Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2023 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเดือน 20,000 ยังไม่เสียภาษี จำเป็นต้องซื้อ SSF/RMF ไหม?
จากรายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ผู้สูงอายุในไทย 45.7% ไม่มีเงินออม ส่วนที่เหลืออีก 54.3% แม้จะมีเงินออมและเงินลงทุนแล้ว แต่ในสัดส่วนนี้เกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 41.1% นั้นมีเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท เรียกได้ว่า ใช้เดือนเดียวก็หมดแล้ว
2
เมื่อเป็นแบบนี้แล้ว ชีวิตหลังเกษียณของเราจะแย่แค่ไหน แล้วเราควรจะเตรียมตัวอย่างไร โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนป้ายแดง ที่เพิ่งมีเงินเดือน แถมยังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ควรจะเริ่มลงทุนใน SSF RMF เลยหรือไม่ หรือมีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง?
วันนี้ KTAM จะมาสรุปให้ฟัง ...
●
ตัวช่วยเก็บเงิน :
1
ผลสำรวจแอปตัวช่วยจัดการเงินของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ Marketting ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2566 ระบุว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่โอนเงินออกจากกระเป๋าเงินที่ตั้งชื่อว่า “เงินเก็บห้ามใช้” มากที่สุด บ่งบอกได้ว่า ความง่ายต่อการใช้งานเรื่องของการโอนเงินก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเก็บเงินของผู้ใช้งานบางรายอยู่
1
โดยกองทุน SSF และ RMF นี้ สามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะการเก็บออมผ่านการลงทุนในกองทุน SSF และ RMF จะมีระยะเวลาในการขายคืนที่ต้องครบกำหนดก่อน ถึงจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วน เช่น SSF ที่ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี ส่วน RMF จะต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปีและถือจนถึงอายุ 55 ปี เป็นต้น
ดังนั้น การเก็บเงินผ่านการลงทุนของ 2 กองทุนนี้ ก็ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ช่วยเก็บเงินของเราได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ลดการใช้จ่ายเงินที่มากเกินไปโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
2
●
ตัวช่วยทบต้น :
2
จริง ๆ แล้วหลักการของเงินทบต้น จะสามารถใช้ได้ในหลาย ๆ สินทรัพย์ แต่จะเหมาะอย่างมากกับการลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน อายุน้อย เพราะการเริ่มเร็วจะช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องเก็บเงินก้อนโต เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ แต่เราจะสามารถทยอยลงทุน หรือที่เราเรียกกันว่า DCA ได้ โดยอาจเริ่มจากทีละเล็กทีละน้อย แต่เท่ากันทุก ๆ เดือน และปล่อยให้เงินเหล่านั้นทำงาน
ยกตัวอย่าง การลงทุนของคนอายุ 25 ปี และ 40 ปี
เงื่อนไข : เป้าหมายเกษียณ 60 ปี อัตราผลตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ย 5% ต่อปี
1
คนแรก - อายุ 25 ปี จะมีระยะเวลาลงทุน 35 ปี เก็บเงินเดือนละ 2,000 บาท
เมื่ออายุครบ 60 ปี เขาจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 2,276,072 บาท โดยแบ่งเป็นเงินต้น 840,000 บาท และผลตอบแทนจากการลงทุน 1,436,071 บาท
คนที่สอง - อายุ 40 ปี จะมีระยะเวลาลงทุน 20 ปี เก็บเงินเดือนละ 2,000 บาท
เมื่ออายุครบ 60 ปี เขาจะมีเงินเก็บทั้งสิ้น 833,262 บาท โดยแบ่งเป็นเงินต้น 480,000 บาท และผลตอบแทนจากการลงทุน 353,262 บาท
จากตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พลังของเงินทบต้นกับระยะเวลาที่ยาวนาน จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่มากกว่า ซึ่งหากเราใช้หลักการทบต้นนี้ควบคู่ไปกับการลงทุนกับกองทุน SSF RMF ด้วยแล้ว ก็จะมีโอกาสช่วยให้เป้าหมายของเราสำเร็จได้เร็วขึ้น
●
ตัวช่วยถัวเฉลี่ยราคาต้นทุน :
หลายครั้งที่คนลงทุนมีความกังวลต่อวิกฤติทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น จึงมักทยอยขายคืนกองทุนออกทันที เมื่อถึงราคาต้นทุนที่เราเข้าซื้อ โดยไม่สนใจหรือรอกำไรจากการลงทุน เพราะกลัวว่าจะกลับไปติดดอยอีกครั้ง
