Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Lumpsum : ที่ปรึกษาวางแผนการเงินส่วนบุคคล
•
ติดตาม
8 พ.ย. 2023 เวลา 00:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สิ่งที่ควรรู้ สำหรับคนอยากรีไฟแนนซ์บ้าน
บ้านเมื่อซื้อมาแล้วเปรียบเสมือนเป็นสินทรัพย์ที่ต้องคอยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในทุกๆ เดือน เพราะคงเป็นส่วนน้อยมากที่คนเราจะซื้อบ้านในรูปแบบของเงินสดทีเดียวทั้งก้อนแบบไม่ติดภาระใดๆ สินเชื่อบ้านจึงเป็นทางเลือกให้ใครหลายๆ คนได้มีบ้านในฝันของตัวเอง
ซึ่งโดยปกติแล้วการซื้อบ้านใหม่ธนาคารมักจะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยพิเศษที่เป็นแรงจูงใจนำเสนอให้เลือกใช้บริการสินเชื่อนั้น
และเมื่อครบสัญญาตามที่กำหนดดอกเบี้ยต้องมีการปรับตามเงื่อนไข อาจทำให้หลายคนรู้สึกว่าแพง ไม่คุ้มจ่ายจนคิดว่าอยากจะรีไฟแนนซ์บ้านไปธนาคารค่ายอื่นๆ
แต่ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์บ้านต้องรู้อะไรบ้าง เรามาดูข้อมูลที่ควรรู้กันเลยครับ
1. ระยะเวลาที่ควรรีไฟแนนซ์บ้าน
การรีไฟแนนซ์บ้านจะสามารถทำได้ทุกๆ 3 ปี หรือตามสัญญาในเงื่อนไขของสินเชื่อตามธนาคารนั้น หากต้องการรีไฟแนนซ์ก่อนระยะสัญญาที่กำหนดจะต้องมีการเสียค่าปรับประมาณ 3% ของยอดหนี้คงเหลือ ในค่าใช้จ่ายของส่วนนี้ จึงควรคำนวณให้ดีก่อนว่าคุ้มค่าที่จะรีไฟแนนซ์หรือไม่
แต่สำหรับบ้านที่มีการขอลดดอกเบี้ยหลังผ่อนชำระสัญญาตามเงื่อนไขครบ 3 ปีแรกไปแล้ว หากในปีที่ 4 ต้องการรีไฟแนนซ์สามารถทำได้เลย
ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีการทำสัญญาหรือติดเงื่อนไขใดๆ ทั้งนี้ควรตรวจสอบเงื่อนไขกับทางธนาคารให้เรียบร้อยก่อนนะครับ
2. ยอดคงเหลือบ้านที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้
โดยส่วนใหญ่แล้วการรีไฟแนนซ์บ้านหากยอดคงเหลือเกินที่ต้องผ่อนชำระมีจำนวนเงินมากกว่า 1 ล้านบาท สามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย
แต่ถ้าหากยอดไม่ถึงตามที่กล่าวข้างต้น แนะนำว่าขอเป็นลดดอกเบี้ยจากธนาคารที่ให้สินเชื่อจะคุ้มค่ามากกว่า เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเป็นภาระสัญญาในระยะยาว
3. เงื่อนไข ข้อกำหนดของธนาคาร
ควรนำดอกเบี้ยมาเปรียบเทียบทั้งสินเชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและสินเชื่อที่ต้องการเปรียบเทียบ ว่ามีเรทการผ่อนที่ต่ำกว่าปัจจุบันที่เรากำลังผ่อนอยู่หรือไม่ หากดอกเบี้ยถูก จะช่วยให้ระยะการผ่อนสั้นลง ทำให้เบาภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้มาก
4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่คุณต้องเสีย เช่น ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่ ค่าจดจำนอง ค่าภาษี ค่าอากรแสตมป์ และค่าอื่นๆ ตามที่ธนาคารได้กำหนด
เพื่อดูว่าเหมาะสมและคุ้มค่ากับการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้หรือไม่ ซึ่งแต่ละธนาคารจะให้โปรโมชั่นการรีไฟแนนซ์บ้านที่แตกต่างกัน
5. บริการอื่นๆ ที่ไม่ได้ต้องการ
บางสินเชื่อเมื่อมีการรีไฟแนนซ์อาจจะมาพร้อมบริการสินเชื่อบุคคลพ่วงมาด้วย ซึ่งในส่วนนี้ต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ เนื่องจากสินเชื่อบุคคลจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า
หากต้องการรีไฟแนนซ์บ้านที่ได้ดอกเบี้ยถูกลงแล้ว แต่กลับต้องมาจ่ายดอกเบี้ยจากสินเชื่อบุคคลเป็นของแถมอาจทำให้รายจ่ายบานปลายจากที่ต้องการได้
📄เอกสารการทำธุรกรรมรีไฟแนนซ์บ้าน
สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง
- บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา ทะเบียนบ้านและสำเนา
- ใบรับรองเงินเดือน ย้อนหลัง 3 - 6เดือน ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน
- สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หรือ Statement แสดงย้อนหลัง 6 เดือน
สำหรับผู้ทำทำธุรกิจส่วนตัว
- บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา ทะเบียนบ้านและสำเนา
- สำเนาทะเบียนการค้า ทะเบียนบริษัท/ทะเบียนห้างหุ้นส่วน
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมแนบใบเสร็จตัวจริงย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาโฉนดที่ดิน นส.3ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2 (2ชุด) พร้อมรับรองจากสำนักงานที่ดิน
ข้อควรระวังสำหรับการรีไฟแนนซ์
การรีไฟแนนซ์นั้นมักจะมีบริการอื่นๆ แอบแฝงเข้ามา เช่น การทำประกัน การบังคับทำสินเชื่อบุคคล และบริการอื่นๆ ที่ทางธนาคารปล่อยสินเชื่อนั้นบังคับให้ทำ
ซึ่งในส่วนนี้ควรพิจารณาว่าคุ้มค่าที่ต้องจ่ายในระยะยาวหรือไม่ เนื่องจากบางบริการที่แนบติดมากับการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นมักมีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง รวมถึงควรพิจารณา MLR หลังหมดโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร
การรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับบางคนอาจจะดูยุ่งยาก แต่ถ้าหากได้พิจารณาเงื่อนไขและคำนวณรายจ่ายต่อปี การเสียดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อนที่ช่วยให้สั้นลงได้
นับว่าการรีไฟแนนซ์ที่ดูจะเสียเวลาแต่อาจจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายและให้ช่วยเบาแรงไม่มากก็น้อยเลยทีเดียวนะครับ
อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ ที่ผ่อนบ้านใกล้จะครบ 3 ปี หรือผ่อนบ้านครบ 3 ปี แล้ว ควรที่จะวางแผนรีไฟแนนซ์บ้าน ด้วยการหาข้อมูลดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านแต่ละธนาคารได้รอได้แล้ว เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านในปีถัดๆไป
🏠เปรียบเทียบข้อเสนอสุดพิเศษก่อนใครได้ที่นี่ คลิกเลย! -->>
https://bit.ly/3Gp3x5ht
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย