Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
4Blocks English
•
ติดตาม
3 พ.ย. 2023 เวลา 13:08 • ไลฟ์สไตล์
ฮาวทูทำงานที่ต้องใช้เวลา 7ชม. ให้เหลือ 3 ชม.โดยใช้สภาวะลื่นไหล(Flow State): ทำได้จริงเเค่ 3 ขั้นตอน
ผมโฟกัสไม่ได้เลย
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนเช้าของการทำงานโดยส่วนใหญ่ของผม จนกระทั่งผมได้ไปเจอกับหลักการ “กินกบตัวนั้นซะ”ของไบรอัน เทรซี่ ในการเลือกทำงานที่ยากที่สุดเป็นอย่างแรกของวันเหมือนกับตัวผมได้ทานอาหารคาวก่อนแล้วค่อยทานของหวานซึ่งจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผมทำเป็นประจำ
สิ่งที่ผมมาค้นพบทีหลังก็คือผมกำลังใช้ประโยชน์จากสภาวะลื่นไหลยู่(Flow State)
สภาวะลื่นไหลได้สร้างนวัตกรรม,สิ่งที่ยิ่งใหญ่ เเละบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์
สภาวะลื่นไหลเกิดขึ้นเมื่อขณะที่
แซม แอกแมนและทีมสร้าง Chat GPT
มารี คิวรี่ในการบุกเบิกการทดลองที่ภายหลังค้นพบธาตุโพโลเนี่ยมและเรเดี่ยม
อัลเบิรต์ ไอสไตน์ในการค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ
มีงานวิจัยมากมายที่ยังบ่งชี้ว่าสภาวะลื่นไหล สร้างการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทที่ช่วยสร้างสกิลที่จำเป็นมากในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องใช้ในการเพิ่มความก้าวหน้าในการทำงาน อย่าง
- 📝การเรียนรู้
- 👨🎨ความคิดสร้างสรรค์
- ⌚️โพรดักทิวิตี้
คนบางคนทำงาน 8ชม.แต่ก็แทบไม่ได้อะไรเลย แต่สิ่งนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อคุณรู้จักสภาวะลื่นไหลและะสี่เสาหลักของมัน
สภาวะลื่นไหลคืออะไร
สภาวะของจิตใต้สำนึกที่ทำให้การทำงานนั้นๆที่ถึงเเม้จะหนักแต่รู้สึกเหมือนไม่ต้องพยายามเลย
การที่สภาวะลื่นไหลจะเกิดขึ้นได้เกิดได้จากการที่ สารเคมีในสมองที่เกิดกาหลั่งอย่าง โดพามีน, นอร์เอพิเนฟริน, อนันดาไมด์,เซราโทนิน,เอ็นโดรฟิน,คลื่นอัลฟ่าเเละเตต้าของสมองและการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานของสมอง
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนเแปลงทางระบบประสาทที่นำไปสู่สภาวะลื่นไหล
ในความเป็นจริงก็คือสภาวะลื่นไหลไม่สามารถที่จะเข้าได้ง่ายตามต้องการ เนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีสิ่งรบกวน,ความเครียดที่สั่งสมจากการทำงาน และการผัดวันประกันพรุ่ง
การที่จะเข้าถึงสภาวะลื่นไหลได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสี่เสาหลักของสภาวะลื่นไหลซึ่งประกอบด้วย
1.สิ่งกีดขวางสภาวะลื่นไหล
การที่นักวิ่งมาราธอนจะวิ่งได้ก็ต้องเช็คก่อนว่ามีการบาดเจ็บไหมก่อนที่จะวิ่ง
เหมือนกันกับสภาวะลื่นไหล การที่จะเข้าสภาวะนี้ได้ก็ไม่ควรที่จะมีสิ่งรบกวนเช่นกันอย่างเช่น การเล่นโทรศัพท์เเละไถโซเชียลมีเดีย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะทำเป็นเป็นสิ่งแรกที่ตื่นนอนของวันนอกจากจะทำให้เข้าถึงสภาวะลื่นไหลยากแล้วยังทำให้ความสามารถในการจดจ่อการทำงานต่ำลงด้วยเนื่องจากว่า
โซเชียลมีเดียนั้นถูกออกแบบเพื่อให้คนใช้นั้นเสพติด
2.ความสามารถในการเข้าถึงสภาวะลื่นไหล
ก็คือแนวโน้มในการเข้าถึงสภาวะลื่นไหล
ถึงแม้จะกำจัดสิ่งกีดขวางในการเข้าถึงสภาวะลื่นไหลได้แล้วแต่ก็ยังต้องมีความสามารถในการเข้าถึงสภาวะลื่นไหลด้วยก็คือต้องมีสภาวะร่างกาย,จิตใจ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดสภาวะลื่นไหล
ทั้งสองข้อเป็นสองอย่างเเรกที่คนมักจะล้มเหลวตั้งเเต่ยังไม่เริ่ม วิธีการเเก้ไขที่ง่ายที่สุดก็คือ
