7 พ.ย. 2023 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ถึงเวลาวางแผนภาษี กับคำถามสุดฮิต RMF หรือ SSF ควรเลือกลงทุนอะไรดี ?

ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันสั้นๆ ก่อนว่า กองทุนลดหย่อนภาษี RMF และ SSF คืออะไร มีเงื่อนไขการซื้อและถือครองอย่างไร
1
กองทุน RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท เป็นกองทุนกึ่งบังคับตัวเองของผู้ลงทุน เพราะต้องลงทุนนาน (อย่างต่ำ 5 ปี) และต้องถือครองกระทั่งผู้ลงทุนมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นอายุที่ใกล้กำหนดเกษียณ มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย
ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ซึ่งนักลงทุนสามารถสับเปลี่ยนกองได้ เพื่อประโยชน์สูงสุด เหมือนเราเป็นผู้จัดการกองทุนชีวิตตัวเอง ทั้งนี้ เมื่อนำ RMF นับรวมกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุน SSF (Super Savings Fund) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุน SSF (Super Savings Fund) หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท มีสินทรัพย์ให้เลือกหลากหลาย ทั้ง พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ อสังหาฯ โครงสร้างพื้นฐาน และ ทองคำ ระยะเวลาถือครองอย่างน้อย 10 ปี (นับวันชนวัน)
ทั้งนี้ ยอดรวมทั้งหมดในการลงทุนต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยรวมทุกอย่างทั้ง SSF และการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันชีวิตแบบบำนาญ
วางกลยุทธ์ เลือกลงทุนในแบบคุณ เพื่อการออมและวางแผนภาษี ไปกับ RMF SSF จาก SCB ได้ที่
1
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
.
#SCBWEALTH #WEALTHPARTNER
#กองทุนรวม #RMF #SSF
2
โฆษณา