Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Talk with P
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2023 เวลา 11:46 • สุขภาพ
คุณมีอาการเข้าข่าย “โรคย้ำคิดย้ำทำ” รึเปล่านะ ?
โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD ซึ่งย่อมาจาก Obsessive compulsive disorder นั้น เป็นโรควิตกกังวลรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยมาจากการที่บุคคลผู้หนึ่งหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่สร้างความทุกข์ให้กับตนเอง และเป็นความคิดที่ไม่ได้ต้องการจะคิด แต่ความคิดเหล่านั้น ก็วนเวียนอยู่ในหัวตลอดเวลา
โดยโรคย้ำคิดย้ำทำ แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
1.) หมกมุ่นอยู่กับความสะอาด : เมื่อบุคคลผู้หนึ่งรู้สึกอึดอัดกับความสกปรก และ เมื่อทำความสะอาดแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่สะอาดพอ เพื่อที่จะลดความรู้สึกเหล่านั้นบุคคลที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ในรูปแบบนี้ มักจะล้างมือบ่อยเกินไป และนานเกินไป
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://adaybulletin.com/know-health-and-heart-obsessive-compulsive-disorder/59890
2.) หมกมุ่นอยู่กับการกลัวถูกทำร้าย และต้องตรวจสอบซ้ำๆ : ตัวอย่างเช่น ใครสักคนที่เชื่อว่าบ้านของตน กำลังจะถูกไฟไหม้ จึงคอยตรวจสอบสิ่งต่างๆตลอดเวลา ว่าถอดปลั๊กหรือยัง ? เปิดอะไรทิ้งไว้ไหม ? และถึงแม้ว่าจะตรวจสอบไปแล้ว แต่ก็ยังมีการตรวจสอบซ้ำอีกหลายๆรอบ ถึงขั้นว่าขับรถออกไปข้างนอกบ้านแล้ว แต่ก็ยังวนรถกลับมา เพื่อตรวจสอบอีกครั้ง
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.vecteezy.com
3.) ย้ำคิดอย่างเดียว : หมกมุ่นอยู่กับความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ตลอดเวลา อาทิ มีความคิดว่า ตนเป็นฆาตกร และจะลงมือฆ่าใครสักคน นอกจากนั้น ก็ยังมีการนำพิธีกรรมทางจิตมาใช้บรรเทาความเครียด เช่น สวดมนต์ นับเลขในหัว หรือ ท่องศัพท์คำหนึ่งไปเรื่อยๆ
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://thai.ac/news/show/115802
4.) หมกหมุ่นกับความสมมาตร และการจัดระเบียบ : มักจะจัดข้าวของต่างๆให้เข้าที่ จนกว่าจะมั่นใจว่าทุกอย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว ในบางกรณี การย้ำคิดย้ำทำ ในรูปแบบนี้นั้น มาจากความเชื่อว่า ถ้าตนทำสิ่งหนึ่งได้สมบูรณ์แบบ ก็จะสามารถขับไล่ภัยอันตรายต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย บุคคลที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำในรูปแบบนี้นั้น มักจะรู้สึกอึดอัดใจอย่างมาก หากได้เห็นข้าวของที่วางไม่เป็นระเบียบ และตนไม่สามารถเข้าไปจัดได้เนื่องจาก อาจจะเห็นผ่านทางโทรศัพท์ หรือในโทรทัศน์
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.tulasihealthcare.com/obsessive-compulsive-disorder-treatment/
5.) เก็บสะสมของ : เก็บสะสมของต่างๆทั่วไปที่ไม่ได้มีคุณค่าแท้จริงอะไร มักจะหมกมุ่นกับความเชื่อว่า สักวันสิ่งของที่เอามาเก็บสะสมไว้นั้น จะเป็นประโยชน์กับตัวเขา
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.peacheycounselling.ca/blog/2023-are-you-a-horder-take-this-quiz
เป็นยังไงกันบ้างครับ ? กับ OCD ทั้ง 5 รูปแบบ ท่านเข้าข่ายอาการดังที่ผมกล่าวมากันบ้างหรือไม่ ?
หากท่านพบว่า ตนมีอาการเข้าข่ายอาการของ OCD และอาการนั้นๆ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน ทั้งในด้านการทำงาน หรือด้านอื่นๆ ทางผม ก็ขอแนะนำให้ท่าน ไปเข้าพบกับจิตแพทย์ เพื่อทำการบำบัดรักษาต่อไปครับ
สุดท้ายนี้ ผมก็ขอขอบคุณทุกๆท่านเช่นเดิมครับ ที่อ่านมาถึงตรงนี้ และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน
*และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางผม เพจ Talk with P ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และพร้อมจะรับคำติชมทั้งหลายไปแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อที่จะไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้นอีก
ส่วนวันนี้ ผมขออนุญาตลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ....
แหล่งที่มา : หนังสือ PSYCH 101
ขอบคุณรูปภาพหน้าปกจาก :
https://mindnest.app/obsessive-compulsive-disorder-more-about-ocd/
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
จิตวิทยา
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย