4 พ.ย. 2023 เวลา 14:01 • การเกษตร

#รอบรู้เรื่องพืช “โรคใบด่างศัตรูตัวร้ายของมันสำปะหลัง”

คืออะไร ป้องกันได้ไหม เจอแล้วจัดการยังไงดี…เข้าแก๊งค์ไหนหัวหน้าตายหมด 😅
เริ่มต้น: โรคใบด่างมันสำปะหลังนั้นเป็นโรคที่มีแหล่งกำเนิดในทวีปแอฟริกาและแถบอินเดีย ตอนปี 2558 มีรายงานการพบในประเทศกัมพูชาถือว่าเป็นการพบโรคใบด่างมันสำปะหลังครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!!! การระบาดที่เกิดขึ้นในเวียดนามและกัมพูชารุนแรงมาก ทำให้ผลผลิตเสียหายไปถึง 80% ของพื้นที่ ส่งผลให้ไม่มีผลผลิตมันสำปะหลังเข้าโรงงาน > < (คิดตามแล้วร้องไห้แปบ)
สรุป: โรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัสในท่อนพันธุ์และมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ ท่อนพันธุ์ที่พบว่าเกิดโรคห้ามนำไปปลูกต่อ! ไม่สามารถใช้งานได้แล้วโดยเด็ดขาดเพื่อตัดวงจรไม่ให้เกิดอีก
ดังนั้นต้องหาท่อนพันธุ์ใหม่มาปลูกเท่านั้น ความยากและท้าทายยังไม่จบเพียงเท่านี้ การปรับปรุงพันธุ์นั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง 10 ปี นอกจากต้องทำการควบคุมเรื่องท่อนพันธุ์แล้ว เจ้าตัวแมลงพาหะซึ่งก็คือแมลงหวี่ขาวดันเป็นแมลงที่อาศัยยู่กับพืชสวนครัวหลักๆ เช่น พริก โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง มะเขือ เป็นต้น เรียกว่าต้องร่วมมือกันหนักแน่นเพื่อรอดไปด้วยกันเลยครับ
ข้อสังเกตุของต้นมันสำปะหลังที่ติดเชื้อใบจะด่างหงิกงอส่งผลให้มันสำปะหลังสร้างอาหารไปสะสมที่หัวมันไม่ได้ ผลผลิตมันสำปะหลังจะเสียหาย 80-100% ครับ ซึ่งถ้าติดโรคนี้แล้วแนะนำว่าต้องถอนทิ้ง นอกจากเสี่ยงไม่ได้ผลผลิตแล้วยังต้องเว้นระยะของแปลง 2-5 เมตร เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มอีกครับ * * เป็นสถานการณ์ที่รุนแรงมากครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม: ข้อมูลที่ทีมรีคัลท์พบ “พันธุ์มันสำปะหลังที่พบการระบาดได้น้อยและไม่รุนแรงมากคือ มันสำปะหลังกลุ่มที่มีก้านสีแดงเข้มทั้งก้าน ได้แก่ ระยอง 5 ระยอง 72 และ เกษตรศาสตร์ 50 ครับ
เป็นข้อควรรู้ที่เราประมาทไม่ได้เลยนะครับ เพราะทุกการปลูกล้วนเต็มไปด้วยต้นทุนความตั้งใจของพี่ๆเกษตรกรทุกท่าน ถ้าพี่ๆท่านใดที่เคยมีประสบการณ์ ข้อมูลที่อยากส่งต่อ Comment พูดคุยกันได้เลยครับ 😊
#โรคใบด่างมันสำปะหลัง #จัดการใบด่าง #เลือกท่อนพันธุ์ต้านใบด่าง
โฆษณา