แต่หากเราลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว SSF และ RMF อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน ก็จะช่วยลดความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อใส่เงินลงทุนไปเรื่อย ๆ ก็จะช่วยถัวเฉลี่ยราคาต้นทุน ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะต่ำกว่าราคา ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ก็เป็นไปได้ด้วย
การลงทุนกับกองทุน SSF และ RMF ในรูปแบบ DCA จึงมีข้อดีอย่างมาก เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว แม้ว่าการลงทุนแบบ DCA นี้ จะไม่ได้ผลตอบแทนที่สูงเท่ากับการจับจังหวะเข้าซื้อ แต่ก็ถือเป็นตัวช่วยลดความเสี่ยง และไม่ต้องเสียเวลาในการจับจังหวะเข้าซื้อ
2
●
ไม่พลาดสิทธิลดหย่อนภาษี :
สิทธิประโยชน์สำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกลงทุนกับกองทุน SSF และ RMF ก็คือเรื่องของการลดหย่อนภาษี
1
ซึ่งหากเราลงทุนในกองทุนนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็เปรียบเสมือนเป็นการ ศึกษาการลงทุนไปในตัว เมื่อถึงเวลาที่เรามีเงินเดือนเพิ่มขึ้น และต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การที่เราลงทุนกับกองทุนเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ เดือน ก็จะทำให้เราไม่พลาดสิทธิในการลดหย่อนภาษี ด้วยนั่นเอง
และอย่าลืมศึกษาเงื่อนไข และเกณฑ์การลดหย่อนภาษี เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์ที่เราควรจะได้รับอย่างครบถ้วน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
https://bitly.ws/XAip
สำหรับใครที่ลงทุนกับกองทุน SSF และ RMF กับ KTAM และ ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย ก็สามารถ แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
ผ่านช่องทางนี้เลย >>
https://bitly.ws/X9Bf
📍 และทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลที่บอกได้ว่า ทำไมถึงควรเริ่มลงทุนในกองทุน SSF และ RMF ตั้งแต่วันแรกที่มีเงินเดือน แม้จะยังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
📌 หากใครที่สนใจอยากลงทุนในกองทุนรวมอย่าง SSF และ RMF ของ KTAM ก็สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนทั้งหมดได้
ผ่านช่องทางนี้เลย >>
https://www.ktam.co.th/rmf-ltf.aspx
และหากใครที่ยังเลือกไม่ได้ KTAM ก็มีกองทุน SSF RMF มาแนะนำ
ผู้สนใจสามารถดูได้ผ่านโพสต์นี้ >>
https://bitly.ws/XTnt
และกองทุนใหม่ล่าสุด KTAM ขอแนะนำ กองทุนผสมอย่างกองทุน KTWC Series SSF ที่มีให้เลือกลงทุนได้ถึง 3 กองทุนด้วยกัน ซึ่งกองทุนนี้ได้เปิดเสนอขายไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา
[กองทุนนี้ความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 5]
สำหรับนโยบายของกองทุนนี้ จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม และ/หรือกองทุนรวม ETF ในต่างประเทศ โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนทั้งในตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทรัพย์สินทางเลือก เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่าเงินฝาก นอกจากนี้ อาจลงทุนในกองทุน Infra และ/หรือ กองทุน Property และ/หรือหน่วย Private Equity อีกด้วย
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk)/ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk)/ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk)/ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้
กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
1
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากการลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
-
https://www.dop.go.th/th/know/side/1/2/2521
-
https://www.bot.or.th/th/satang-story/financial-tools/savings-tools.html
ภาษี
กองทุนssf
กองทุนrmf
56 บันทึก
39
62
56
39
62
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย