31 ต.ค. 2023 เวลา 03:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมหลายคนถึงได้เชื่อว่า MacBook ของ Apple ไม่จำเป็นที่จะต้องทำ Calibrate อีกแล้ว

จริงๆ เรื่องนี้มีมูลอยู่ เราขอยกเหตุผล 2 ข้อมาสนับสนุนชุดความคิดนี้ให้ได้อ่านกันครับ
1. เพราะฮาร์ดแวร์ของ Apple อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ๆ อยู่แล้ว
ที่จริงเรื่องนี้เราสามารถนำไปใช้เทียบกับอุปกรณ์หน้าจอยี่ห้ออื่น ๆ ได้เช่นกันนะครับ เพราะหน้าจอที่มีคุณภาพที่ดีมากอยู่แล้ว อย่างน้อยมันก็ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า หน้าจอจะยังแสดงสีสันได้ดีอยู่ในระยะเวลานึงพอสมควร
และแม้เราจะเริ่มทำ calibrate ใหม่ก็ตาม ผลลัพธ์ของความต่างก็อาจจะไม่ได้เห็นความแตกต่างกันเยอะมากนัก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะการที่เราทำการ calibrate หน้าจอแล้วเห็นผลก่อนหลังมีความแตกต่างมากนั้น อาจหมายถึงหน้าจอแสดงสีได้ผิดเพี้ยนมาก ๆ
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า MacBook ไม่จำเป็นที่จะต้องทำ calibrate อีกแล้ว เพราะเราต้องอย่าลืมว่าอุปกรณ์หน้าจอทุกตัวมีความเสื่อมของแบคไลท์อยู่ตลอดเวลา การทำ calibrate จึงเป็นวิธีการแก้ไขให้หน้าจอกลับมาแสดงสีสันได้แม่นยำอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
2. เพราะโปรไฟล์ของ MacBook ใกล้เคียงมาตรฐานมากอยู่แล้ว
ในการทำ calibrate หน้าจอนั้น เราจะใช้ค่ามาตรฐานอยู่สองตัวด้วยกันคือ White Point D65 และ Gamma 2.2
ซึ่งโปรไฟล์ของ MacBook ในทุกรุ่นนั้น จะเซ็ตค่าทั้งสองตัวนี้ให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว จะมีเพียงก็แต่ในส่วนของ White Point หรือสมดุลขาวของหน้าจอที่เราเคยทดสอบมานั้น ส่วนใหญ่จะออกไปทาง 7000K ที่อมฟ้านิด ๆ แต่ยังไม่ได้ค่า 6504K ตามมาตรฐาน D65 เป๊ะ ๆ ขนาดนั้น
ซึ่งในมุมของคนใช้ทั่วไปอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรนัก แต่สำหรับคนที่ทำงานด้านภาพและสีเป็นหลัก มันจะคล้ายกับการที่เราใช้ color picker จิ้มไปที่ตำแหน่งสีสักจุดนึง แต่สีที่ได้จริงๆ อาจจะขยับห่างออกไปอีก เรื่องนี้จึงต้องควรระวัง ถ้าเป็นไปได้และมีโอกาสก็ควรทำ calibrate ใหม่ เพื่อความสบายใจด้วยครับ
โฆษณา