ให้ทำงาน2-3 ชมแรก ภายใน 90 วินาทีแรกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากว่าในตอนเช้าหลังตื่นนอนคลื่นสมองของการหลับซึ่งเป็นคลื่นเดลต้ากับเตต้านั้นจะมีความคล้ายคลึงกับคลื่นสมองในสภาวะลื่นไหลซึ่งก็คืออัลฟ่าเเละเตตา นอกจากนี้ในตอนเช้ายังเป็นช่วงเวลาที่จะถูกรบกวนจากคนอื่นๆน้อยด้วย
เมื่อตัวเรายิ่งเข้าสู่สภาวะลื่นไหลได้มากเท่าไหร่ก็จะสามารถดึงดูดตัวเราและเอาชนะการเสพติดการเล่นโทรศัพท์ได้ด้วย
3.ความสามารถในการกระตุ้นสภาวะลื่นไหล
ยิ่งเข้าสู่สภาวะลื่นไหลได้เร็วมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเข้าถึงสภาวะลื่นไหลได้ลึกและนานเท่านั้น
ในแต่ละกิจกรรมนั้นจะมีความสามารถในการกระตุ้นให้เข้าสู่สภาวะลื่นไหลได้ยากและง่ายต่างกัน กิจกรรมที่สามารถทำให้เข้าสู่สภาวะลื่นไหลได้ง่ายอย่างเช่นการเล่นเกมเล่นดนตรีหรือกีฬา
**Mihaly Csikszentmihalyi** ผู้คิดค้นสภาวะลื่นไหลได้บอกไว้ว่าในการที่จะกระตุ้นให้เกิดสภาวะลื่นไหลนั้นมีอยู่สามปัจจัย
1. ต้องมีเป้าหมายที่เห็นได้ชัด
2. เห็นผลตอบรับในทันที
3. ความสามารถและความยากอยู่ในสมดุล
เช่นเวลาโต้คลื่น
1. คุณจะต้องหาจังหวะของคลื่นและพาตัวเองให้เข้าไปโต้อยู่ตรงคลื่นนั่นคือเป้าหมายที่เห็นได้ชัด
2. เมื่อคุณเข้าไปอยู่ตรงคลื่นได้แล้วคุณจะสามารถรู้สึกได้ถึงสมดุลของแผ่นกระดานกับแรงของคลื่นซึ่งก็คือผลตอบรับในทันทีที่เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกที่คลื่นกระทบกับแผ่น
3. จากนั้นคุณก็จะโต้ขึ้นไปเรื่อยๆตามความยากของคลื่นต่างๆที่คุณสามารถทำได้ ซึ่งใช้ความสามารถ แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ ซึ่งทำให้ตัวเรามีส่วนร่วมกับกิจกรรมอยู่ตลอด
ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้โดยการให้เลือกกิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลได้ด้วยตาและทำงานที่ยากกว่า 4% ของความสามารถของตัวเราเองเพื่อไม่ให้เบื่อและและกังวลจนเกินไป
4.วัฏจักรของสภาวะลื่นไหล
เมื่อคุณเข้าใจสภาวะลื่นไหลและวิธีการเข้าสู่สภาวะลื่นไหลแล้วก็ยังมีวัฏจักรของสภาวะลื่นไหลที่จะทำให้คุณเข้าใจองค์ประกอบที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเพื่อที่จะทำให้เกิดวัฏจักรในทุกๆวัน
1. ดิ้นรน
เป็นช่วงที่เริ่มทำงานเป็นช่วงที่เริ่มทำงานจะทำให้สารสื่อประสาทอย่างคอร์ติซอลและนอร์เอพิเนฟรินหลั่งทำให้รู้สึกอึดอัดและไม่อยากทำงานต่อในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ทำให้หลายๆคนไม่สามารถทำงานต่อได้
วิธีการแก้ไขคือ
ต้องสร้างความทนทานต่องาน
ยิ่งตัวเรายกเวทหนักมากขึ้นเรื่อยเรื่อยกล้ามเนื้อก็จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งไหนที่ทำได้นานมากขึ้นเท่าไหร่ความสามารถในการทนทานก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย สิ่งที่ผมกล่าวถึงมาข้างต้นก็คือ การฝึกความสามารถในการจดจ่อ สามารถฝึกด้วยการค่อยๆเพิ่มระยะการจดจ่อ เช่นถ้านั่งสมาธิจาก 5 นาทีก็เพิ่มเป็น 6 นาที จากนั่งเขียนโปรเเกมอยู่30นาทีก็เปลี่ยนเป็นยืนอันนี้ล้อเล่นนะครับ ก็เพิ่มเป็น 40 นาที
2. ปลดปล่อย
เมื่อสามารถที่จะทนต่อการทำงานและสามารถจดจ่อไว้ได้สมองจะเริ่มหลั่งโดพามีนซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจ่อและทำให้เปลี่ยนจากช่วงดิ้นรนเป็นการปลดปล่อย
3. สภาวะลื่นไหล
ทำให้สมองส่วน พรีฟอนทอล คอเทกซ์ปิดการทำงานลงเพื่อที่จะทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วโดยสัญชาตญาณที่มีประสิทธิภาพ
4. ช่วงพักฟื้น
เป็นการพักผ่อนและเติมเต็มสารสื่อประสาทที่ถูกใช้ไปจากการใช้ความสามารถหรือความรู้ในช่วงสภาวะลื่นไหล
Referece:
https://youtu.be/l86xggdQcKQ?si=DulD5kLcLsp-YXNS
พัฒนาตัวเอง
สุขภาพ
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย