Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2023 เวลา 05:44 • ประวัติศาสตร์
“แถลงการณ์ออสเตนเด (Ostend Manifesto)” ความพยายามของอเมริกาที่จะแย่งคิวบาไปจากสเปน
ในปีค.ศ.1858 (พ.ศ.2401) ประธานาธิบดี “อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)” ได้กล่าวว่า
“บ้านที่แบ่งแยกกันเองไม่สามารถจะยืนยงอยู่ได้”
ซึ่งคำพูดนี้ก็ตรงกับสถานการณ์ของสหรัฐอเมริกาในเวลานั้น เนื่องจากภาคเหนือและภาคใต้กำลังมีความขัดแย้งกันเรื่องของการถือครองทาส
อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)
ทางใต้นั้นสนับสนุนการถือครองทาสและต้องการให้การถือครองทาสนั้นแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ส่วนทางเหนือนั้นไม่สนับสนุนการถือครองทาส และต้องการให้การถือครองทาสนั้นหมดไปหรือจำกัดวงอยู่ในพื้นที่จำกัดเท่านั้น
ด้วยแนวคิดที่ไม่ตรงกันนี้ ทำให้สถานการณ์ของประเทศวุ่นวาย
เดือนตุลาคม ค.ศ.1854 (พ.ศ.2397) นักการทูตชาวอเมริกันสามนายได้พบกับที่เมืองออสเตนเด ประเทศเบลเยี่ยม และทั้งสามก็ได้ร่วมกันร่างแถลงการณ์ที่สนับสนุนให้สหรัฐอเมริกาซื้อคิวบาจากสเปน และหากสเปนปฏิเสธ ก็จะใช้กำลังทหารเข้ายึดครอง
และแถลงการณ์นี้เองได้กลายเป็นข้อถกเถียงทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และจบลงด้วยการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาในที่สุด
เมืองออสเตนเด
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาได้จับตามองดินแดนแถบแคริบเบียน ซึ่งในแถบแคริบเบียนนั้นมีการถือครองทาสมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะเหล่าแรงงานในไร่อ้อย
3
คิวบาเองก็มีการถือครองทาสเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีข่าวลือว่าสเปนกำลังวางแผนจะเลิกทาสในคิวบา ทำให้เหล่าผู้สนับสนุนการถือครองทาสในสหรัฐอเมริกาเกรงว่าหากคิวบาเลิกทาส จะเป็นการจุดประกายให้ภาคใต้ของประเทศตนลุกฮือขึ้นเอาอย่าง
นอกจากนั้น หากสหรัฐอเมริกาสามารถถือครองคิวบา ก็จะทำให้ได้เปรียบทางการค้าทางทะเลอีกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ ดังนั้นในปีค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) สหรัฐอเมริกาจึงได้ติดต่อขอซื้อคิวบาจากสเปนเป็นเงินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,550 ล้านบาท) แต่สเปนปฏิเสธ และเมื่อถึงปีค.ศ.1854 (พ.ศ.2397) สหรัฐอเมริกาก็ได้ตัดสินใจจะลองติดต่อขอซื้ออีกครั้ง
“วิลเลียม มาร์ซีย์ (William Marcy)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มอบหมายให้นักการทูตทั้งสามดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งนักการทูตทั้งสามนั้นได้แก่ “เจมส์ บูคานัน (James Buchanan)” “จอห์น เมสัน (John Mason)” และ “ปิแอร์ โซล (Pierre Soulé)”
นักการทูตทั้งสามนี้ได้นัดพบกันที่เมืองออสเตนเด ประเทศเบลเยี่ยม และหารือเพื่อแชร์ไอเดียกัน ก่อนที่จะร่างแถลงการณ์และส่งไปให้มาร์ซีย์ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1854 (พ.ศ.2397)
วัตถุประสงค์หลักของแถลงการณ์ออสเตนเดก็คือการโน้มน้าวให้สหรัฐอเมริกาซื้อคิวบาจากสเปน โดยขอให้ดำเนินการให้เร็วที่สุด
นักการทูตทั้งสามเชื่อว่าการซื้อคิวบาจากสเปนจะเป็นผลดีต่อทั้งสองชาติ และหากสเปนไม่ยอมขาย ทั้งสามก็อ้างว่าสหรัฐอเมริกามีสิทธิที่จะแย่งคิวบามาได้
