาคารกลางญี่ปุ่น และประชาชนญี่ปุ่นด้วยกันเอง และคนที่จะได้รับผลกระทบของเรื่องนี้ก็คือเจ้าหนี้เหล่านั้นเอง..
1
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ วิธีการกู้เงินของรัฐบาลญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นจะออกพันธบัตรมาให้ สถาบันการเงิน และประชาชนในประเทศซื้อ ซึ่งช่วงหลังธนาคารกลางญี่ปุ่นก็เข้ามาร่วมซื้อพันธบัตรในตลาดด้วย
รัฐบาลได้เงินก้อน ส่วนคนซื้อพันธบัตรก็ได้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่รัฐบาลกู้ เมื่อครบกำหนดก็รอรับเงินต้นคืน
ซึ่งคนญี่ปุ่นชอบซื้อสินทรัพย์ทางการเงินปลอดภัยเก็บไว้อยู่แล้ว ที่ผ่านมารัฐบาลจึงสามารถกู้เงินได้เรื่อย ๆ ใน อัตราดอกเบี้ยต่ำ
3
แล้วญี่ปุ่นมีวิธีอย่างไรที่จะลดหนี้ ?
1
วิธีการลดหนี้ของญี่ปุ่น ที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงก็คือ ทำให้ประเทศเกิด “เงินเฟ้อ”..
4
ถ้าเราตามข่าว รัฐบาลญี่ปุ่นมีความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ประเทศตัวเองมีเงินเฟ้อ โดยให้เหตุผลว่าเมื่อเงินเฟ้อแล้ว เศรษฐกิจจะคึกคักกว่าสภาพที่เศรษฐกิจไม่มีเงินเฟ้อ
2
ซึ่งในปีนี้ก็เป็นดังที่รัฐบาลอยากให้เป็น เงินเฟ้อญี่ปุ่น อยู่ในระดับ 3% สาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากราคาพลังงาน ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศไม่มีทรัพยากรพลังงาน เลยต้องนำเข้าเป็นหลัก
2
ในมุมของคนญี่ปุ่น
เมื่อเงินเฟ้อของประเทศ 3%
แต่ฝากเงินได้ 0%
1
แปลว่าถ้าเราฝากเงินในธนาคารญี่ปุ่น จะเสมือนว่า เงินหายไปปีละ -3% ตัวเลขนี้ในศัพท์การเงินจะเรียกว่า Real Interest Rate
1
และนี่ก็เป็นสาเหตุที่เงินทยอยไหลออกจากญี่ปุ่น และทำให้ค่าเงินญี่ปุ่นอ่อนลง
2
และเมื่อญี่ปุ่นต้องนำเข้าพลังงาน ถึงแม้ราคาพลังงานจะอยู่ที่เดิม แต่เมื่อค่าเงินอ่อน ทำให้ต้องใช้เงินเยนญี่ปุ่นมากขึ้นในการจ่ายค่าพลังงาน และพลังงานเป็นต้นทุนของสินค้าบริการทุกอย่าง เงินเฟ้อของญี่ปุ่นจึงสูงขึ้น
4
เมื่อราคาสินค้าบริการญี่ปุ่นสูงขึ้น GDP ในรูปเงินเยนญี่ปุ่นก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย และรัฐบาลก็อาจเก็บภาษีได้ตัวเลขที่เฟ้อตามไปด้วย
ถึงตรงนี้เราเห็นอะไร ?
1
ฝั่ง GDP จะตัวเลขสูงขึ้น แต่ฝั่งหนี้ เงินต้นจะ fix อยู่ที่เดิมตามมูลค่าเงินที่กู้
1
ดังนั้นเมื่อญี่ปุ่นทำให้เกิดเงินเฟ้อ รัฐบาลจะเสมือนมีหนี้ต่อ GDP น้อยลง
พูดง่าย ๆ คือ ญี่ปุ่นตั้งใจลดภาระหนี้ด้วยการทำให้เงินตัวเองด้อยค่าลง
2
และผู้เสียประโยชน์ในเกมนี้ก็คือคนญี่ปุ่นที่มีเงินฝากแล้วได้ดอกเบี้ยต่ำ ในภาวะที่มีเงินเฟ้อนั่นเอง..
และมันอาจสรุปได้ว่า สิ่งที่คนญี่ปุ่นกำลังเจออยู่ก็คือ ทำงานเพื่อได้เงิน โดยที่เงินนั้นด้อยค่าลงทุกวัน..
3
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่เราอาจยังไม่รู้
ตอนนี้ประเทศไทยอาจดำเนินรอยตามญี่ปุ่น ในยุคปี 1990 ที่มีระดับหนี้สาธารณะใกล้เคียงกัน ที่ประมาณ 60%
1
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะมีคนแก่เต็มประเทศ
3
หนี้สาธารณะ ไทยกำลังพุ่งสูงขึ้น จากนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่ล้วนแล้วแต่อยากระตุ้นเศรษฐกิจ และอยากให้สวัสดิการแก่ทุกคนในประเทศ ซึ่งก็ต้องแลกมาด้วยการก่อหนี้สาธารณะ
3
ประเทศไทยกำลังไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจก็ยังไม่ค่อยจะดีนัก และการขึ้นดอกเบี้ยก็อาจเป็นภาระต้นทุนการเงินทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล
3
ญี่ปุ่นหลุดจากกับดักนี้ไม่ได้เลยมา 30 ปีแล้ว และประเทศไทยอาจกำลังเดินเข้าสู่กับดักนี้
2
ลงทุนแมนค้นหาจากใน ChatGPT ว่าญี่ปุ่นเดินมาถึงจุดที่เป็นประเทศที่มีนโยบายสาธารณะต่อ GDP มากที่สุดในระดับ 263% ได้อย่างไร
5
หนึ่งในคำตอบที่น่าสนใจคือ ในระหว่าง 30 ปีที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นไม่มีกลุ่มคนจำนวนมากพอที่จะไปค้านนโยบายของรัฐบาลในเรื่องนี้..
6
คนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจะทราบดีว่า ชีวิตมันลำบากขนาดไหน.. ทำงานเก็บเงินแต่ต้องเอาเงินนั้นจ่ายหนี้หมด คงเป็นชีวิตที่ไม่สบายนัก แต่ประเทศญี่ปุ่นกำลังเป็นแบบนั้น..
2
หนี้สาธารณะญี่ปุ่น 263% ต่อ GDP
หนี้สาธารณะเยอรมนี 66% ต่อ GDP
ตัวเลขนี้เป็นเคล็ดลับที่ทำให้วันนี้เยอรมนีมี GDP แซงญี่ปุ่นได้
1
ประเทศไทย อยากเป็นญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี
ก็คงขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทย นับต่อจากนี้ และรวมถึงประชาชนในประเทศเองด้วย
3
ถ้าไม่มีกลุ่มคนจำนวนมากพอแบบที่ ChatGPT กล่าว
อีก 30 ปีข้างหน้า ชื่อบทความที่ว่า ประเทศจมกองหนี้ เศรษฐกิจป่วย คนแก่เต็มประเทศ ก็อาจจะไม่ใช่แค่ประเทศญี่ปุ่น เพียงประเทศเดียว..
16
โฆษณา