30 ต.ค. 2023 เวลา 04:10 • ข่าว

เปิดประวัติ " หลวงพ่อเพ็ชร ปริปุณฺโณ ' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

เปิดประวัติครูบาอาจารย์ ' หลวงพ่อเพ็ชร ปริปุณฺโณ ' เกจิอาจารย์ผู้สืบสายวิชา แห่ง ตักศิลาพุทธาคมกรุงเก่า วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา
วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง เพียงถูกกล่าวในพงศาวดาร พ.ศ.2163 ความว่า ในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่แปดรูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลบหนี
จากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ ครั้งฝ่ายมหาอำมาตย์พอคุมพลได้ก็ไล่รบญี่ปุ่นล้มตายและแตกไปจากพระราชวัง ต่อมาพระมหาอำมาตย์มีความชอบดังนี้จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าปราสาททอง
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร หรือที่เรียกกันว่า “ขุนหลวงหาวัด” ทรงผนวชและพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรมนี้เป็นวันสุดท้าย ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310 จากผลสงครามได้ส่งผลให้วัดประดู่เป็นวัดร้างจนกระทั่งหลวงพ่อรอดเสือได้มาปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพเป็นวัดและมีพระสงฆ์จำพรรษาเจริญมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน
ชื่อหลวงพ่อรอด (เสือ) มีที่มาหลากหลาย สำหรับกระแสแรกนั้นเล่ากันทำนองว่าสาเหตุที่เรียกหลวงพ่อรอด ก็เพราะท่านมีชื่อเดิมว่ารอด แต่ดุอย่างเสือ อีกกระแสหนึ่งพอสรุปได้ว่าสาเหตุที่ได้ชื่ออย่างนั้นก็เพราะท่านรอด ชีวิตจากเสือ แต่เดิมนั้นหลวงพ่อรอด พำนักอยู่วัดบางหว้าใหญ่ หรือวัดระฆัง ฝั่งธนบุรี ในเวลาต่อมา ก่อนที่ท่านจะมาปฏิสังขรณ์วัดประดู่ (และวัดโรงธรรม) นั้น
หลวงพ่อรอดได้จอดเรือเพื่อแวะพักค้างคืนที่บ้านเสือข้าม ชาวบ้านในละแวกนั้นมาขอให้ย้ายไปจอดที่อื่นเพราะเกรงว่าหากถึงเวลาเสือข้ามฟากตอนดึกๆ อาจไม่ปลอดภัย แต่หลวงพ่อรอดไม่ยอมย้าย เมื่อท่านไม่ยอมทำตามคำขอร้องชาวบ้านที่ว่าจึงลากลับ โดยในระหว่างทางต่างพูดกันทำนองว่าหากย้อนมาในตอนเช้า
หลวงพ่อรอดยังอยู่ก็แสดงว่าเป็นพระดีมีวิชา แต่ถ้าถูกเสือกินก็ต้องเก็บซากศพเผาเอาบุญแล้วกัน ครั้นถึงตอนเช้าของวัน ต่อมากลับพบว่าท่านนั่งหัวร่ออยู่ในเรืออย่างอารมณ์ดี เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้เรียกขานกันว่า หลวงพ่อรอด (เสือ) แต่นั้นมา
บางท่านก็ว่าหลวงพ่อรอด ท่านสำเร็จวิชาเสือสมิง สันนิษฐานว่าหลังจาก กรุงศรีอยุธยาถึงคราวต้องล่มสลาย วัดส่วนใหญ่ทั้งในและนอกเกาะเมืองล้วนไม่มีพระเณรพำนักพักพา เนื่องจากว่าต้องหลบหนีข้าศึกเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป ถึงจะไม่ถูกพม่าฆ่าฟันแต่ก็อาจอดตายอยู่ดี เพราะหาคนที่จะใส่บาตรหรือถวายอาหารไม่ได้ ด้วยว่าส่วนใหญ่ต่างหนีภัยสงครามเอาตัวรอดกันทุกหมู่บ้าน หลวงพ่อรอดก็เช่นกัน
กล่าวคือท่านได้หลบหนีจากวัดประดู่ไปอยู่วัดระฆัง หรือวัดบางหว้าใหญ่สมัยนั้นอยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงย้อนกลับมาปฏิสังขรณ์วัดประดู่ และวัดโรงธรรม (ซึ่งอยู่ใกล้กัน) ขึ้นใหม่ และได้ใช้ชื่อวัดประดู่โรงธรรม เรื่อยมาตั้งแต่บัดนั้น โดยมีท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 1 จากหลักฐานทั้งหลายอันได้แก่ พระนิพนธ์เรื่องความทรงจำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัตถุมงคลของสายวัดประดู่ทรงธรรม เป็นของที่น่าหามาห้อยคอ ติดตัว ไม่ว่าจะของหลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม หลวงพ่อนาค วัดประดู่ทรงธรรม หรือเหรียญรวมเจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม (ปลุกเสกโดยหลวงพ่อสละ หลวงพ่อนาค หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อแทน หลวงพ่อกี๋ ร่วมกันปลุกเสก) ล้วนเป็นเหรียญที่น่าใช้
ครูบาอาจารย์โดยตรงของหลวงพ่อเพ็ชร
ได้แก่
  • 1.
    หลวงพ่ออู๋ วัดประดู่ทรงธรรม
  • 2.
    หลวงพ่อบุญนาค วัดประดู่ทรงธรรม
  • 3.
    หลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม
  • 4.
    หลวงพ่อผูก วัดประดู่ทรงธรรม
  • 5.
    หลวงปู่บุญรอด วัดประดู่ทรงธรรม
  • 6.
    หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง
โฆษณา