วิลเลียม มาร์ซีย์ (William Marcy)
สำหรับเหตุผลที่ทั้งสามยกขึ้นมานั้น ข้อแรก ทั้งสามอ้างว่าการครอบครองคิวบาจะส่งผลดีต่อทั้งสหรัฐอเมริกาและการค้าโลก นอกจากสหรัฐอเมริกาจะได้ผลประโยชน์แล้ว ชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษและฝรั่งเศสก็จะได้ประโยชน์จากการค้ากับคิวบาด้วย
ทางด้านสเปนก็จะได้เงินก้อนโตมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ข้อสอง ทั้งสามอ้างว่าต้องการจะหยุดระบอบการปกครองแบบเผด็จการในสเปน โดยอ้างว่าชาวคิวบาได้รับผลกระทบจากการบริหารที่เลวร้ายของรัฐบาล และนอกจากประชาชนชาวคิวบาที่ได้รับผลกระทบจากการบริงานที่โหดร้ายของรัฐบาล การบริหารประเทศของรัฐบาลคิวบายังส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันและธุรกิจอเมริกัน
อีกข้อก็คือทั้งสามเกรงว่าการปกครองแบบกดขี่ในสเปน และหากมีการเลิกทาสในอนาคต จะเป็นตัวจุดประกายให้เกิดการลุกฮือของเหล่าทาส เกิดการปฏิวัติ และส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อนายทาสทางใต้ของสหรัฐอเมริกา
เจมส์ บูคานัน (James Buchanan)
บูคานัน เมสัน และโซลได้แนะนำให้สหรัฐอเมริกาเสนอราคาคิวบาต่อสเปนเป็นจำนวนเงิน 120 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4,300 ล้านบาท) และหากคิวบาปฏิเสธ ก็ให้ใช้กำลังทหารเข้ายึดครอง
แต่ไม่ใช่ชาวอเมริกันทุกคนจะเห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้
ทั้งประธานาธิบดี “แฟรงคลิน เพียร์ซ (Franklin Pierce)” และตัวมาร์ซีย์ซึ่งมอบหมายให้นักการทูตทั้งสามดำเนินงาน ต่างไม่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ โดยตัวมาร์ซีย์ได้กล่าวว่าทั้งสามนั้นเข้าใจผิด ตนไม่ได้ให้ทั้งสามดำเนินการเรื่องนี้ แต่เกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาด และตนก็กังวลว่าแถลงการณ์นี้จะทำให้สื่อมวลชนในยุโรปก่นด่าสหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อการทูต
แฟรงคลิน เพียร์ซ (Franklin Pierce)
คนในรัฐบาลอเมริกันหลายคนก็ไม่เห็นด้วย เกิดการโต้เถียงกันใหญ่โต และแถลงการณ์นี้ก็ส่งผลกระทบแง่ลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลอเมริกัน
ภาคใต้ก็กล่าวโทษว่าการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเรื่องนี้ในแง่ลบทำให้สหรัฐอเมริกาไม่สามารถยึดครองคิวบาได้ ส่วนภาคเหนือก็ประนามรัฐบาลที่ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน
แต่ในเวลาต่อมา บูคานันซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่างแถลงการณ์นี้กลับได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เนื่องจากได้คะแนนเสียงจากชาวใต้เป็นจำนวนมาก และเรื่องราวของคิวบาก็เงียบหายไปเป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนจะเกิดประเด็นใหม่ในปีค.ศ.1898 (พ.ศ.2441)
References:
https://allthatsinteresting.com/ostend-manifesto
https://www.britannica.com/event/Ostend-Manifesto
https://teachingamericanhistory.org/document/the-ostend-manifesto/
https://www.thoughtco.com/ostend-manifesto-4590301
ประวัติศาสตร์
3 บันทึก
16
4
3
16
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย